Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ทำไมต้องคิดงานที่เสียเป็น PPM


  • Please log in to reply
13 replies to this topic

#1 Pui Fai

Pui Fai

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 28 posts
  • Gender:Female

Posted 21 February 2013 - 12:08 PM

ขอถามหน่อยค่ะ ทำไมเราต้องคิดงานที่เสียเป็นหน่วย PPM ด้วยคะ แล้วถ้าคิดเป็น % มันจะสื่อสารเข้าใจง่ายกว่ากันไหม?

รบกวนช่วยชี้แนะด้วยคะ เพราะว่าจะต้องเอาไปสื่อสารให้น้องในฝ่ายผลิตทราบค่ะ เอาแบบกระจ่างเลยนะคะ ขอบคุณค่ะ



#2 DooK

DooK

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,511 posts
  • Gender:Male
  • Location:บางแสน

Posted 21 February 2013 - 12:40 PM

เอาแบบตามความเข้าใจของผมเองละกันนะครับ

 

แนวความคิดนี้น่าจะมีที่มาที่ไปจากการลดของเสียทั่วๆ ไปแหละครับ แต่บังเอิญว่าอยู่มาวันนึงบริษัท Motorola ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์รายใหญ่ที่สุด (ณ เวลานั้น) เกิดประยุกต์ใช้แนวความคิดในการลดของเสียระดับเทพที่เรียกว่า Six Sigma ซึ่งมุ่งเน้นลดความแปรปรวนในกระบวนการ อันจะได้มาซึ่งการลดขอเสียอันมหาศาลตามมา

 

Sigma เป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่ใช้ในการสถิติ คือค่า "เบี่ยงเบนมาตรฐาน" นะครับ

 

คำว่ากระบวนการในที่นี้ ถ้าเป็นกระบวนการปกติ ก็จะเกิดการกระจายตัวแบบ Normal distribution ขึ้น ซึ่งก็มีผู้รู้ท่านนึง ชื่อ ชิวฮาร์ท ได้บอกว่า ไอ้การควบคุมกระบวนการแบบที่เป็น Normal Distribution เนี่ย หากการกระจายตัวซ้ายขวารวมกันแล้วเกิน 6 sigma ก็ควรจะได้รับการปรับปรุงแล้ว จึงเกิดเป็นเรื่องยุ่งขึ้น เนื่องจากว่าทางสถิติแล้วคำว่าการควบคุมระดับ 6 sigma คือการอนุญาตให้มีของเสียเพียง 3.4 ชิ้น ใน 1 ล้านหน่วยผลิต (3.4 ppm = Part Per Million) ครับ ดังนั้น เมื่อต้องการอยากจะปรับปรุงกระบวนการตามหลักการของ six sigma แล้ว ก็ควรจะสื่อสารในภาษาระดับเดียวกัน จะได้รู้ว่าเราอยู่ห่างจากเป้าหมายเท่าไหร่ การบอกว่าเรามีของเสีย 0.5% มันยังอาจจะหลอกตัวเองอยู่ เพราะหากแปลงเป็น ppm แล้ว จะมีค่าสูงระดับ 5000 ppm เลยครับ

 

ตอบคำถามที่ว่า ทำไมเราไม่สื่อสารว่าเป็น % เสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว ทำไมต้องเป็น ppm ด้วย ?

 

คำตอบคือว่า หากกระบวนการที่นิ่งแล้ว ก็ยังจะมีของเสียในระดับหนึ่ง เช่น 0.5% = 5000 ppm ในการปรับปรุงกระบวนการให้ของเสียลดลงระดับ "เปอร์เซ็นต์" นั้นเป็นเรื่องยากมากครับ เพราะต้องอาศัยการปรับปรุงในแง่ของเทคโนโลยีเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่ต้องลงทุนมหาศาล แต่บางทีการปรับปรุงเล็กน้อยเช่น การเปลี่ยนแปลง Process parameter ก็ทำให้กระบวนการดีขึ้นได้เช่นกัน แต่อาจจะเล็กน้อยมากซึ่งหากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะไม่เห็นความต่าง เช่น

