ขออนุญาตรบกวนสอบถาม เกี่ยวกับการตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายค่ะ หากบริษัทยังไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย เช่น แสงสว่างต่ำกว่ามาตรฐาน, ยังไม่มีการดำเนินการตาม พรบ.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ฯ เราจะนำมาตั้งเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กรได้ไหมค่ะ เช่น
วัตถุประสงค์ ปรับปรุงแสงสว่างภายในโรงงานให้สอดคล้องกับกฎหมาย
เป้าหมาย ความเข้มของแสงสว่างในโรงงานต้องมีค่าตามเกณฑ์มาตราฐานที่กฎหมายกำหนด 100 %
รบกวน ช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
การตั้ง Objective & Target ISO 14001
Started by
ข้าวแช่
, Apr 30 2009 05:31 PM
2 replies to this topic
#1
Posted 30 April 2009 - 05:31 PM
#2
Posted 30 April 2009 - 08:05 PM
ถ้าจะตั้งตามที่คุณข้าวแช่ว่ามาก็ได้นะครับ
แต่จะมีอีกเรื่องนึงครับที่สามารถนำมาพิจารณาได้ก็คือ Significant Environmental Aspect ขององค์กรครับ
ยกตัวอย่างเช่นร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง (ยืมพี่นุกูลมาใช้บ้าง) ต้องทิ้งน้ำก๋วยเตี๋ยวลงท่อระบายน้ำทุกวัน จนค่า oil & grease เกินค่าตามที่กฏหมายกำหนด และแน่นอนว่าน้ำก๋วยเตี๋ยวทิ้งก็เป็น Sig. Aspect ของร้าน
ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนั้นก็ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายคือ จะลดปริมาณน้ำก๋วยเตี๋ยวที่จะต้องทิ้งในแต่ละวัน โดยอาจมี action plan ได้แก่การทำน้ำก๋วยเตี๋ยวให้อร่อยขึ้น เพื่อให้ลูกค้ากินให้หมดจะได้ไม่ต้องทิ้ง (มองที่ Source) เป็นต้น
แต่จะมีอีกเรื่องนึงครับที่สามารถนำมาพิจารณาได้ก็คือ Significant Environmental Aspect ขององค์กรครับ
ยกตัวอย่างเช่นร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่ง (ยืมพี่นุกูลมาใช้บ้าง) ต้องทิ้งน้ำก๋วยเตี๋ยวลงท่อระบายน้ำทุกวัน จนค่า oil & grease เกินค่าตามที่กฏหมายกำหนด และแน่นอนว่าน้ำก๋วยเตี๋ยวทิ้งก็เป็น Sig. Aspect ของร้าน
ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนั้นก็ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายคือ จะลดปริมาณน้ำก๋วยเตี๋ยวที่จะต้องทิ้งในแต่ละวัน โดยอาจมี action plan ได้แก่การทำน้ำก๋วยเตี๋ยวให้อร่อยขึ้น เพื่อให้ลูกค้ากินให้หมดจะได้ไม่ต้องทิ้ง (มองที่ Source) เป็นต้น
ลายเซ็น
#3
Posted 30 April 2009 - 09:58 PM
ด้วยความเคารพนะครับ หากแนวทางที่ จอมโจรฯ จะกล่าวต่อไปนี้ ค่อนข้างจะแตกต่างกับ คำแนะนำของคุณ DOOK
กรอบ หรือแนวทางในการ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม นั้น มีหลักการประมาณนี้
1) ประเด็นนั้น ควรจะเป็น aspect ที่โดยปกติจะต้องเกิดขึ้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง หากเป็น aspect ที่ไม่จำเป็นจะต้องเกิด ไม่ควรนำมากำหนดเป็น Objective and Target แต่ควรจะกำจัดมันออกไปทันที
2) เป็น aspect หลักของการดำเนินธุรกิจ
3) ประเด็นนั้น ควรจะมีนัยสำคัญสูง หรือ เป็นประเด็นที่องค์กร/ผู้ที่มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
4) หากมีกฎหมายเกี่ยวข้องด้วยก็ แหล่มเลย
ตัวอย่าง องค์กรๆ นึง ที่ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าแล้วกันนะครับ
aspect ขององค์กรนี้มีหลายตัวอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะ
1) มลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่น (ต่ำ) ควันดำ (ต่ำ) CO (ต่ำ) CO2 (สูง) จากรถบรรทุก ฯลฯ
2) มลภาวะทางน้ำ เช่น น้ำทิ้งจากอาคาร (ต่ำ) , น้ำเสียจากปนเปื้อนขยะอันตราย (ปานกลาง) ฯลฯ
3) ของเสียจากกระบวนการ เช่น เศษวัสดุจากการ Repackage (ต่ำ) เศษวัสดุจากการ chocking สินค้า (ต่ำ) ฯลฯ
4) พลังงานที่ปลดปล่อยจากกระบวนการ เช่น เสียงรำคาญ จากการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า ด้วย รถยกตู้คอนเทนเนอร์ (ต่ำมาก) แสงจ้าจากการทำงานที่ลานคอนเทนเนอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนในเวลากลางคืน (ต่ำ)
5) การใช้ทรัพยากร เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญเปล่าจากพฤติกรรมการขับรถที่ไม่เหมาะสม (สูงมาก) ฯลฯ
aspect ที่กล่าวมาข้างต้น มีทั้ง aspect ที่จำเป็นต้องเกิด และ aspect ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดเลย เช่น น้ำเสียที่ปนเปื้อนขยะอันตราย และก็มีความสำคัญทั้ง ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก
