Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

หัวข้อ Supervision of personnel in application of food safety principles (การตรวจสอบความสามารถของพนักงาน) ว่ามีขั้นตอนอย่างไรค่ะ


  • Please log in to reply
6 replies to this topic

#1 asainui

asainui

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 15 posts

Posted 03 February 2014 - 02:39 PM

ขอความกระจ่างเกี่ยวกับหัวข้อ Supervision of personnel in application of food safety principles (การตรวจสอบความสามารถของพนักงาน) ว่ามีขั้นตอนอย่างไรค่ะ

(เป็น Additional requirement ของระบบ FSSC22000)

ขอบคุณมากค่ะ :smiley-signs001:



#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,595 posts
  • Gender:Male

Posted 03 February 2014 - 02:49 PM

พนักงานที่ทำหน้าที่ดูแลจุด CCP  or oPRP  ต้องมี Competence ของงานด้าน Food Safety โดยเฉพาะหน้าที่ที่เขา

 

ดูแลจุด CCP or oPRP นั้นๆครับ

 

Personnel responsible for operational PRP(s) and CCPs are trained and knowledgeable. They are aware of their responsibilities and completely understand the consequences of an eventual failure of the CCP or operational PRP(s).

 

a) Personnel responsible for operational PRP(s) and CCPs are trained and knowledgeable.

 

b)They are able to physically locate the CCPs pertaining to their area of responsibility.

 

c) They are aware of their responsibilities and completely understand the consequences of an eventual failure of the CCP or operational PRP(s).



#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,595 posts
  • Gender:Male

Posted 03 February 2014 - 02:57 PM

สิ่งที่เพิ่มเติมไปจากข้อกำหนด ISO22000 and ISO/TS 22002-1 ของการเปลี่ยนแปลง FSSC 22000 ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2013

คือ

 

1.ข้อกำหนดสำหรับงานบริการ

กิจกรรมสาธารณูปโภคต่างๆ งานขนส่ง งานซ่อมบำรุง ต้องมีการกำหนดข้อกำหนดที่เฉพาะสำหรับงานบริการต่างๆเช่น งานรับบริการขนส่ง ผู้ที่ให้บริการต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 ต้องมีรถสำรองกรณีเกิดฉุกเฉิน ซึ่งรูปแบบของเอกสารที่เตรียมไว้อาจจะเป็น Contract agreement เป็นสัญญาของการจ้างงานบริการก็ได้

 และต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารเพื่อให้สามารถใช้ในการวิเคราะห์อันตรายในขั้นตอนของ HACCP ได้

อ้างอิงข้อกำหนด ISO 22000 ข้อ 7.2.3f  and 7.3.3

 

 

2.การควบคุมดูแลบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อปฏิบัติของความปลอดภัยของอาหาร

อ้างอิงข้อกำหนด ISO 22000 ข้อ 6.2.2

 

 

3.กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจง

องค์กรที่จะขอการรับรองนั้นต้องมั่นใจว่าข้อกำหนดของส่วนผสมและวัตถุดิบต่างๆนั้นได้มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน เช่นกฏหมายประกาศกระทรวงสาธารณสุข

ฉบับที่ 281 ห้ามใช้สีในอาหารบางชนิด ในบะหมี่ กุ้งแห้ง น้ำพริก กุนเชียง กะปิ เป็นต้น ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าข้อกำหนดของส่วนผสมและวัตถุที่ใช้ในการผลิต

สอดคล้องตามประกาศดังกล่าว นั่นคือสิ่งที่องค์กรต้องเตรียมไว้

 

4.การรับการตรวจโดยมีการแจ้งล่วงหน้าแต่ไม่มีโปรแกรมของการตรวจสำหรับองค์กรที่ได้รับการรับรอง

ข้อกำหนดนี้บอกว่าจะมีการตรวจนอกรอบจากที่ CB ตรวจอยู่แล้วตามปกติ ซึ่งขึ้นกับความเสี่ยงในสินค้าต่างๆเช่น มีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีกที่ผ่านมา

องค์กรท่านอาจจะได้รับการสุ่มตรวจ

 

5.การจัดการกับปัจจัยการผลิตต่างๆ

องค์กรต้องประยุกต์ใช้ระบบที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการตรวจวิเคราะห์ต่างๆของปัจจัยการผลิตที่สำคัญเพื่อที่จะรับรองว่าสินค้ามีความปลอดภัยโดยการวิเคราะห์ต่างๆต้องดำเนินการได้เทียบเท่ากับมาตรฐาน ISO 17025

 

 

 

Anusorn Piamprecha

 

086-9906087



#4 asainui

asainui

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 15 posts

Posted 03 February 2014 - 05:16 PM

สิ่งที่เพิ่มเติมไปจากข้อกำหนด ISO22000 and ISO/TS 22002-1 ของการเปลี่ยนแปลง FSSC 22000 ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2013

คือ

 