 

เดิมเราผลิตชิ้นงาน 100,000 ชิ้นต่อวัน มีของเสียเท่ากับ 500 ชิ้นเป็นปกติคิดเป็น 0.5% = 5000 ppm

 

หลังปรับปรุงกระบวนกระบวนการแล้ว ผลิตงาน 100,000 ชิ้น มีของเสียเท่ากับ 460 ชิ้น คิดเป็น 0.46% = 4600 ppm

 

ดูตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์แล้วอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าเป็น ppm แล้ว ดูดีทีเดียวเห็นไหมครับ

 

ตัวเลขนี้จะเห็นว่ามีประโยชน์ยิ่งขึ้น หากเราผลิตชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยสูงมากๆ ครับ :)


ลายเซ็น

#3 Nathsiree

Nathsiree

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 70 posts

Posted 21 February 2013 - 12:57 PM

ขอบคุณค่ะ อธิบายให้เห็นภาพตามได้ชัดมาก แม้ไม่รู้ว่า ppm คืออะไร 

แต่พอจะเข้าใจว่า สื่อสารแบบ % และ ppm ต่างกันอย่างไร 

ณัฐศิรี ทวีศรี



#4 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 21 February 2013 - 01:14 PM

ผมคิดทั้ง 2 ส่วนเลยครับ วัดทั้ง % และ PPM ยังงานเคลมกลับมาไม่กี่ชิ้นในรอบงานส่ง ก็คิดทั้ง % มันน้อยครับประมาณ 0.005% แต่พอถอดเป็น PPM ประมาณ 49.95 PPM ซึ่งถือว่าเยอะเหมือนกัน ขอบคุณอ.ดุกที่มาให้ความรู้ครับ


การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#5 Constantine

Constantine

    I am legend

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 945 posts
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี
  • Interests:ISO Knowledge

Posted 21 February 2013 - 04:13 PM

ของผมก็คิดทั้งเป็น % และ PPM ครับ

หลักการเหมือน อ.ดุก ครับ

ตามแต่ปริมาณงานที่เข้ามาครับ



#6 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 21 February 2013 - 04:31 PM

ตามกำลังครับ ถ้าปัจจุบัน ยังเป็นโจ๊ก โซคูล อยู่ ก็อาจจะเริ่มวัดจาก % ไปก่อน ทุกๆคนจะได้มีกำลังใจหรือใจชื้นหน่อย

แต่ถ้ากำลังภายในแกร่งกล้าแล้ว ค่อยเอาแว่นขยายมาส่อง โดยการเปลี่ยนหน่วยวัดเป็น PPM or DPM ก็ได้ครับ


Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"


#7 QMR_PAO

QMR_PAO

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,306 posts
  • Gender:Male

Posted 21 February 2013 - 09:17 PM

เอาแบบตามความเข้าใจของผมเองละกันนะครับ

 

แนวความคิดนี้น่าจะมีที่มาที่ไปจากการลดของเสียทั่วๆ ไปแหละครับ แต่บังเอิญว่าอยู่มาวันนึงบริษัท Motorola ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์รายใหญ่ที่สุด (ณ เวลานั้น) เกิดประยุกต์ใช้แนวความคิดในการลดของเสียระดับเทพที่เรียกว่า Six Sigma ซึ่งมุ่งเน้นลดความแปรปรวนในกระบวนการ อันจะได้มาซึ่งการลดขอเสียอันมหาศาลตามมา

 

Sigma เป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่ใช้ในการสถิติ คือค่า "เบี่ยงเบนมาตรฐาน" นะครับ

 

