Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ตรวจสารเสพติดในพนักงาน


  • This topic is locked This topic is locked
3 replies to this topic

#1 jira_ae

jira_ae

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 25 posts

Posted 27 August 2011 - 09:44 AM

สงสัยว่าพนักงานบางรายจะเสพยาเสพติดและเข้ามาทำงาน จึงอยากจะจัดให้มีการตรวจหาสารฯ ดังกล่าว
ไม่ทราบว่าผิดกฎอะไรหรือเปล่า และถ้าตรวจเจอจะทำอย่างไรดี

#2 Suppadej

Suppadej

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,609 posts
  • Gender:Male

Posted 27 August 2011 - 10:47 AM

แนะนำว่าน่าจะจัดทำเป็นโครงการขึ้นมาครับ เพื่อให้พนักงานไม่เกิดความรู้สึกว่าทางโรงงานจะมาจัดผิด (พนักงานอาจเกิดการ Anti) แต่โรงงานกำลังให้ความช่วยเหลือ/สนับสนุนพนักงานให้เลิกยาเสพติดครับ ซึ่งน่าจะได้รับความร่วมมือจากพนักงานมากกว่าครับ โดยคุณยังได้ที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐมาช่วยให้คำแนะนำ แนวทางปฏิบัติ และให้ความรู้ในการ Handle ในเรื่องที่คุณกำลังสอบถามนี้ด้วยครับ


เช่น โครงการโรงงานสีขาว ของกองสวัสดิการแรงงาน

อ้างอิงจาก http://www.labour.go...tail.jsp?seq=15


หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองสวัสดิการแรงงานเบอร์โทรศัพท์ 0 2245 6774, 0 2245 9821, 0 2546 0383หลักการและเหตุผล ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ ยังเป็นปัญหาที่ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่หลังจากรัฐบาลประกาศสงครามกับยาเสพติดตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2546 และดำเนิน Roadmap การต่อสู้กับยาเสพติด 4 ระยะ และปฏิบัติการรวมพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติด 4 ครั้ง จนถึงปัจจุบันสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในทุกวงจรปัญหาทั้งด้าน Supply Demand และ Potential Demand ลดความรุนแรงลงจนอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหาคุกคามต่อการดำรงชีวิต โดยปกติสุขของประชาชนทั่วไป เห็นได้จากข้อมูลการจับกุมและการบำบัดรักษาซึ่งส่งผลเสียต่อผู้ใช้แรงงาน ครอบครัวผู้ใช้ แรงงาน / นายจ้าง / ผู้ประกอบกิจการของประชาชนทั่วไป ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุของยาเสพติดไม่สามารถดำเนินการป้องกันและแก้ไขได้โดยหน่วยงานภา
ครัฐ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จำเป็นจะต้องระดมความร่วมมือทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบกิจการ ผู้ใช้แรงงานที่จะต้องดำเนินการ รัฐบาลจึงออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบกิจการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีหน้าที่ในการตรวจคุ้มครองแรงงานให้นายจ้าง และผู้ใช้แรงงานปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และรับผิดชอบในยุทธศาสตร์ป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดตามนโยบายรัฐบาลที
่กำหนด เพื่อให้สถานประกอบกิจการทุกแห่งมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 จึงได้จัดทำโครงการโรงงานสีขาว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นายจ้างและผู้ใช้แรงงานมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้แพร่ขยายเข้าไปในสถานประกอ
บกิจการและได้นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลให้กับครอบครัวของนายจ้างและผู้ใช้แรงงานลด

ำนวนผู้ใช้แรงงานที่ติดยาเสพติดให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการส่งเสริม เชิญชวน เข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาวนอกจากการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใ
นเรื่องโครงการโรงงานสีขาวกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ยังได้จัดทำโครงการกลับสู่ชีวิตใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ ส่งเสริม และขอความร่วมมือนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบกิจการที่มีปรับเจตคติที่ดีต่อลูกจ้างที่ตรวจพบว่าเป็นผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดหรือสารเสพติด ส่งเข้ารับการบำบัดรักษา และอนุญาตให้ลูกจ้างลาหยุดเพื่อบำบัดรักษาฟื้นฟูเรียบร้อยแล้วรับกลับเข้าทำงานเพื่อ
คุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจของลูกจ้าง

