Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ตีความ ประกาศกระทรวงฯ มาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค


  • Please log in to reply
5 replies to this topic

#1 TFI@BangLen

TFI@BangLen

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 26 posts

Posted 17 August 2011 - 11:15 AM

เชื่อว่าใครหลายๆคนก็งงกับประกาศนี้อยู่ไม่น้อย ผมเองก็งงเหมือนกัน โชคดีได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที อย. บางท่านที่เชี่ยวชาญจริง (เจ้าหน้าที่ชำนาญการบางท่าน ยังไม่เข้าใจประกาศฯนี้เสียด้วยซ้ำ ตอบไปคนละเรื่องกันเลย ไม่รู้ว่าเป็น เจ้าหน้าที่ชำนาญการ ได้อย่างไร) ผมเอามาแชร์ให้ ผิดถูกอย่างไร ก็เชิญชี้แนะได้เลย

ดูตามประกาศกระทรวงฯ เลยนะครับ สาระสำคัญอยู่ 4 ข้อ เริ่มจาก


ข้อ 1 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ
แปลได้ว่า ให้ยกเลิกข้อความในประกาศฯไปทั้งหมด 33 ฉบับ ตามบัญชีหมายเลข 1 ที่แนบมากับประกาศนี้ ขยายความได้ว่า ตามบัญชีหมายเลข 1 จะครอบคลุมอาหารอยู่ประมาณ 33 ประเภท แยกเป็นประกาศฉบับๆไปตั้งแต่ 61 ไปถึง 289 ในประกาศแต่ละฉบับจะมี ขอ้ความว่า ประมาณว่า "ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค" ก็ให้ยกเลิกไป แล้วแก้เป็น "ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เว้นแต่ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตามบัญชีหมายเลข 2 ....." ขยายความได้ว่า ถ้าผลิตภัณฑ์เราเคยอยู่ในประกาศ 33 ฉบับตามบัญชีหมายเลข 1 ถ้าจะวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ตามประกาศฯนี้ จะต้องกำหนด Spec ตาม บัญชีหมายเลข 2
แต่จะเห็นว่า บัญชีหมายเลข 2 มีอาหารอยู่ 18 ประเภท อ้าวและอีกประมาณ 15 ประเภท ทำไงล่ะ คำตอบคือ ก็ให้ตรวจตาม บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 19 อาหารตามบัญชีหมายเลข 1 นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น (1-18) คือวิเคราะห์แค่ Stap กับ Samonella เท่านั้น เช่น อาหารประเภท น้ำมันเนย ชาสมุนไพร ประมาณนี้ ลองไล่ๆดู ถ้าผลิตภัณฑ์เราไม่เข้าข่ายข้อ 1-18 ก็ตรวจตามข้อ 19 พอแล้ว
ข้อ 2 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ

แปลได้ว่า ถ้าเราตรวจดูแล้ว ผลิตภัณฑ์เราไม่อยู่ในบัญชี หมายเลข 1 (ไม่ได้อยู่ในประกาศ 33 ฉบับ ตามข้อ 1) ลองไปไล่ดูในบัญชีหมายเลข 3 ดิว่าอยู่ในข่ายมั๊ย ถ้าอยู่ก็ตรวจตามนั้น ถ้าตรวจทุกบัญชีแล้วไม่พบว่าเข้าข่ายอันไหนเลย แล้วจะตรวจยังไงละที่นี้ หรือว่าไม่ต้องตรวจ อะเดี่ยวก่อนประกาศบอกว่า "ต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค" แปลง่ายๆ คือ ต้องตรวจด้วย แต่จะตรวจอะไรก็ให้คิดเอาเอง เช่น Salmonella กับ Stap. น่าจะตรวจแน่ๆ หากเป็นพวกของหมักดอง อาจจะต้องตรวจ Crostidium ด้วย ตามแต่ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และกระบวนการนั้น แต่ผลการตรวจต้องระบุว่า Negative กับ Positive เท่านั้น จะบอกว่า พบ 100 cfu/g ไม่ได้

ข้อ 3 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ


แปลได้ว่า ให้เราตรวจตามวิธีที่แนบมาตามบัญชีหมายเลข 4 เท่านั้น แต่เปิดช่องไว้ว่า ตรวจวิธีื่ไหนๆก็ได้แต่ต้องทำ Method validation นะว่าวิธีที่เราใช้ถูกต้องจริง เอาง่ายไม่ปวดหัวก็ตรวจตามที่เค้าแนะนำไว้แหละครับ

ข้อ 4 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ

อาหารที่มีประกาศอื่นๆรองรับอยู่และมีการกำหนดมาตรฐาน จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไว้แล้วก็ให้ตรวจตามนั้นไป

