Posted 28 August 2011 - 10:43 AM
ถ้าเป็นการผลิตปริมาณน้อยเพื่อใช้ในรีสอร์ทแห่งเดียวเท่านั้น จำเป็นต้องจดแจ้งกับ อย.หรือไม่ค่ะ
ได้มีกล่าวไว้ในเอกสารที่ได้แนบไว้ครับ
ซึ่งผมได้ข้อมูลนี้มาจาก http://www.fda.moph.go.th/news53/cosmetic/Q&A.pdf ซึ่งเป็นของ อย. โดยเค้าแจงรายละเอียดดังนี้ครับ
คำถาม ขณะนี้มีเครื่องสาอางกี่ประเภท
คำตอบ แต่เดิมเครื่องสาอางแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามระดับของความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ได้แก่
1. เครื่องสาอางควบคุมพิเศษ มีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดอันตราย อย.กากับดูแลอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการให้มาขึ้นทะเบียนตารับก่อนผลิตหรือนาเข้า และแสดงเลขทะเบียนในกรอบเครื่องหมายอย. ที่ฉลากด้วย
2. เครื่องสาอางควบคุม มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายในระดับปานกลาง อย.กากับดูแลไม่เข้มงวดมาก ด้วยการให้มาจดแจ้งก่อนผลิตหรือนาเข้า
3. เครื่องสาอางทั่วไป มีความเสี่ยงต่า อย.กากับดูแลไม่เข้มงวด กฎหมายมิได้กาหนดให้ต้องมาแจ้งกับอย.ก่อนผลิต หรือนาเข้า
เพื่อให้สอดคล้องกับอาเซียนซึ่งส่งเสริมการค้าที่คล่องตัว รัฐจึงยกเลิกการกาหนดเครื่องสาอางควบคุมพิเศษ(ซึ่งต้องมาขึ้นทะเบียนก่อนผลิตหรือ
นาเข้า) แต่ไปเพิ่มมาตรการให้เครื่องสาอางทุกรายการจัดเป็นเครื่องสาอางควบคุม ผู้ประกอบธุรกิจต้องมาแจ้งรายละเอียดต่อรัฐก่อนผลิตหรือนาเข้า เพื่อประโยชน์ในการติดตามย้อนกลับได้ หากผลิตภัณฑ์ก่อให้เกิดอันตราย
คาถาม การแจ้งรายละเอียดต้องทาอย่างไร ใช้เวลานานไหม
คาตอบ อย.ได้ปรับปรุงวิธีการแจ้งรายละเอียดเครื่องสาอางควบคุมให้สะดวก และรวดเร็ว โดยผู้ประกอบธุรกิจสามารถแจ้งรายละเอียดได้ที่อย. หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือแจ้งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าครบถ้วน ถูกต้อง จะออกใบรับแจ้งให้ภายใน 3 วันทาการ
คาถาม ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสถานที่ หรือต้องส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไปตรวจวิเคราะห์ ประกอบการแจ้งรายละเอียดหรือไม่
คาตอบ พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาข้อมูลที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งมอบ โดยมิได้ไปตรวจสอบสถานที่ รวมทั้งไม่จาเป็นต้องส่งรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ประกอบการแจ้งรายละเอียด
................................................................................
ข้อมูลเสริม วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2554
ขอขอบคุณข่าว มติชนออนไลน์
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16:58:53 น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี( 8 มีนาคม) ได้ให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฉบับใหม่ ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขจากฉบับเดิมที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 และเนื่องจากไทยได้มีข้อตกลงร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียนว่าด้วยกฎระเบียบต่างๆในเรื่อ
งอาหารและยาให้มีความสอดคล้องกัน นอกเหนือจากเพื่อความทันสมัยให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในการที่จะให้ความคุ
้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสาระของกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน ได้มีการแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทควบคุมพิเศษซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนจึงจะ
สามารถผลิต นำเข้า และจำหน่ายได้ 2.ประเภทควบคุม กลุ่มนี้จะต้องจดแจ้งส่วนประกอบ สถานที่ผลิต และวิธีใช้ เป็นต้น จึงจะสามารถนำไปจำหน่ายได้ และ3.ประเภททั่วไปซึ่งไม่จำเป็นจะต้องแจ้ง อย. สามารถนำเข้าและจำหน่ายได้
นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า ในกฎหมายฉบับใหม่ จะมีข้อแตกต่างจากกฎหมายปัจจุบัน 3 ประการ
ประการที่ 1 กำหนดให้เครื่องสำอางมีประเภทเดียว คือ ประเภทที่ต้องไปจดแจ้ง ดังนั้นผู้ที่ผลิต นำเข้าเครื่องสำอางเพื่อจำหน่ายจะต้องไปจดแจ้งทั้งหมด โดยให้แจ้งส่วนประกอบ สถานที่ผลิต แหล่งนำเข้า และวิธีการใช้
ประการที่ 2 การโฆษณา ซึ่งพระราชบัญญัติเครื่องสำอางในปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดหมวดของการโฆษณาเป็นการเฉพาะ เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้หลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคโดยอนุโลม หากพบว่าผิดจึงจะลงโทษตามกฎหมาย สำหรับกฎหมายใหม่จะมีการบรรจุหมวดว่าด้วยการโฆษณาไว้เป็นการเฉพาะ
ประการที่ 3 เรื่องของโทษ หากเครื่องสำอางชนิดใดผสมสารห้ามใช้ กฎหมายปัจจุบันมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกฎหมายฉบับใหม่จะเพิ่มโทษเป็น 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ กฎหมายฉบับใหม่จะเป็นประโยชน์มากขึ้น ทั้งผู้ประกอบการ สามารถผลิตนำเข้าจำหน่ายเครื่องสำอางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นทะเบียนกับอย. ก่อนจึงจะสามารถผลิต จำหน่ายได้ แต่ขณะเดียวกันจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนผู้บริโภคมากขึ้นด้วย หากทำผิดกฎหมายจะมีโทษหนักขึ้นนายจุรินทร์กล่าว
อ้างอิงจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299578380&grpid=&catid=19&subcatid=1904
ดังนั้น Case ของคุณก็ต้องไปทำการจดแจ้งส่วนประกอบ สถานที่ผลิต แหล่งนำเข้า และวิธีการใช้ ต่ออย. หรือสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือแจ้งผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ได้ หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่าครบถ้วน ถูกต้อง จะออกใบรับแจ้งให้ภายใน 3 วันทำการ เพื่อประโยชน์ในการติดตามย้อนกลับได้ หากผลิตภัณฑ์ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคที่มาพักในรีสอร์ทครับ
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น"
E-mail suppadej@gmail.com