Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

แผนฉุกเฉิน CO2 รั่ว


  • This topic is locked This topic is locked
3 replies to this topic

#1 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 17 February 2009 - 09:36 AM

ขอความกรุณาจากผู้รู้หน่อยค่ะ อยากทราบว่า กรณีที่มีการใช้ CO2 ในองค์กร จัดเก็บประมาณ 5 ถัง(ถังใหญ่ 1 ถัง 70.8กก., ถังเล็ก 4 ถัง 55.4 กก.) ประเมิน aspect ออกมามีกรณีก๊าซรั่วไหล จะต้องทำแผนฉุกเฉินกรณี CO2 รั่วไหลหรือไม่ พอดีให้ จป. ทำแผนค่ะ แต่จป.ที่โรงงานบอกว่าถ้าครอบครองน้อยก็ไม่ต้องทำ งงค่ะ

#2 จอมโจรจอมใจ

จอมโจรจอมใจ

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,276 posts
  • Gender:Male

Posted 17 February 2009 - 10:12 AM

QUOTE(nutja @ Feb 17 2009, 09:36 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอความกรุณาจากผู้รู้หน่อยค่ะ อยากทราบว่า กรณีที่มีการใช้ CO2 ในองค์กร จัดเก็บประมาณ 5 ถัง(ถังใหญ่ 1 ถัง 70.8กก., ถังเล็ก 4 ถัง 55.4 กก.) ประเมิน aspect ออกมามีกรณีก๊าซรั่วไหล จะต้องทำแผนฉุกเฉินกรณี CO2 รั่วไหลหรือไม่ พอดีให้ จป. ทำแผนค่ะ แต่จป.ที่โรงงานบอกว่าถ้าครอบครองน้อยก็ไม่ต้องทำ งงค่ะ



ตอบแบบเหมารวมทั้ง 14001 18001 เลยดีก่านะครับ

ก่อนจะทำ หรือไม่ทำแผนฉุกเฉิน เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า

1) ปัญหาสิ่งแวดล้อม (14001) / อันตราย (18001) ในกรณีนี้คืออะไร

2) ปัญหาสิ่งแวดล้อม (14001) นั้นเกิดในภาวะปกติ หรือเกิดเฉพาะภาวะผิดปกติ หรือ เกิดเฉพาะภาวะฉุกเฉิน

3) อะไร คือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (14001) เช่น ภาวะโลกร้อน หรือ อะไรคือผลกระทบที่ พนักงาน หรือ contractor จะได้รับ การบาดเจ็บจากการระเบิดของถังเก็บ CO2

4) ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือ ความเสี่ยง มีนัยสำคัญระดับใด

ได้ข้อมูลเหล่านั้นแล้วก็เอามาพิจารณาว่า จำเป็นจะต้องทำเป็น 'แผนฉุกเฉินมั้ย'

ในระเบียบปฏิบัติ ควรจะกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า องค์กรจะทำอะไร กับ ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือ ความเสี่ยงอันตราย ที่มีความสำคัญ ในแต่ละนัยสำคัญ

เช่น

14001
"ต่ำมาก","ต้องเฝ้าติดตามตรวจวัดมลพิษในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย"

"ต่ำ","ต้องเฝ้าติดตามตรวจวัดมลพิษในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย",

"ปานกลาง","ต้องจัดทำ แผนควบคุมมลพิษ และหรือ วิธีการทำงาน และเฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อควบคุมมลพิษมิให้ส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามความเหมาะสม"

"สูง","ต้องจัดทำ แผนขจัดมลพิษ และหรือ วิธีการทำงาน และ เฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อลดมลพิษให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติมตามความเหมาะสม",

"สูงมาก","ต้องจัดทำ แผนขจัดมลพิษ และหรือ วิธีการทำงาน และ เฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อลดมลพิษให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการสิ่งแวดล้อม และหรือ แผนฉุกเฉินเพิ่มเติมตามความเหมาะสม


18001
"ต่ำมาก","ต้องเฝ้าติดตามตรวจวัดความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย"

"ต่ำ","ต้องเฝ้าติดตามตรวจวัดความเสี่ยงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย"

