ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
อยากได้ WI การกำหนดเกณฑ์การยอมรับเครืองมือวัด
#1
Posted 14 March 2012 - 08:24 PM
#2
Posted 14 March 2012 - 08:53 PM
ลองค้นหาดูในกระทู้เก่าๆก่อนดีมั๊ยครับพี่
#3
Posted 15 March 2012 - 09:04 AM
พอมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ครับ.....
1.ให้กำหนดจากคู่มือของเครื่องมือวัด
2.กรณีที่ไม่มีคู่มือของเครื่องมือวัด ให้กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัด นั้น ๆ
3.ค่าความเที่ยงตรงต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ Spec. ที่ต้องการวัด
4. กำหนดโดยลูกค้า เช่น Steel Measuring Tape มีความละเอียด 1.0 mm. แต่ลูกค้ากำหนดให้
ค่าความคลาดเคลื่อน +/- 2.0 mm. ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ เราก็กำหนดเครื่องมือวัด Steel Measuring Tape
มีค่าความคลาดเคลื่อน +/- 2.0 mm.
5. กำหนดจากงานที่เราต้องการวัด เช่น Spec.ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารส้ม ไม่น้อยกว่า 2.8
แต่เครื่องวัด pH อ่านได้ละเอียด 0.01 ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ เราก็กำหนดเครื่องมือวัด pH มีค่าความคลาดเคลื่อน +/- 0.1 ครับ.
- เอกสารประกอบการควบคุมเครื่องมือวัด ครับ!
_________________________.pdf 32.04KB 20570 downloads
______________________________.pdf 710.85KB 19548 downloads
#4
Posted 15 March 2012 - 09:08 AM
#5
Posted 15 March 2012 - 11:48 AM
องการอีก เซ็งมากเลยค่ะ ไม่อยากทำงานเลย
#6
Posted 15 March 2012 - 03:19 PM
พอมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ ครับ.....
1.ให้กำหนดจากคู่มือของเครื่องมือวัด
2.กรณีที่ไม่มีคู่มือของเครื่องมือวัด ให้กำหนดจากค่าที่อ่านได้ละเอียดที่สุดของเครื่องมือวัด นั้น ๆ
3.ค่าความเที่ยงตรงต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ Spec. ที่ต้องการวัด
4. กำหนดโดยลูกค้า เช่น Steel Measuring Tape มีความละเอียด 1.0 mm. แต่ลูกค้ากำหนดให้
ค่าความคลาดเคลื่อน +/- 2.0 mm. ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ เราก็กำหนดเครื่องมือวัด Steel Measuring Tape
มีค่าความคลาดเคลื่อน +/- 2.0 mm.
5. กำหนดจากงานที่เราต้องการวัด เช่น Spec.ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารส้ม ไม่น้อยกว่า 2.8
แต่เครื่องวัด pH อ่านได้ละเอียด 0.01 ถ้าเป็นลักษณะเช่นนี้ เราก็กำหนดเครื่องมือวัด pH มีค่าความคลาดเคลื่อน +/- 0.1 ครับ.
- เอกสารประกอบการควบคุมเครื่องมือวัด ครับ!