1.ข้อกำหนดสำหรับงานบริการ

กิจกรรมสาธารณูปโภคต่างๆ งานขนส่ง งานซ่อมบำรุง ต้องมีการกำหนดข้อกำหนดที่เฉพาะสำหรับงานบริการต่างๆเช่น งานรับบริการขนส่ง ผู้ที่ให้บริการต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 ต้องมีรถสำรองกรณีเกิดฉุกเฉิน ซึ่งรูปแบบของเอกสารที่เตรียมไว้อาจจะเป็น Contract agreement เป็นสัญญาของการจ้างงานบริการก็ได้

 และต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารเพื่อให้สามารถใช้ในการวิเคราะห์อันตรายในขั้นตอนของ HACCP ได้

อ้างอิงข้อกำหนด ISO 22000 ข้อ 7.2.3f  and 7.3.3

 

 

2.การควบคุมดูแลบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับข้อปฏิบัติของความปลอดภัยของอาหาร

อ้างอิงข้อกำหนด ISO 22000 ข้อ 6.2.2

 

 

3.กฎหมายที่เกี่ยวข้องเฉพาะเจาะจง

องค์กรที่จะขอการรับรองนั้นต้องมั่นใจว่าข้อกำหนดของส่วนผสมและวัตถุดิบต่างๆนั้นได้มีกฏหมายที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน เช่นกฏหมายประกาศกระทรวงสาธารณสุข

ฉบับที่ 281 ห้ามใช้สีในอาหารบางชนิด ในบะหมี่ กุ้งแห้ง น้ำพริก กุนเชียง กะปิ เป็นต้น ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าข้อกำหนดของส่วนผสมและวัตถุที่ใช้ในการผลิต

สอดคล้องตามประกาศดังกล่าว นั่นคือสิ่งที่องค์กรต้องเตรียมไว้

 

4.การรับการตรวจโดยมีการแจ้งล่วงหน้าแต่ไม่มีโปรแกรมของการตรวจสำหรับองค์กรที่ได้รับการรับรอง

ข้อกำหนดนี้บอกว่าจะมีการตรวจนอกรอบจากที่ CB ตรวจอยู่แล้วตามปกติ ซึ่งขึ้นกับความเสี่ยงในสินค้าต่างๆเช่น มีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีกที่ผ่านมา

องค์กรท่านอาจจะได้รับการสุ่มตรวจ

 

5.การจัดการกับปัจจัยการผลิตต่างๆ

องค์กรต้องประยุกต์ใช้ระบบที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าการตรวจวิเคราะห์ต่างๆของปัจจัยการผลิตที่สำคัญเพื่อที่จะรับรองว่าสินค้ามีความปลอดภัยโดยการวิเคราะห์ต่างๆต้องดำเนินการได้เทียบเท่ากับมาตรฐาน ISO 17025

 

 

 

Anusorn Piamprecha

 

086-9906087

ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อแนะนำและสิ่งที่เพิ่มเติมให้มานะคะ ขอให้เจริญรุ่งเรื่องในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไปค่ะ

:thankyou:



#5 ThanapornEvE

ThanapornEvE

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 1 posts

Posted 17 February 2016 - 01:13 PM

พอจะมีตัวอย่างการทำ Supervision พนักงานที่ปฏิบัติงาน ณ จุด CCP บ้างมั้ยคะ  ... ขอบคุณมากค่ะ



#6 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,595 posts
  • Gender:Male

Posted 17 February 2016 - 09:18 PM

พอจะมีตัวอย่างการทำ Supervision พนักงานที่ปฏิบัติงาน ณ จุด CCP บ้างมั้ยคะ  ... ขอบคุณมากค่ะ

 

 

อ่านตามภาษาไทยที่ผมได้อธิบายไว้ แล้วทำตามนั้นเลยครับ



#7 TRR SUGAR

TRR SUGAR

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 2 posts
  • Gender:Male
  • Location:Uthaitanee

Posted 19 February 2016 - 11:37 PM

การทำ Supervision ในจุด CCP 

 

- ทำแผน Supervision 

- ทำการอบรมแยกต่างหากจากการอบรมทั่วไป ซึ่งแต่ละจุด CCP มีการทำงานแตกต่างกันแล้วทำการทดสอบความรู้

- ทำการ OJT พนักงานในจุดนั้น อาจทำเป็นสื่อเพื่อใช้สอนก็ได้ แล้วให้ทีมประเมินผลการทำงาน

- แสดงสัญลักษณ์ให้ทราบหรือทำป้ายบอกให้รู้ว่าจุดนี้คือจุด CCP

- ต้องกำหนดการติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอในแผน 

- ให้พนักงานอธิบายการทำงาน และทำการทดสอบตามแผนอย่างสม่ำเสมอ 

- ทุกขั้นตอนควรเก็บเอกสารแยกต่างหาก  กำหนดเป็น QP ขึ้นทะเบียนเอกสาร

 

ที่ทำอยู่ก็ประมาณนี้ครับ ตรวจแล้วผ่าน by SGS.






0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users