"ยอมรับได้","ต้องจัดทำ แผนควบคุมความเสี่ยง และหรือ วิธีการทำงาน และเฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อควบคุมความเสี่ยงมิให้ส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยเพิ่มเติมตามความเหมาะสม"

"สูง","ต้องจัดทำ แผนขจัดความเสี่ยง และหรือ วิธีการทำงาน และ เฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการอาชีวอนามัย และความปลอดภัยเพิ่มเติมตามความเหมาะสม",

"สูงมาก","ต้องจัดทำ แผนขจัดความเสี่ยง และหรือ วิธีการทำงาน และ เฝ้าติดตามตรวจวัด เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ อาจพิจารณาจัดทำโครงการ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย และหรือ แผนฉุกเฉินเพิ่มเติมตามความเหมาะสม"

ลองดูเกณฑ์ และแบบฟอร์มในกระทู้นี้นะครับ
http://www.isothai.c...p?showtopic=836





"

#3 nutja

nutja

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 17 February 2009 - 10:41 AM

ขอบคุณมากค่ะ

#4 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 02 February 2010 - 07:33 PM

ผมว่า แล้วแต่มองในมุมไหน
หากมองในมุม ISO 14001

มาตรฐาน ISO14001
มองในมุม เหตุภาวะฉุกเฉิน ที่หากเกิดแล้วมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งในปริมาณที่บอก หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่ทำให้โลกร้อนขึ้นเท่าไหร่ มั้ง
มากกว่านั้นไม่รู้จะลดผลกระทบอย่างไร

ดังนั้น ไม่ต้องมีแผนหรอก
ลองดูเพิ่มที่นี่
http://www.training....gency-plan.html

ข้อ 4.4.7 การเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน

" องค์กรต้องจัดทำ นำไปปฏิบัติ และคงรักษาไว้ซึ่งขั้นตอนปฏิบัติสำหรับการระบุสถานการณ์เหตุฉุกเฉินที่ศักยภาพในการเ
กิดขึ้น และการเกิดอุบัติเหตุที่ศักยภาพในการเกิดขึ้น ที่สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และกำหนดวิธีการในการตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านั้น"

ไม่ว่าอย่างไร เรื่องนี้ต้องผ่านระเบียบ ระบบ ตาม 4.4.7 กล่าวคือคุณต้องมีระบบในการคัดกรอง คัดเลือกว่าอะไรน่าจะเป็นเหตุฉุกเฉิน ไม่ใช่อยุ่ดีๆ จะมีมาเอง พูดง่ายๆ คุณกำหนดเองตามกฏเกณฑ์ในการควานหา สรุปว่าอะไรน่าจะเป็นเหตุฉุกเฉิน

...........................................

แต่หากมองในแง่ Safety
เป็นเรื่อง
เพราะเป็นภาชนะรับแรงดันประเภทหนึ่ง
ถังกาซ LPG ชิดซ้าย
ต้องจัดการครับ

CO2 มีการใช้งานในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่า งานเชื่อม, โรงงานอาหาร ...
CO2 จริงๆแล้ว ตัวมันเองมีพิษ มีภัยน้อยกว่า แอมโมเนีย มากๆ

แต่หากคุณ มีเป็นแบบถังใหญ่ๆ ที่บริษัท ประเภท prax air , liquide carbonic, Air Liquid มาติดตั้งให้
ต้องระวังสุดๆ เพราะข้างในเป็น GAS CO2 เหลว

โดยเฉพาะประเภทที่เป็นผนังสองชั้น
เพราะหากถังที่เป็น vacumm ทะลุ ตัวใครตัวมัน

CO2 เป็น Gas ประเภท crogenic แบบหนึ่ง หากเกิดอุบัติเหตุ
ไม่สนุกแน่ เพราะ แรงดันสูง

เคยดูหนัง terminator ที่อาโนล์เล่นไหม
พ่นโดนตัวผู้ร้าย แข็งกรอบเลย

พ่นโดนกุ้ง กุ้งแข็งเป็ก!!
พ่นโดน ...... มือ
มือขาด !!! ได้เลย





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users