Attached Files



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,582 posts
  • Gender:Male

Posted 17 August 2011 - 09:46 PM

anigif6.gif

#3 lak_gift

lak_gift

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 254 posts
  • Gender:Female

Posted 29 August 2011 - 06:39 PM

thankyou.gif

#4 anchy

anchy

    Super Member

  • Power Members
  • PipPip
  • 57 posts

Posted 11 April 2012 - 04:41 PM

QUOTE(TFI@BangLen @ Aug 17 2011, 11:15 AM) <{POST_SNAPBACK}>
เชื่อว่าใครหลายๆคนก็งงกับประกาศนี้อยู่ไม่น้อย ผมเองก็งงเหมือนกัน โชคดีได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที อย. บางท่านที่เชี่ยวชาญจริง (เจ้าหน้าที่ชำนาญการบางท่าน ยังไม่เข้าใจประกาศฯนี้เสียด้วยซ้ำ ตอบไปคนละเรื่องกันเลย ไม่รู้ว่าเป็น เจ้าหน้าที่ชำนาญการ ได้อย่างไร) ผมเอามาแชร์ให้ ผิดถูกอย่างไร ก็เชิญชี้แนะได้เลย

ดูตามประกาศกระทรวงฯ เลยนะครับ สาระสำคัญอยู่ 4 ข้อ เริ่มจาก


ข้อ 1 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ
แปลได้ว่า ให้ยกเลิกข้อความในประกาศฯไปทั้งหมด 33 ฉบับ ตามบัญชีหมายเลข 1 ที่แนบมากับประกาศนี้ ขยายความได้ว่า ตามบัญชีหมายเลข 1 จะครอบคลุมอาหารอยู่ประมาณ 33 ประเภท แยกเป็นประกาศฉบับๆไปตั้งแต่ 61 ไปถึง 289 ในประกาศแต่ละฉบับจะมี ขอ้ความว่า ประมาณว่า "ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค" ก็ให้ยกเลิกไป แล้วแก้เป็น "ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เว้นแต่ จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ตามบัญชีหมายเลข 2 ....." ขยายความได้ว่า ถ้าผลิตภัณฑ์เราเคยอยู่ในประกาศ 33 ฉบับตามบัญชีหมายเลข 1 ถ้าจะวิเคราะห์เชื้อจุลินทรีย์ตามประกาศฯนี้ จะต้องกำหนด Spec ตาม บัญชีหมายเลข 2
แต่จะเห็นว่า บัญชีหมายเลข 2 มีอาหารอยู่ 18 ประเภท อ้าวและอีกประมาณ 15 ประเภท ทำไงล่ะ คำตอบคือ ก็ให้ตรวจตาม บัญชีหมายเลข 2 ข้อ 19 อาหารตามบัญชีหมายเลข 1 นอกเหนือจากที่ระบุข้างต้น (1-18) คือวิเคราะห์แค่ Stap กับ Samonella เท่านั้น เช่น อาหารประเภท น้ำมันเนย ชาสมุนไพร ประมาณนี้ ลองไล่ๆดู ถ้าผลิตภัณฑ์เราไม่เข้าข่ายข้อ 1-18 ก็ตรวจตามข้อ 19 พอแล้ว
ข้อ 2 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ

แปลได้ว่า ถ้าเราตรวจดูแล้ว ผลิตภัณฑ์เราไม่อยู่ในบัญชี หมายเลข 1 (ไม่ได้อยู่ในประกาศ 33 ฉบับ ตามข้อ 1) ลองไปไล่ดูในบัญชีหมายเลข 3 ดิว่าอยู่ในข่ายมั๊ย ถ้าอยู่ก็ตรวจตามนั้น ถ้าตรวจทุกบัญชีแล้วไม่พบว่าเข้าข่ายอันไหนเลย แล้วจะตรวจยังไงละที่นี้ หรือว่าไม่ต้องตรวจ อะเดี่ยวก่อนประกาศบอกว่า "ต้องไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค" แปลง่ายๆ คือ ต้องตรวจด้วย แต่จะตรวจอะไรก็ให้คิดเอาเอง เช่น Salmonella กับ Stap. น่าจะตรวจแน่ๆ หากเป็นพวกของหมักดอง อาจจะต้องตรวจ Crostidium ด้วย ตามแต่ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และกระบวนการนั้น แต่ผลการตรวจต้องระบุว่า Negative กับ Positive เท่านั้น จะบอกว่า พบ 100 cfu/g ไม่ได้

