ได้เรียนกับ Ph.D ที่ภาควิชา Food Technology คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย
เป็นการศึกษาเรื่องการคำนวณอายุผลิตภัณฑ์อาหาร แต่เป็นในเชิงวิชาการซึ่งต้องศึกษา Kinetic
ท่านสมาชิกที่สนใจสามารถนำข้อมูลนี้มาเป็นแนวทางในการคำนวณ หรือเป็นหลักคิดในการศึกษาและ
กำหนดอายุผลิตภัณฑ์ได้ครับ
ทีนี้ในระบบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารนั้น เราสามารถกำหนดอายุอาหารได้ตั้งแต่ขั้นตอนการวิจัยพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเลยโดยประเมินจากคุณภาพของวัตถุดิบหรือองค์ประกอบสัดส่วนต่างๆที่นำมาผสม รวมถึง
เทคโนโลยีที่ใช้ในกระบวนการแปรรูป เทคนิคในการถนอมอาหารด้วย
เมื่อผลิตเป็น Commercial แล้ว ฝ่าย QA หรือฝ่าย RD ควรศึกษาและ Verify อายุการเก็บสินค้าเป้นระยะๆ เพื่อ
ให้มั่นใจว่าข้อความที่เราระบุอายุสินค้าบนฉลากในสินค้า Lot ต่างๆ ที่เราขายออกไปนั้น ยังคงมีอายุการเก็บเป็นไป
ตามที่ระบุนั้นอยู่
โดยทั่วไปจะมีการทำแผน Retain Sample เป็นระยะๆเช่นเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์
แล้วนำมาเก็บใน Condition ที่ปกติเหมือนที่วางบน Shelf ในตลาด และเก็บในสภาวะที่ Worst condition
จากนั้นนำมาวิเคราะห์ที่ Day = 0 และวิเคราะห์ที่วันเวลาผ่านไป 10% shelf life , 25% , 50% , 75% , 100%
และอาจศึกษาที่ 110% shelf life.
เราก็จะมีข้อมูลในการ Verification ได้ครอบคลุมอายุสินค้าที่เราผลิตและส่วนที่เกินไปจากอายุอีก 10%
แล้วนำข้อมูลนี้มาเป็นหลักฐานในการพิสูจน์เรื่อง Food Safety and Quality ต่อไป
นอกจากนี้อาจเป้นข้อมูลในการตอบข้อร้องเรียนได้ด้วย ในกรณีที่มีลูกค้าร้องเรียนเรื่องอายุสินค้า