เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2557 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ (USFDA) ได้เสนอให้ปรับปรุงการแสดงข้อมูลบนฉลากโภชนาการสำหรับสินค้าอาหารบรรจุเสร็จเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้ออาหารได้อย่างถูกต้องและง่ายขึ้น นอกจากนี้ ข้อเสนอของ USFDA ในครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อลดภาวะโรคเรื้อรังในชาวอเมริกา เช่น โรคหัวใจ ซึ่งผลงานวิจัยล่าสุดชี้ว่ามีความสัมพันธ์กับลักษณะการบริโภค โดยข้อเสนอในการปรับปรุงมีดังนี้
- ปรับปรุงข้อมูลและขยายขนาดคำว่าหนึ่งหน่วยบริโภค (serving size) เพื่อสะท้อนปริมาณที่บริโภคจริงในปัจจุบัน
- ขยายขนาดคำว่า แคลอรี ให้ใหญ่และเข้มมากขึ้น
- ระบุข้อมูลปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในอาหาร (added sugar)
- แสดงข้อมูลสารอาหารประเภท วิตามินดีและโพแทสเซียม เนื่องจากพบว่าชาวอเมริกันได้รับสารอาหารประเภทดังกล่าวโดยเฉลี่ยน้อยเกินไป
- ปรับปรุงข้อมูลสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน (daily values) เช่น โซเดียม เส้นใยอาหารและวิตามินดี
- ระบุข้อมูลชนิดของไขมันต่างๆและยกเลิกการแสดงข้อมูลแคลอรีจากไขมัน
ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลโภชนาการครั้งนี้มีผลบังคับใช้กับอาหารที่บรรจุเสร็จ ยกเว้น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่แปรรูป โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนเป็นเวลา 90 วัน
- ปรับปรุงข้อมูลและขยายขนาดคำว่าหนึ่งหน่วยบริโภค (serving size) เพื่อสะท้อนปริมาณที่บริโภคจริงในปัจจุบัน
- ขยายขนาดคำว่า แคลอรี ให้ใหญ่และเข้มมากขึ้น
- ระบุข้อมูลปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไปในอาหาร (added sugar)
- แสดงข้อมูลสารอาหารประเภท วิตามินดีและโพแทสเซียม เนื่องจากพบว่าชาวอเมริกันได้รับสารอาหารประเภทดังกล่าวโดยเฉลี่ยน้อยเกินไป
- ปรับปรุงข้อมูลสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน (daily values) เช่น โซเดียม เส้นใยอาหารและวิตามินดี
- ระบุข้อมูลชนิดของไขมันต่างๆและยกเลิกการแสดงข้อมูลแคลอรีจากไขมัน
ทั้งนี้ การปรับปรุงข้อมูลโภชนาการครั้งนี้มีผลบังคับใช้กับอาหารที่บรรจุเสร็จ ยกเว้น เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก และไข่แปรรูป โดยจะเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชนเป็นเวลา 90 วัน
ที่มา USFDA (03/03/57)