Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

FDA ประกาศระเบียบการป้องกันการปลอมปนอาหารโดยจงใจ (intentional adulteration)


  • Please log in to reply
No replies to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,575 posts
  • Gender:Male

Posted 04 June 2016 - 01:49 PM

FDA ประกาศระเบียบการป้องกันการปลอมปนอาหารโดยจงใจ (intentional adulteration)

 

                เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (USFDA) ได้ประกาศระเบียบฉบับสมบูรณ์ว่าด้วยการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจ (Final Rule for Mitigation Strategies to Protect Food Against Intentional Adulteration) ซึ่งเป็นกฎระเบียบย่อยภายใต้กฎหมายการปรับปรุงความปลอดภัยอาหารให้ทันสมัย (FSMA) ที่มีจุดประสงค์สำคัญในการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ รวมถึงการก่อการร้ายทางอาหาร ทำให้ปัจจุบัน USFDA ประกาศกฏระเบียบฉบับสมบูรณ์ของระเบียบย่อยด้านความปลอดภัยอาหารครบทั้ง 7 ฉบับแล้ว
                ระเบียบดังกล่าวจะมีผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร (Food facilities) ทั้งในสหรัฐฯและต่างประเทศ ซึ่งจะต้องประเมินและจัดทำกลยุทธ์รับมือความเสี่ยงต่อช่องโหว่การปนเปื้อน  โดยระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจสอบ ป้องกัน แก้ไขปัญหา เพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิภาพของการปฏิบัติ รวมถึงจัดสรรให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับภารกิจและการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมรวมทั้งมีการเก็บข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
                ทั้งนี้ระเบียบการป้องกันการปลอมปนโดยจงใจ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของอาหารที่จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสอดรับกับการบังคับใช้ระเบียบอื่นๆของกฎหมาย FSMA  ในการควบคุมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยอาหาร โดยระเบียบดังกล่าวซึ่งถูกเสนอตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555  USFDA ได้พิจารณาข้อคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกว่า 200 รายการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นประโยชน์กับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
                ผู้ผลิตอาหารจะต้องเปลี่ยนผ่านการปฎิบัติตามระเบียบดังกล่าว ภายใน 3-5 ปี หลังจากมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ โดยสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีบุคลากรน้อยกว่า 500 ราย จะต้องปฎิบัติตามกฎดังกล่าว ภายใน 4 ปี ในขณะที่มีข้อยกเว้นการบังคับใช้สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีรายได้เฉลี่ยย้อนหลัง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี ยกเว้นสถานประกอบการที่ต้องผ่านการทบทวนเอกสารเพื่อยืนยันสถานะการเป็น Qualified Exemption เป็นพิเศษ จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ภายใน 5 ปี
ที่มา Meatpoultry.com สรุปโดย
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (3/06/59)





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users