ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

ใครพอมีความรู้เรื่องโรงชุบบ้างค่ะ ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ
#1
Posted 24 February 2009 - 07:37 PM
เป็นบริษัทฯ ชุบชิ้นงาน แต่ไม่ค่อยรู้เรื่อง
Process ในการชุบเท่าไหร่ ใครพอมี
แนวทางแนะนำบ้างค่ะ จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับผู้ใจดีทุกท่านค่ะ
#2
Posted 24 February 2009 - 07:38 PM
เกี่ยวกับการควบคุมในกระบวนการชุบ
ว่าต้องควบคุมอะไรบ้างค่ะ
แล้วมี Check list อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง
ถ้าได้ตัวอย่างจะขอบพระคุณค่ะส่งมาที่
e-mail soracha_a@hotmail.com จ้า
#3
Posted 25 February 2009 - 07:58 AM
ถ้าต้องการความช่วยเหลืออะไร หลังมือ... เอ๊ย หลังไมค์มาได้นะครับ ถ้าช่วยได้ก็ว่ากันไปครับ
#4
Posted 25 February 2009 - 10:22 AM
ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ
#5
Posted 25 February 2009 - 01:36 PM
theerawut.thanomdee@gmail.com
#6
Posted 25 February 2009 - 02:33 PM
อ้าว คุณไก่ทอด
แปลงร่างเป็นนักการเมืองเกาหลีซ่ะอย่างนั้นเลยน่ะครับ...งานเข้าไหมล่ะผม
ล้อเล่นน่ะครับ ยินดีช่วยเหลือครับ แต่ผมได้แค่งูๆปลาๆน่ะครับ
ว่าแต่ Process ชุบที่ว่านี้ ชุบอะไรครับ
โครเมี่ยม ดีบุก EDP หรือว่าเป็นลูกชุบครับ (อย่างหลังนี่ของชอบของครอบครัวเลย)
ขาดเหลืออะไร ต้องการให้ suport อะไร ก็ฝากไว้ในนี้ได้ครับ
สู้ๆครับ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#7
Posted 25 February 2009 - 02:43 PM
1. ขั้นตอนรับวัตถุดิบ จุดควบคุม คือ DWG./รูป ถูกต้องกับงานหรือไม่ จำนวนครบหรือไม่ สภาพของชิ้นงานเคลือบน้ำมันอะไรมา
2. ขั้นตอนการทำงาน
- ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และน้ำยาล้างคราบไขมัน ส่วนผสมของสารเคมี
- ล้างด้วยฟอสเฟตปรับสภาพผิว จุดควบคุมผิวชิ้นงานต้องไม่มีคราบไขมันติด ส่วนผสมของสารเคมี ค่าความถ่วงจำเพาะ
- นำชิ้นงาน แขวน หรือ กลิ่ง ในบ่อชุบซิงค์ จุดควบคุม ค่าความถ่วงจำเพาะ ก้อนโลหะที่ใช้ในการชุบ ระยะเวลาการชุบ(ตามความหนาที่เกิด) สีที่ผสม กระแสไฟที่ใช้
- การเป่าลมร้อนเพื่อไล่ความชื้น
- ตรวจสอบความหนาของซิงค์ การติดของซิงค์โดยเฉพาะตามมุม ขอบ
3. ขั้นตอนการแพ็ค ห่อกระดาษ หรือ จัดวางให้เรียบร้อย จุดควบคุม การวางซ้อนทับ การป้องกันการถลอกของซิงค์ จำนวน และ DWG/รูปถูกต้อง ชี้บ่งให้ชัดเจน
ประมาณนี้เท่าที่จำได้ รอท่านอื่นมาแชร์เพิ่มอีกก็ดีนะ :lol
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
#8
Posted 25 February 2009 - 09:11 PM
ถ้าต้องการความช่วยเหลืออะไร หลังมือ... เอ๊ย หลังไมค์มาได้นะครับ ถ้าช่วยได้ก็ว่ากันไปครับ
หลังไมค์ม่ะเห็นมี Mail ให้เลยอ่ะ
#9
Posted 25 February 2009 - 09:12 PM
ชุบงานโคมเมี่ยมบนตัวชิ้นงานเหล็ก
เป็นประเภทโคม 3 โคม 6
และก็ซิงค์ค่ะ
#10
Posted 25 February 2009 - 09:13 PM
ขอบคุณค่ะ
เห็นทีต้องขอคำแนะนำจากคุณนุกูล
กู่รูผู้รู้ซะแล้ว
......
