Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

EU แก้ไขการติดฉลากปลอดกลูเตน


  • Please log in to reply
1 reply to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,589 posts
  • Gender:Male

Posted 11 September 2014 - 09:34 PM

EU แก้ไขการติดฉลากปลอดกลูเตน

 

สหภาพยุโรปแก้ไข Regulation (EU) No 828/2014 โดยได้กำหนดให้ระบุสินค้าอาหารที่ปราศจากกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก ดังนี้

แป้งของพืชสกุล Triticum อาทิ แป้ง durum, แป้งสเปลท์, แป้ง khorasan wheat, ข้าวไรน์ และข้าวบาร์เลย์ เป็นแป้งที่มีกลูเตนอยู่ปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่มีโรคแพ้กลูเตน (celiac disease) จึงควรให้ข้อมูลว่าสินค้านั้นๆ ปราศจากกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก เพื่อให้ผู้บริโภคกลุ่มที่เป็นโรคแพ้กลูเตน ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและไม่สร้างความสับสน

การติดฉลากโดยระบุว่า ปลอดกลูเตน สามารถทำได้ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีการเจือปน ของกลูเตนไม่เกิน 20 mg/kg
 

การติดฉลากโดยระบุว่า กลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก หรือ เหมาะสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตน หรือ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตน สามารถกระทำได้ต่อเมื่อสินค้าอาหารมีส่วนประกอบของแป้งสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต หรือพืชสายพันธุ์ผสมและได้ผ่านกระบวนการปรับลดปริมาณกลูเตนหรือมีส่วนผสมขององค์ประกอบที่มีการปรับลดกลูเตนแล้ว และสินค้าอาหารในขั้นตอนสุดท้ายที่จะจำหน่ายให้ผู้บริโภคจะต้องมีกลูเตนอยู่ไม่เกิน 100 mg/kg

การติดฉลากโดยระบุว่า .ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความอ่อนไหวต่อกลูเตนโดยเฉพาะ หรือ ผ่านการผลิตที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคแพ้กลูเตนโดยเฉพาะ สามารถกระทำได้ต่อเมื่อ
- มีส่วนประกอบหนึ่งหรือหลายรายการที่ได้ผ่านกระบวนการปรับลดปริมาณกลูเตนแล้ว
- มีการใช้ส่วนประกอบอื่นที่ปลอดกลูเตนโดยธรรมชาติทดแทนส่วนประกอบที่มีกลูเตนที่มีอยู่เดิม

ข้าวโอ๊ตที่ผสมอยู่ในอาหารประเภทปลอดกลูเตนหรือมีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมากต้องได้รับ การผลิต เตรียม และ/หรือผ่านกระบวนการด้วยวิธีการที่ต้องหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนแป้งสาลี ข้าวไรน์ ข้าวบาร์เลย์หรือพืชสายพันธุ์ผสม และห้ามมีกลูเตนอยู่เกิน 20 mg/kg

ตาม Commission Directive 2006/141/EC ห้ามใช้ส่วนประกอบที่มีกลูเตนเจือปนในการผลิตนมสำหรับทารกและนมสำหรับเด็กเล็ก ดังนั้น จึงห้ามติดฉลากว่า ปราศจากกลูเตน มีกลูเตนอยู่ในปริมาณที่ต่ำมาก ในสินค้านมสำหรับทารกและนมสำหรับเด็กเล็กด้วย
ทั้งนี้กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2559

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
 


#2 yothin555

yothin555

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 623 posts

Posted 12 September 2014 - 08:30 AM

ขอบคุณครับ




0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users