หลักเกณฑ์การพิจารณาโรงงานสีขาว พิจารณาจากข้อมูลเอกสารและหลักฐานตามเอกสารและหลักฐานจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ 8 ข้อ โดยแบ่งเป็นระดับ ดังนี้
  • ระดับ 1 ผ่านเกณฑ์ 8 ข้อ
  • ระดับ 2 ผ่านเกณฑ์ 5 ข้อ (ข้อ 1 2 5 7 8)
  • ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์ 3 ข้อ (ข้อ 1 2 7)
การมอบเกียรติบัตร สถานประกอบกิจการที่ผ่านเกณฑ์โรงงานสีขาวจะได้รับกียรติบัตรเพื่อแสดงว่าได้ดำเนินกา
รตามนโยบายรัฐบาลและพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด

หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการโรงงานสีขาว 8 ข้อ 1. มีนโยบาย (1) ควบคุม สอดส่อง และดูแล ไม่ให้พนักงานของสถานประกอบกิจการหรือบุคคลภายนอกกระทำการหรือมั่วสุมกันกระทำความผิ
ดเกี่ยวกับยาเสพติดในหรือบริเวณสถานประกอบกิจการ (2) พิจารณาคัดเลือกบุคลากรที่ไม่มีพฤติการณ์ในการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเข้าเป็นพนั
กงาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้เสพยาเสพติดซึ่งได้รับการบำบัดการติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิ
ตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติแล้ว และจัดอบรมพนักงานของตนให้มีความเข้าใจในการป้องกันการใช้ยาเสพติดอย่างสม่ำเสมอ (3) จัดทำบันทึกประวัติของพนักงานไว้ประจำสถานประกอบกิจการ โดยบันทึกประวัติย่อ อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและนามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ และภูมิลำเนาของพนักงาน (4) ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงาน พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในการแจ้งเมื่อพบว่ามีการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือให้ข้อมูลข่าวสารหรือพฤติการณ์ต่างๆ ของบุคคลซึ่งมีเหตุอันควรสงสัยหรือควรเชื่อได้ว่าจะกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดใน
สถานประกอบกิจการของตนและอำนวยความสะดวกในการตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดตามกฎหมายว่าด

วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 2. มีป้ายหรือประกาศ เรื่องมาตรการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานประกอบกิจกา
รให้เจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการสถานประกอบกิจการจัดให้ป้ายหรือประกาศเตือนเกี่ยวกับ

ิษภัยหรืออัตราโทษตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดโดยให้มีความชัดเจนเห็นได้ง่ายและมีข้อ

