ผลลงคะแนนเสียงครั้งที่ 1 ของคณะกรรมาธิการรัฐสภายุโรปด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณสุขและความปลอดภัยด้านอาหาร (ENVI) เสียงข้างมากสนับสนุนการออกกฎหมายบังคับให้ฉลากอาหารสำเร็จรูปต้องแสดงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่เป็นส่วนประกอบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ได้ทำไปก่อนหน้านี้ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
ทั้งนี้หลายหน่วยงานได้เสนอความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. องค์กรผู้บริโภคยุโรป (The European Consumer Organisation: BEUC) เสนอว่าหากเป็นมาตรการแบบสมัครใจไม่บังคับ อาจไม่เห็นระดับการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
2. สมาคมการค้า (Food Drink Europe: FDE) กังวลในเรื่องต้นทุนการผลิตอาจสูงขึ้น และกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยอ้างอิงรายงานของคณะกรรมาธิการ เรื่องการออกมาตรการ one-size-fits-all อาจต้องเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และส่งผลกระทบในเชิงปฏิบัติเนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายและต่างกัน รวมถึงอ้างอิงการศึกษาของคณะกรรมาธิการยุโรปที่พบว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาและคุณภาพมากกว่าฉลากสินค้า โดยพบว่าหากเพิ่มราคาสินค้า 10 % อาจทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคลดลงถึง 60-80 %
3. คณะกรรมาธิการยุโรประบุถึงการเปลี่ยนแปลงฉลากอาจทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 15-50 % เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ
4. สมาคมผู้ผลิตของขบเคี้ยวยุโรป (European snack Association: ESA) ไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากขนมขบเคี้ยวมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์และมีความซับซ้อนในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เพียงเล็กน้อยเพื่อให้รสชาติจากส่วนผสมทั้งหมด โดยทางองค์กรผู้บริโภคยุโรปได้ชี้แจงว่าจะให้ความสำคัญในผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักมากกว่า
ทั้งนี้หลายหน่วยงานได้เสนอความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. องค์กรผู้บริโภคยุโรป (The European Consumer Organisation: BEUC) เสนอว่าหากเป็นมาตรการแบบสมัครใจไม่บังคับ อาจไม่เห็นระดับการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน
2. สมาคมการค้า (Food Drink Europe: FDE) กังวลในเรื่องต้นทุนการผลิตอาจสูงขึ้น และกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยอ้างอิงรายงานของคณะกรรมาธิการ เรื่องการออกมาตรการ one-size-fits-all อาจต้องเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และส่งผลกระทบในเชิงปฏิบัติเนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลายและต่างกัน รวมถึงอ้างอิงการศึกษาของคณะกรรมาธิการยุโรปที่พบว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับราคาและคุณภาพมากกว่าฉลากสินค้า โดยพบว่าหากเพิ่มราคาสินค้า 10 % อาจทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคลดลงถึง 60-80 %
3. คณะกรรมาธิการยุโรประบุถึงการเปลี่ยนแปลงฉลากอาจทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น 15-50 % เนื่องจากส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ
4. สมาคมผู้ผลิตของขบเคี้ยวยุโรป (European snack Association: ESA) ไม่เห็นด้วยกับการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากขนมขบเคี้ยวมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์และมีความซับซ้อนในกระบวนการผลิต ซึ่งจะมีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เพียงเล็กน้อยเพื่อให้รสชาติจากส่วนผสมทั้งหมด โดยทางองค์กรผู้บริโภคยุโรปได้ชี้แจงว่าจะให้ความสำคัญในผลิตภัณฑ์ที่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักมากกว่า
ที่มา Food Navigator / ThaiEurope.ne