คำว่ากระบวนการในที่นี้ ถ้าเป็นกระบวนการปกติ ก็จะเกิดการกระจายตัวแบบ Normal distribution ขึ้น ซึ่งก็มีผู้รู้ท่านนึง ชื่อ ชิวฮาร์ท ได้บอกว่า ไอ้การควบคุมกระบวนการแบบที่เป็น Normal Distribution เนี่ย หากการกระจายตัวซ้ายขวารวมกันแล้วเกิน 6 sigma ก็ควรจะได้รับการปรับปรุงแล้ว จึงเกิดเป็นเรื่องยุ่งขึ้น เนื่องจากว่าทางสถิติแล้วคำว่าการควบคุมระดับ 6 sigma คือการอนุญาตให้มีของเสียเพียง 3.4 ชิ้น ใน 1 ล้านหน่วยผลิต (3.4 ppm = Part Per Million) ครับ ดังนั้น เมื่อต้องการอยากจะปรับปรุงกระบวนการตามหลักการของ six sigma แล้ว ก็ควรจะสื่อสารในภาษาระดับเดียวกัน จะได้รู้ว่าเราอยู่ห่างจากเป้าหมายเท่าไหร่ การบอกว่าเรามีของเสีย 0.5% มันยังอาจจะหลอกตัวเองอยู่ เพราะหากแปลงเป็น ppm แล้ว จะมีค่าสูงระดับ 5000 ppm เลยครับ

 

ตอบคำถามที่ว่า ทำไมเราไม่สื่อสารว่าเป็น % เสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว ทำไมต้องเป็น ppm ด้วย ?

 

คำตอบคือว่า หากกระบวนการที่นิ่งแล้ว ก็ยังจะมีของเสียในระดับหนึ่ง เช่น 0.5% = 5000 ppm ในการปรับปรุงกระบวนการให้ของเสียลดลงระดับ "เปอร์เซ็นต์" นั้นเป็นเรื่องยากมากครับ เพราะต้องอาศัยการปรับปรุงในแง่ของเทคโนโลยีเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่ต้องลงทุนมหาศาล แต่บางทีการปรับปรุงเล็กน้อยเช่น การเปลี่ยนแปลง Process parameter ก็ทำให้กระบวนการดีขึ้นได้เช่นกัน แต่อาจจะเล็กน้อยมากซึ่งหากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะไม่เห็นความต่าง เช่น

 

เดิมเราผลิตชิ้นงาน 100,000 ชิ้นต่อวัน มีของเสียเท่ากับ 500 ชิ้นเป็นปกติคิดเป็น 0.5% = 5000 ppm

 

หลังปรับปรุงกระบวนกระบวนการแล้ว ผลิตงาน 100,000 ชิ้น มีของเสียเท่ากับ 460 ชิ้น คิดเป็น 0.46% = 4600 ppm

 

ดูตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์แล้วอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าเป็น ppm แล้ว ดูดีทีเดียวเห็นไหมครับ

 

ตัวเลขนี้จะเห็นว่ามีประโยชน์ยิ่งขึ้น หากเราผลิตชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยสูงมากๆ ครับ :)

 

ขอบคุณอาจารย์ มากครับ


จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด


#8 App-Ple-Pao

App-Ple-Pao

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 304 posts
  • Gender:Female
  • Location:Samutprakarn

Posted 21 February 2013 - 09:27 PM

ตามกำลังครับ ถ้าปัจจุบัน ยังเป็นโจ๊ก โซคูล อยู่ ก็อาจจะเริ่มวัดจาก % ไปก่อน ทุกๆคนจะได้มีกำลังใจหรือใจชื้นหน่อย

แต่ถ้ากำลังภายในแกร่งกล้าแล้ว ค่อยเอาแว่นขยายมาส่อง โดยการเปลี่ยนหน่วยวัดเป็น PPM or DPM ก็ได้ครับ

 

คุณนุตรูนคะ....DPM คืออะไรค่ะ...ขอความรู้หน่อยค่ะ   ....เหมือน PPM ไหมค่ะ



#9 นุกูล

นุกูล

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 4,797 posts
  • Gender:Male

Posted 21 February 2013 - 09:54 PM

คุณนุตรูนคะ....DPM คืออะไรค่ะ...ขอความรู้หน่อยค่ะ   ....เหมือน PPM ไหมค่ะ

 