วามเป็นภาษาไทยข้อความที่สองจะมีภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาไทยก็ได้แต่ข้อความภาษาอื่นนั้นต้องมีความหมายตรงกับข้อความภาษาไทยและมีข
นาดไม่ใหญ่กว่าข้อความภาษาไทย (ขนาดตัวอักษรข้อความรณรงค์กว้าง x ยาว ไม่น้อยกว่า 4 x 7 ซม.) 3. มีคณะทำงานหรือบุคคลรับผิดชอบ ในสถานประกอบกิจการจะต้องมีคำสั่งกำหนดให้มีคณะทำงานที่ทำหน้าที่สอดส่องดูแล ช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าของสถานประกอบกิจการในการดำเนินการโรงงานสีขาว โดยแบ่งออกเป็น (1) กรณีสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างไม่ถึง 50 คน ให้เจ้าของสถานประกอบกิจการ หรือฝ่ายบริหารออกคำสั่งตั้งคณะทำงานหรือบุคคลรับผิดชอบโรงงานสีขาวจากลูกจ้างทั่วไป (2) กรณีสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างเกิน 50 คน ขึ้นไปให้เจ้าของสถานประกอบกิจการ หรือฝ่ายบริหารออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการเป็นคณะทำงาน
รับผิดชอบโรงงานสีขาวก็ได้ 4. มีการให้ความรู้พนักงาน เจ้าของสถานประกอบกิจการ จะต้องมีการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ความรู้ใ
นแบบต่าง ๆ เช่น จัดประชุมจัดอบรมหรือการส่งเสียงตามสายในช่วงเวลาพัก 5. มีกิจกรรมรณรงค์ เจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เช่น จัดนิทรรศการ การแข่งขันกีฬา ดนตรี การแสดงบนเวทีแข่งขันประกวดบทความ คำขวัญ เรียงความ ตอบปัญหาต่อต้านยาเสพติด 6. มีการตรวจสุขภาพ เจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องมีการดำเนินการตรวจสุขภาพ และตรวจปัสสาวะให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการโดยจะเน้นการตรวจสุขภาพประจำปีหรือเฉ
พาะกิจ 7. ไม่พบพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เจ้าของสถานประกอบกิจการจะต้องเน้นดำเนินการให้สถานประกอบกิจการ ปลอดยาเสพติด โดยไม่เสพไม่ค้า ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด คือต้องมีการสอดส่องดูแลสังเกตพฤติกรรมการทำงานของพนักงานไม่บ่งบอกหรือชี้ชัดเจนว่า
เกี่ยวข้องกับยาเสพติดจากคณะกรรมการที่รับผิดชอบ 8. มีกระบวนการตรวจสอบ เจ้าของสถานประกอบกิจการ จะต้องดำเนินการในส่วนรายละเอียดเกณฑ์ 7 ข้อ โดยมีการบันทึกและเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อให้คณะกรรมการของส่วนราชการสามารถ
ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

ท่านสามารถส่งแบบแจ้งความจำนงการเข้าร่วมโครงการได้ที่หน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ
้มครองแรงงาน ณ พื้นที่ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่
  • สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด
  • กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทุกพื้นที่
  • กองสวัสดิการแรงงาน

"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น" E-mail suppadej@gmail.com

#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,587 posts
  • Gender:Male

Posted 27 August 2011 - 08:46 PM

เห็นด้วยกับ ดร.โจ้ ครับ

#4 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 29 August 2011 - 09:09 AM

ข้อเสนอแนะนะครับ การตรวจสารเสพติดในตัวพนักงานสามารถทำได้ 2 แนวทาง
1. ก่อนเริ่มงานบริษัทฯ ควรติดต่อกับโรงพยาบาลที่ contact โดยให้มีใบส่งตัวจากบริษัทไปเพื่อตรวจสุขภาพ (แต่ในรวมถึงสารเสพติดไปด้วย) และให้ทางโรงพยาบาลส่งผลให้กับโรงงานโดยตรง (เป็นตามกฎหมายการตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเริ่มงาน)
2. พนักงานเดิม ซึ่งต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปี ให้เพิ่มหัวข้อตรวจสารเสพติดเข้าไปด้วย ทั้งนี้ทั้วนั้นในหัวข้อดังกล่าวไม่ต้องแจ้งให้กับพนักงานทราบ
กรณ๊ พบสารเสพติดในพนักงาน
1. พนักงานใหม่ก็คงปฏิเสธการรับเข้างาน
2. พนักงานเดิมให้มีการเรียกคุย และแนะนำให้ไปบำบัดให้หายก่อนจึงจะพิจารณารับทำงานต่อ

QUOTE(jira_ae @ Aug 27 2011, 09:44 AM) <{POST_SNAPBACK}>
สงสัยว่าพนักงานบางรายจะเสพยาเสพติดและเข้ามาทำงาน จึงอยากจะจัดให้มีการตรวจหาสารฯ ดังกล่าว
ไม่ทราบว่าผิดกฎอะไรหรือเปล่า และถ้าตรวจเจอจะทำอย่างไรดี


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users