_________________________.pdf 32.04KB 20570 downloads
______________________________.pdf 710.85KB 19548 downloads
ผมขอแชร์นะครับ หลักการกำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนต้องใช้วิธีที่เป็นสากลครับ เรามากำหนดเองโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือให้ลูกค้ากำหนดให้ไม่ได้ครับ
โดยการกำหนดเกณฑ์ฯ หลักๆ จะใช้อยู่ 3 วิธีคือ
1. อ้างอิง MPE (Maximum Permissible Error) จากมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น JIS, ISO, BS หรือ AS Standard
เช่น Vernier Range 0-150/0.01 mm ให้ค่า error อยู่ที่ +/- 0.03 mm เป็นต้น
2. อ้างอิงค่า Accuracy ที่ได้มาจากผู้ผลิตเครื่องมือนั้นๆ ซึ่งในบางเครื่องมือจะมีบอกไว้ แต่ถ้ามีเกณฑ์ในข้อ 1 ด้วย แนะนำให้ใช้ข้อ 1 ดีกว่า
3. กรณีองค์กรต้องการกำหนดค่า MPE เอง คุณต้องใช้หลักของ ISO 10012 คุณต้องกำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนจากค่า tolerance ของชิ้นงาน
โดยการใช้กฏต้องดีกว่า 3 - 10 เท่า แต่โดยทั่วไปนิยมที่ 4 เท่า ยกตัวอย่างเช่น คุณมี vernier ความละเอียด (Scale) 0.01 mm ใช้วัดงานที่ spec 20 +/- 0.1 mm
คุณก็นำ 0.1/4 = 0.025 mm. เพราะฉะนั้นคุณก็ได้ MPE ของ vernier ตัวนี้ที่ +/- 0.025 หรือปัดเป็น +/- 0.03 ก็ได้
และอีกอย่างเกณฑ์การยอมรับความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือไม่สามารถกำหนดให้โตกว่าความ
ละเอียด (Scale) ของเครื่องมือได้นะครับ ไม่งั้นชิ้นงานก็ reject หรือ NG กันหมดนะครับ
ผิดถูกอย่างไรช่วยแนะนำด้วยครับ
#7
Posted 15 March 2012 - 04:06 PM
- ที่ผมได้กำหนดเกณฑ์การยอมรับเครื่องมือวัด นั้นเป็นส่วนของระบบคุณภาพ ISO9001:2008
- ส่วนเกณฑ์ที่ลูกค้ากำหนดให้นั้น ในทางปฏิบัติมีจริง (ปฏิบัติอยู่)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องพิจารณาก่อนว่าที่ลูกค้า กำหนดให้นั้นเราทำได้หรือไม่? (เทียบกับระบบคุณภาพ ISO9001:2008)
ถ้าทำได้ก็ OK , แต่ถ้าเราทำไม่ได้ก็ต้องแจ้งให้ทางลูกค้าทราบ หรืออาจจะพบกันครึ่งทาง (WIN-WIN)
ตัวอย่าง(จริง) .... เครื่องชั่งรถบรรทุก ขนาด 60 ตัน อ่านค่าได้ละเอียด 10 kg. ในการสอบเทียบโดย
กองชั่งตวงวัด จะกำหนดค่าความคาดเคลื่อนไว้ที่ +/- 10, 20 kg. แต่ลูกค้ากำหนดไว้มากกว่า 20 kg.
- ในการกำหนดค่าคลาดเคลื่อนของเครื่องมือวัดโตกว่าความละเอียด (Scale) ของเครื่องมือวัดนั้น
ในทางปฏิบัติผมว่าเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับงานที่เราต้องการวัดมากกว่า ว่าต้องการค่าความคลาดเคลื่อนได้เท่าไร? (อันดับแรกในการเลือกซื้อเครื่องมือวัด)
เช่น เรามี pH Meter ความละเอียด 0.01 แต่เราต้องการวัดสารละลายตัวอย่างที่มีความคลาดเคลื่อน ของความเป็นกรด-ด่าง (pH)ได้ 0.1
คำถามคือ เราจำเป็นต้องซื้อเครื่องวัด pH เครื่องใหม่ หรือไม่?
- สำหรับตัวอย่างของระบบบริหารคุณภาพ เพื่อให้มองเห็นภาพโดยรวมว่า จุดเริ่มต้นของระบบบริหารคุณภาพ
เริ่มจากจุดใด?
___________________________.pdf 110.39KB 6896 downloads
Process_ISO.bmp 1.84MB 6393 downloads
- แชร์ความคิดนะครับ......
#8
Posted 15 May 2012 - 09:21 AM
#9
Posted 26 May 2012 - 02:05 PM
ขอบคุณมากค่ะ
#10
Posted 09 June 2012 - 03:46 PM
ลองดูจาก File ที่แนบมาครับ
somchai.s@csengineering.co.th
Attached Files
#11
Posted 09 June 2012 - 08:08 PM
#12
Posted 19 June 2012 - 04:56 PM
#13
Posted 20 June 2012 - 07:47 AM
Yakuza
#14
Posted 29 June 2012 - 03:07 PM
#15
Posted 31 July 2012 - 04:49 PM
#16
Posted 01 August 2012 - 08:39 AM
#17
Posted 08 August 2012 - 04:30 PM
เก็บข้อมูลไปแล้วนะคับ
#18
Posted 08 August 2012 - 06:28 PM
#19
Posted 10 August 2012 - 04:38 PM
#20
Posted 11 August 2012 - 03:35 PM
0 user(s) are reading this topic
0 members, 0 guests, 0 anonymous users