#11
Posted 25 February 2009 - 09:15 PM
แปลงร่างเป็นนักการเมืองเกาหลีซ่ะอย่างนั้นเลยน่ะครับ...งานเข้าไหมล่ะผม
ล้อเล่นน่ะครับ ยินดีช่วยเหลือครับ แต่ผมได้แค่งูๆปลาๆน่ะครับ
ว่าแต่ Process ชุบที่ว่านี้ ชุบอะไรครับ
โครเมี่ยม ดีบุก EDP หรือว่าเป็นลูกชุบครับ (อย่างหลังนี่ของชอบของครอบครัวเลย)
ขาดเหลืออะไร ต้องการให้ suport อะไร ก็ฝากไว้ในนี้ได้ครับ
สู้ๆครับ
โครเมี่ยมค่ะ อยากได้ทั้ง Process เลยค่ะ
ตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการค่ะ
ตอนนี้จนปัญหาด้วยเกล้าค่ะ
#12
Posted 25 February 2009 - 09:19 PM
1. ขั้นตอนรับวัตถุดิบ จุดควบคุม คือ DWG./รูป ถูกต้องกับงานหรือไม่ จำนวนครบหรือไม่ สภาพของชิ้นงานเคลือบน้ำมันอะไรมา
2. ขั้นตอนการทำงาน
- ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และน้ำยาล้างคราบไขมัน ส่วนผสมของสารเคมี
- ล้างด้วยฟอสเฟตปรับสภาพผิว จุดควบคุมผิวชิ้นงานต้องไม่มีคราบไขมันติด ส่วนผสมของสารเคมี ค่าความถ่วงจำเพาะ
- นำชิ้นงาน แขวน หรือ กลิ่ง ในบ่อชุบซิงค์ จุดควบคุม ค่าความถ่วงจำเพาะ ก้อนโลหะที่ใช้ในการชุบ ระยะเวลาการชุบ(ตามความหนาที่เกิด) สีที่ผสม กระแสไฟที่ใช้
- การเป่าลมร้อนเพื่อไล่ความชื้น
- ตรวจสอบความหนาของซิงค์ การติดของซิงค์โดยเฉพาะตามมุม ขอบ
3. ขั้นตอนการแพ็ค ห่อกระดาษ หรือ จัดวางให้เรียบร้อย จุดควบคุม การวางซ้อนทับ การป้องกันการถลอกของซิงค์ จำนวน และ DWG/รูปถูกต้อง ชี้บ่งให้ชัดเจน
ประมาณนี้เท่าที่จำได้ รอท่านอื่นมาแชร์เพิ่มอีกก็ดีนะ :lol
ส่วนมากจะเป็นงานกลิ้งค่ะ กำลังปวดหัวอยู่กับการออกแบบ Check List ที่จะนำไปใช้
ในแต่ละกระบวนการที่ถูกระบุไว้ใน Control Plan นี่ซิค่ะ
เพราะว่าเค้ายังไม่เคยทำ อันนี้เลยไปไม่เป็นค่ะ
#13
Posted 26 February 2009 - 09:36 AM
ตั้งแต่ต้น จนจบกระบวนการค่ะ
ตอนนี้จนปัญหาด้วยเกล้าค่ะ
ถ้าความต้องการมีมากขนาดนี้ ผมคงต้องขออภัยด้วยน่ะครับ
เพราะคงไม่สามารถช่วยเหลือได้มากขนาดนั้น เนื่องจากว่าธุรกิจงานชุบเป็นอะไรที่ต้องใช้ประสบการณ์
การทดลอง โนว์ฮาวต่างๆ กว่าจะสามารถนำมาจัดทำเป็นมาตรฐานที่ใช้ควบคุมกระบวนการ (Control Plan) ได้นั้น ยากส์มากๆคับ
เกรงว่า ช่วยไม่ได้ขนาดนั้นหรอกน่ะครับ
แต่ถ้าอยากรู้ว่างานชุบต้องควบคุมอะไรบ้าง แบบนี้พอบอกได้ครับ แต่ตัวเลขต้องเป็นเท่าไหร่นั้น คงต้องดูที่หน้างานน่ะ
ปกติแล้วคนที่ทำงานหน้างงานในด้านนี้จะรู้ครับว่าต้องควบคุมอะไร ควบคุมอย่างไร เราแค่ไปสัมภาษณ์เอาข้อมูลที่เป็นคำพูดมาจัดทำเป็นเอกสาร
เพื่อความเป็นมาตรฐานครับ
แนะนำว่า ถือกระดาษสักใบ ไปไล่ Process ดูว่า Process เริ่มต้นอย่างไร อะไรคือลำดับที่ 1..2..3......จนถึงการส่งมอบ
เช่น
1.ตรวจรับชิ้นงานจากลูกค้า
2.ปัดผ้า
3.ติดจิ๊ก
4.ล้างไขมัน
5.ล้างน้ำล้น 1..2..3
6.กระตุ้นผิว
ไล่ Process ไปเรื่อยๆจนจบกระบวนการ
จากนั้นค่อยมาดูว่าแต่ละ Process ต้องควบคุมอะไรบ้าง ควบคุมอย่างไร เท่าไหร่ อะไรที่เป็นตัวแปรสำคัญๆที่มีผลต่อคุณภาพงาน เช่น
1.กระแสไฟฟ้า
2.ระยะเวลา
3.ความเข้มข้นของน้ำยา
4.ระดับน้ำยา
5.อุณหภูมิ
ลองดูครับ
พื้นถนนที่ขรุขระ จะสร้างรอยท้าวที่แข็งแกร่งครับ สู้ๆ
Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939
Facebook: Nukool Thanuanram
Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com
เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"
#14
Posted 26 February 2009 - 10:45 AM
น่าจะต้องควบคุมน้ำด้วยอ่ะครับ
รู้สึกว่า น้ำที่ใช้ล้างชิ้นงาน เนี่ย
ต้องเป็นน้ำ RO อ่ะครับ (น้ำที่ผ่านกระบวนการ Reverse Osmosis ) ที่มีอุณภูมิตามที่กำหนด
ไม่งั้นมันจะมีผลในขั้นตอนของการกระตุ้นผิว อ่ะครับ
#15
Posted 26 February 2009 - 10:51 AM
เป็นประเภทโคม 3 โคม 6
และก็ซิงค์ค่ะ
โคม 6 เค้ายังจะชุบกันอีกเหรอครับ
theerawut.thanomdee@gmail.com
#16
Posted 26 February 2009 - 03:15 PM
ถ้าไม่ได้ส่งไปที่ ตลาด EU โครม3 หรือ โครม6 ก็ได้ครับ
เรื่องเชิงเทคนิคนี่แนะนำให้เอาเซลส์ ที่ขายสารเคมีมาอบรมให้ครับ
3 user(s) are reading this topic
0 members, 3 guests, 0 anonymous users