คิดว่าคุณ La Vie En Rose คงคุ่นเคยกับ Product audit ดีอยู่แล้ว แต่จะขอเพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องนี้หน่อยนะครับ
วัตถุประสงค์ของ Product audit ก็เพื่อทวนสอบความสอดคล้องกับข้อกำหนดในระเบียบปฏิบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ โดยจะตรวจติดตามหัวข้อที่จำเป็นต่อผลิตภัณฑ์รุ่นนั้นๆ ดังนี้
1. รายการที่ระบุใน Delivery Specification
1) ขนาดทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ (Product all dimension)
2) คุณลักษณะทั้งหมดที่จำเป็นของผลิตภัณ์ (เช่น แรงดึง ความแข็ง คุณลักษณะด้านไฟฟ้า คุณลักษณะด้านคลื่นความถี่ ฯลฯ)
2. รายการที่ระบุใน Manufacturing Instruction และ Packing Instruction
3) การบรรจุหีบห่อ
4) ตรวจติดตามเกี่ยวกับ Label ป้ายบ่งชี้ด้วย
ตามข้อกำหนด 8.2.2.3 Product audit และ 8.2.2.4 แผนการตรวจติดตามภายใน มีระบุไว้ครับว่าต้องครอบคลุมทั้ง 2 กะ แต่! ข้อกำหนดไม่ได้กำหนดระเอียดครับว่าต้องทำ part เดียวกัน เพียงแต่ในทางปฏิบัติหากตรวจสอบ part เดียวกันของทั้งสองกะก็สามารถเปรียบเทียบให้เห็นความสอดคล้องภายใต้มาตรฐานเดียวกันได้ชัดเจนขึ้น
ในกรณีของคุณ La Vie En Rose ผมคิดว่าสามารถกำหนดเป็นเงื่อนไขเฉพาะได้ว่าทั้งสองกะอาจทำ product audit โดยใช้คนละ part กันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของผู้ตรวจติดตามหรือ...ก็แล้วแต่ว่าจะให้อำนาจใครตัดสินใจครับ
1.อธิบาย auditor ให้เข้าใจสภาพองค์กร (ผมคิดว่าคุณคงอธิบายแล้ว)
2.ทำรายงานส่ง correction อาจแก้ไขโดยทำ Product audit ของอีกกะเพิ่ม
3.Corrective action อาจไปเพิ่มข้อความเงื่อนไขด้านบนลงใน Procedure แล้วดำเนินการตามนั้นครับ
**แต่ถ้า auditor ไม่พยายามเข้าใจโทรหาฝ่ายบริการลูกค้า Complain auditor ท่านนั้นได้เลยครับจนปัญญาที่จะอธิบาย
หวังว่าคงจะพอช่วยได้บ้างนะครับ ^^