แต่หากจะต้องเลือกเอามากำหนดเป็น objective & target ในลำดับแรกๆ ก็ย่อมจะต้องเลือก ประเด็นเกี่ยวกับ CO2 น้ำมันที่สูญเปล่า เนื่องจาก เข้าหลักเกณฑ์ทีกำหนดไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ควันดำ CO ก็อาจจะได้รับการพิจารณาก็ได้ แต่สำหรับ น้ำเสียจากปนเปื้อนขยะอันตราย ไม่ควรได้รับการพิจารณาด้วยประการทั้งปวง เนื่องจาก มันเป็น aspect ที่ไม่จำเป็นต้องเกิด แต่ที่มันเกิดก็เพราะระบบการจัดการด้านขยะยังไม่เหมาะสม คือ ภาชนะรองรับขยะอันตราย นั้นไม่อาจป้องกันการชะล้างจากน้ำฝน ได้นั่นเอง
เนื่องจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม จะพิจารณาถึง aspect ที่ปล่อยออกไปภายนอกองค์กร เช่น มลภาวะออกสู่อากาศ มลภาวะทางน้ำ ผลกระทบต่อดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ประเด็นด้านแสงสว่าง ที่ยกตัวอย่างมานั้น จึงไม่ใช่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม แต่เป็นประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แต่หากเป็น แสงจ้าจากการทำงานที่ลานคอนเทนเนอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนในเวลากลางคืน จึงจะเข้าข่ายเป็น ประเด็นด้านส่งแวดล้อมนะครับ
กรอบ หรือแนวทางในการ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม นั้น มีหลักการประมาณนี้
1) ประเด็นนั้น ควรจะเป็น aspect ที่โดยปกติจะต้องเกิดขึ้นโดยไม่อาจหลีกเลี่ยง หากเป็น aspect ที่ไม่จำเป็นจะต้องเกิด ไม่ควรนำมากำหนดเป็น Objective and Target แต่ควรจะกำจัดมันออกไปทันที
2) เป็น aspect หลักของการดำเนินธุรกิจ
3) ประเด็นนั้น ควรจะมีนัยสำคัญสูง หรือ เป็นประเด็นที่องค์กร/ผู้ที่มีส่วนได้เสียให้ความสนใจ
4) หากมีกฎหมายเกี่ยวข้องด้วยก็ แหล่มเลย
ตัวอย่าง องค์กรๆ นึง ที่ดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งสินค้าแล้วกันนะครับ
aspect ขององค์กรนี้มีหลายตัวอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะ
1) มลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่น (ต่ำ) ควันดำ (ต่ำ) CO (ต่ำ) CO2 (สูง) จากรถบรรทุก ฯลฯ
2) มลภาวะทางน้ำ เช่น น้ำทิ้งจากอาคาร (ต่ำ) , น้ำเสียจากปนเปื้อนขยะอันตราย (ปานกลาง) ฯลฯ
3) ของเสียจากกระบวนการ เช่น เศษวัสดุจากการ Repackage (ต่ำ) เศษวัสดุจากการ chocking สินค้า (ต่ำ) ฯลฯ
4) พลังงานที่ปลดปล่อยจากกระบวนการ เช่น เสียงรำคาญ จากการเคลื่อนย้ายตู้สินค้า ด้วย รถยกตู้คอนเทนเนอร์ (ต่ำมาก) แสงจ้าจากการทำงานที่ลานคอนเทนเนอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนในเวลากลางคืน (ต่ำ)
5) การใช้ทรัพยากร เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงที่สูญเปล่าจากพฤติกรรมการขับรถที่ไม่เหมาะสม (สูงมาก) ฯลฯ
aspect ที่กล่าวมาข้างต้น มีทั้ง aspect ที่จำเป็นต้องเกิด และ aspect ที่ไม่จำเป็นต้องเกิดเลย เช่น น้ำเสียที่ปนเปื้อนขยะอันตราย และก็มีความสำคัญทั้ง ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก
แต่หากจะต้องเลือกเอามากำหนดเป็น objective & target ในลำดับแรกๆ ก็ย่อมจะต้องเลือก ประเด็นเกี่ยวกับ CO2 น้ำมันที่สูญเปล่า เนื่องจาก เข้าหลักเกณฑ์ทีกำหนดไว้ข้างต้น
อย่างไรก็ตาม ควันดำ CO ก็อาจจะได้รับการพิจารณาก็ได้ แต่สำหรับ น้ำเสียจากปนเปื้อนขยะอันตราย ไม่ควรได้รับการพิจารณาด้วยประการทั้งปวง เนื่องจาก มันเป็น aspect ที่ไม่จำเป็นต้องเกิด แต่ที่มันเกิดก็เพราะระบบการจัดการด้านขยะยังไม่เหมาะสม คือ ภาชนะรองรับขยะอันตราย นั้นไม่อาจป้องกันการชะล้างจากน้ำฝน ได้นั่นเอง
เนื่องจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม จะพิจารณาถึง aspect ที่ปล่อยออกไปภายนอกองค์กร เช่น มลภาวะออกสู่อากาศ มลภาวะทางน้ำ ผลกระทบต่อดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน ประเด็นด้านแสงสว่าง ที่ยกตัวอย่างมานั้น จึงไม่ใช่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม แต่เป็นประเด็นด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย แต่หากเป็น แสงจ้าจากการทำงานที่ลานคอนเทนเนอร์ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนในเวลากลางคืน จึงจะเข้าข่ายเป็น ประเด็นด้านส่งแวดล้อมนะครับ
"
0 user(s) are reading this topic
0 members, 0 guests, 0 anonymous users