PPM = Part Per Million ชิ้น ต่อ ล้าน

 

DPM

  • Defect Per Million จำนวนชิ้นงานที่มีรอยตำหนิ ต่อ ชิ้นงาน 1 ล้านชิ้น
  • Defective Per Million จำนวนชิ้นงานเสีย ต่อ จำนวนชิ้นงาน 1 ล้านชิ้น

:smiley-eatdrink004:


Nukool Thanuanram
Mobile Phone: 097.954.4939

Facebook: Nukool Thanuanram

Fanpage: อาจารย์นุกูล วิทยากรสอนคนโรงงาน
LINE ID: nukool2001
E-Mail: nukool2001@gmail.com


เสือพี่เพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง ดินเย็นเพราะหญ้าบัง และหญ้ายังเพราะดินดี "สรรพสิ่งล้วนเกื้อกูลพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน"


#10 Phaichit

Phaichit

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 18 posts
  • Gender:Male
  • Location:Smutsakorn

Posted 16 March 2013 - 02:53 PM

สรุปที่ผมเข้าใจนะครับ

การคิดแบบ %  กับ PPM ผล ก็คือ เท่า ๆ กัน

แต่ ppm ใช้ความรู้สึก ว่า  ppm จะเยอะกว่า % จึงทำให้ความรู้สึกว่าเยอะ แต่ในความหมาย คือ  เท่ากัน

 

ผมคิดถูกต้องหรือเปล่าครับ

 

ขอบคุณครับ



#11 NITHIT

NITHIT

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 8 posts

Posted 18 May 2013 - 02:57 PM

สรุปที่ผมเข้าใจนะครับ

การคิดแบบ %  กับ PPM ผล ก็คือ เท่า ๆ กัน

แต่ ppm ใช้ความรู้สึก ว่า  ppm จะเยอะกว่า % จึงทำให้ความรู้สึกว่าเยอะ แต่ในความหมาย คือ  เท่ากัน

 

ผมคิดถูกต้องหรือเปล่าครับ

 

ขอบคุณครับ

 

 

วุฒิศักดิ์ครับ

 

:4237:  :4237:  :4237:  :4241:



#12 PungO Joys Siri

PungO Joys Siri

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 132 posts
  • Gender:Female

Posted 04 July 2013 - 11:01 AM

เอาแบบตามความเข้าใจของผมเองละกันนะครับ

 

แนวความคิดนี้น่าจะมีที่มาที่ไปจากการลดของเสียทั่วๆ ไปแหละครับ แต่บังเอิญว่าอยู่มาวันนึงบริษัท Motorola ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์รายใหญ่ที่สุด (ณ เวลานั้น) เกิดประยุกต์ใช้แนวความคิดในการลดของเสียระดับเทพที่เรียกว่า Six Sigma ซึ่งมุ่งเน้นลดความแปรปรวนในกระบวนการ อันจะได้มาซึ่งการลดขอเสียอันมหาศาลตามมา

 

Sigma เป็นตัวแปรตัวหนึ่งที่ใช้ในการสถิติ คือค่า "เบี่ยงเบนมาตรฐาน" นะครับ

 

คำว่ากระบวนการในที่นี้ ถ้าเป็นกระบวนการปกติ ก็จะเกิดการกระจายตัวแบบ Normal distribution ขึ้น ซึ่งก็มีผู้รู้ท่านนึง ชื่อ ชิวฮาร์ท ได้บอกว่า ไอ้การควบคุมกระบวนการแบบที่เป็น Normal Distribution เนี่ย หากการกระจายตัวซ้ายขวารวมกันแล้วเกิน 6 sigma ก็ควรจะได้รับการปรับปรุงแล้ว จึงเกิดเป็นเรื่องยุ่งขึ้น เนื่องจากว่าทางสถิติแล้วคำว่าการควบคุมระดับ 6 sigma คือการอนุญาตให้มีของเสียเพียง 3.4 ชิ้น ใน 1 ล้านหน่วยผลิต (3.4 ppm = Part Per Million) ครับ ดังนั้น เมื่อต้องการอยากจะปรับปรุงกระบวนการตามหลักการของ six sigma แล้ว ก็ควรจะสื่อสารในภาษาระดับเดียวกัน จะได้รู้ว่าเราอยู่ห่างจากเป้าหมายเท่าไหร่ การบอกว่าเรามีของเสีย 0.5% มันยังอาจจะหลอกตัวเองอยู่ เพราะหากแปลงเป็น ppm แล้ว จะมีค่าสูงระดับ 5000 ppm เลยครับ

