Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

EU ออกข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนสารนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์


  • Please log in to reply
No replies to this topic

#1 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,575 posts
  • Gender:Male

Posted 13 August 2016 - 09:44 AM

EU ออกข้อแนะนำว่าด้วยการควบคุมการปนเปื้อนสารนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์

 

               คณะกรรมาธิการยุโรปได้ตีพิมพ์ประกาศ วันที่ 8  กรกฎาคม 2559 ในการลดค่าปนเปื้อนของนิกเกิลในอาหารสัตว์และอาหารมนุษย์  2 ฉบับ
                 1. การควบคุมการปนเปื้อนของสารนิกเกิล (Nickel) ในอาหารมนุษย์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้
ผู้ประกอบการสุ่มตรวจอาหารเพื่อหาสารนิกเกิลตกค้างและส่งมอบผลตรวจภายในวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็นเวลา 3 ปี (ปี 2559-2561) ในสินค้าอาหารดังต่อไปนี้ (ธัญพืช ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธัญพืช นมผงเด็กทารก นมผงเด็กเล็ก อาหารแปรรูปจากธัญพืชสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับเด็กทารก อาหารที่ใช้ในทางการแพทย์สำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผัก ถั่ว และเมล็ดพืชน้ำมัน นม และผลิตภัณฑ์นม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำตาลและลูกอม (รวมถึงโกโก้และชอคโกแลต) ผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผัก (รวมถึงเห็ด) ใบชาแห้ง พืชอื่นๆ ที่มีการทำให้แห้งเพื่อใช้ในการทำสมุนไพร หอยสองฝา
                2. การควบคุมการปนเปื้อนของสารนิกเกิล (Nickel) ในอาหารสัตว์ของสหภาพยุโรป โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการสุ่มตรวจอาหารสัตว์เพื่อหาสารนิกเกิลตกค้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดค่า MRL ในอาหารสัตว์ กำหนดมาตรการอื่นๆ รวมถึงควบคุมความเสี่ยงในการปกป้องสุขภาพผู้บริโภคและสัตว์ในอนาคต ทั้งนี้การสุ่มตรวจตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและส่งมอบการสุ่มตรวจหานิกเกิลในอาหารสัตว์อย่างช้า ภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2560
                อนึ่ง นิกเกิลเป็นโลหะหนักซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่สลายตัวตามกระบวนการธรรมชาติและสามารถสะสมอยู่ในอากาศ ดิน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ รวมถึงสะสมในสิ่งมีชีวิตได้อีกด้วย
                นิกเกิล จัดอยู่ในกลุ่มโลหะชนิดที่มีความสำคัญทางพิษวิทยา (Toxicologically Importance) ที่จะส่งผลอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์โดยตรงซึ่งการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของสารดังกล่าวอาจทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารระคายเคืองและอักเสบ และหากรับประทานติดต่อกันเวลานานจะทำให้เกิดการสะสมในอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบอวัยวะได้
 
ที่มา สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป สรุปโดยมกอช. 11/08/59)





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users