ข้อ 3 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ


แปลได้ว่า ให้เราตรวจตามวิธีที่แนบมาตามบัญชีหมายเลข 4 เท่านั้น แต่เปิดช่องไว้ว่า ตรวจวิธีื่ไหนๆก็ได้แต่ต้องทำ Method validation นะว่าวิธีที่เราใช้ถูกต้องจริง เอาง่ายไม่ปวดหัวก็ตรวจตามที่เค้าแนะนำไว้แหละครับ

ข้อ 4 เนื้อหาดูในประกาศเองเลยครับ

อาหารที่มีประกาศอื่นๆรองรับอยู่และมีการกำหนดมาตรฐาน จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไว้แล้วก็ให้ตรวจตามนั้นไป

smiley-signs001.gif smiley-signs001.gif smiley-signs001.gif

#5 drlovecat

drlovecat

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 15 posts

Posted 11 April 2012 - 06:58 PM

จริงๆแล้ว ต้องดูที่ตัวประกาศของประเภทอาหารนั้นๆก่อนครับว่า มีประกาศฉบับใดที่ครอบคลุม และต้องทราบอีกด้วยว่าอากาศชนิดนั้นเป็นอาหารชนิดไหน กลุ่ม1,2 หรือ 3 ถ้าเป็นกลุ่ม3เช่น "ขนมปัง" ในตัวประกาศจะไม่มีการระบุข้อกำหนดมาตรฐานทางจุลินทรีย์ หรือเคมีไว้เลย ดังนั้นเวลาเีขียน specification ก็ให้เราอิงกับประกาศจุลินทรีย์ก่อโรคฯ ได้

แต่ถ้าเป็นอาหารกลุ่ม 1,2 จะมีข้อกำหนดมาตรฐานไว้เรียบร้อย ส่วนการยกเลิกบางในบัญชีท้ายประกาศหมายเลขที่ 1 ไม่ใช่หมายถึงว่ายกเลิกประกาศทั้งหมดครับ แต่เป็นการปรับแก้ให้ทันต่อความจริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกประกาศข้อ 4(2) ในประกาศ ฉ144 ซึ่งเขียนว่าไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ส่วนจะไปอิงกับผลิตภัณฑ์ไหนก็ดูในบัญชีท้ายเลขหมายเลข2 ที่มีระบุชนิดผลิตภัณฑ์ เช่นถ้าเป็น แกงจืดกระป๋อง ก็จะไปเข้าข้อ 15.4 ของบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2

ส่วนวิธีการตรวจสอบต้องใช้วิธีที่ทันสมัยหรือได้รับการยอมรับ ณ ปัจจุบัน ครับ

#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,582 posts
  • Gender:Male

Posted 11 April 2012 - 07:39 PM

QUOTE(drlovecat @ Apr 11 2012, 06:58 PM) <{POST_SNAPBACK}>
จริงๆแล้ว ต้องดูที่ตัวประกาศของประเภทอาหารนั้นๆก่อนครับว่า มีประกาศฉบับใดที่ครอบคลุม และต้องทราบอีกด้วยว่าอากาศชนิดนั้นเป็นอาหารชนิดไหน กลุ่ม1,2 หรือ 3 ถ้าเป็นกลุ่ม3เช่น "ขนมปัง" ในตัวประกาศจะไม่มีการระบุข้อกำหนดมาตรฐานทางจุลินทรีย์ หรือเคมีไว้เลย ดังนั้นเวลาเีขียน specification ก็ให้เราอิงกับประกาศจุลินทรีย์ก่อโรคฯ ได้

แต่ถ้าเป็นอาหารกลุ่ม 1,2 จะมีข้อกำหนดมาตรฐานไว้เรียบร้อย ส่วนการยกเลิกบางในบัญชีท้ายประกาศหมายเลขที่ 1 ไม่ใช่หมายถึงว่ายกเลิกประกาศทั้งหมดครับ แต่เป็นการปรับแก้ให้ทันต่อความจริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น การยกเลิกประกาศข้อ 4(2) ในประกาศ ฉ144 ซึ่งเขียนว่าไม่มีจุลินทรีย์ก่อโรค ส่วนจะไปอิงกับผลิตภัณฑ์ไหนก็ดูในบัญชีท้ายเลขหมายเลข2 ที่มีระบุชนิดผลิตภัณฑ์ เช่นถ้าเป็น แกงจืดกระป๋อง ก็จะไปเข้าข้อ 15.4 ของบัญชีแนบท้ายหมายเลข 2

ส่วนวิธีการตรวจสอบต้องใช้วิธีที่ทันสมัยหรือได้รับการยอมรับ ณ ปัจจุบัน ครับ



smiley-signs001.gif




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users