 

ตอบคำถามที่ว่า ทำไมเราไม่สื่อสารว่าเป็น % เสียให้สิ้นเรื่องสิ้นราว ทำไมต้องเป็น ppm ด้วย ?

 

คำตอบคือว่า หากกระบวนการที่นิ่งแล้ว ก็ยังจะมีของเสียในระดับหนึ่ง เช่น 0.5% = 5000 ppm ในการปรับปรุงกระบวนการให้ของเสียลดลงระดับ "เปอร์เซ็นต์" นั้นเป็นเรื่องยากมากครับ เพราะต้องอาศัยการปรับปรุงในแง่ของเทคโนโลยีเครื่องจักร หรืออื่นๆ ที่ต้องลงทุนมหาศาล แต่บางทีการปรับปรุงเล็กน้อยเช่น การเปลี่ยนแปลง Process parameter ก็ทำให้กระบวนการดีขึ้นได้เช่นกัน แต่อาจจะเล็กน้อยมากซึ่งหากเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วจะไม่เห็นความต่าง เช่น

 

เดิมเราผลิตชิ้นงาน 100,000 ชิ้นต่อวัน มีของเสียเท่ากับ 500 ชิ้นเป็นปกติคิดเป็น 0.5% = 5000 ppm

 

หลังปรับปรุงกระบวนกระบวนการแล้ว ผลิตงาน 100,000 ชิ้น มีของเสียเท่ากับ 460 ชิ้น คิดเป็น 0.46% = 4600 ppm

 

ดูตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์แล้วอาจจะไม่เยอะ แต่ถ้าเป็น ppm แล้ว ดูดีทีเดียวเห็นไหมครับ

 

ตัวเลขนี้จะเห็นว่ามีประโยชน์ยิ่งขึ้น หากเราผลิตชิ้นงานที่มีราคาต่อหน่วยสูงมากๆ ครับ :)

 

 

ขอบคุณมากเลยค่ะ สำหรับการแบ่งปันควรามรู้ ^____________^



#13 mrt258

mrt258

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 35 posts

Posted 02 October 2020 - 01:59 PM

ถ้าของเสียเราเป็น kg. สามารถคิดเป็น PPM ได้มั้ยคับ



#14 krissarakorn

krissarakorn

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 255 posts
  • Gender:Male
  • Location:Chonburi

Posted 03 October 2020 - 04:34 PM

ผมเคยพบปัญหาเรื่องเป้าหมาย PPM ของลูกค้่าต่อสินค้าที่ส่งมอบ, เป็นงานที่สั่งผลิตทีละไม่มาก ส่งทีละ 10  ชิ้น/เดือน 

เจอ NC 1 ชิ้น ยอดทะลุเป้าไปไกลถึง  100,000 PPM (10%) แต่เป้าหมายตั้งไว้ 1,000 PPM (0.1 %) 

ด้วยชิ้นงานที่มีจำนวนน้อย ทำให้ชิ้นงาน 1 ชิ้นที่พบ NC ค่าจะสูงกว่าเป้าหมายทันที จึงไม่ต่างกับการกำหนดเป็น Zero Defect ซึ่งยากมาก

อาจไม่ทำให้รู้สึกถึงความท้าทายในการจะหาทางป้องกัน 

 

ส่วนตัวจึงคิดว่า การเอา PPM มาใช้กับงานบางอย่าง เช่น งาน Made to Order แบบนี้ อาจจะไม่เหมาะสมนัก 


Krissarakorn..





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users