หน่วยงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority EFSA) เผยผลการประเมินความเสี่ยงเรื่องของ น้ำมันปาล์ม และน้ำมันพืช สำหรับปรุงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีผลิตที่อุณหภูมิสูงว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะไขมัน Glycidyl ในน้ำมันปาล์ม ที่สามารถกลายสภาพเป็นสารก่อมะเร็งได้
จากการศึกษาของ EFSA พบว่า การนำน้ำมันปาล์ม ไปผ่านกรรมวิธีการผลิต ที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส อาจก่อให้เกิดสารกลุ่ม Glycidyl fatty acid esters (GE), 3-monochloropropanediol (3-MCPD), และ 2-monochloropropanediol (2-MCPD) และเอสเตอร์กรดไขมันของ 3-MCPDและ 2-MCPD ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อมะเร็งในผู้บริโภค และมีความเป็นพิษหลังการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคอายุ 3 ปีขึ้นไปมีโอกาสที่จะได้รับสารดังกล่าวทั้งสามจากเนยมาการิน ขนมอบ และเค้ก
โดยทาง EFSA เตรียมยื่นเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป พร้อมทั้งได้แนะนำให้ปฏิบัติตามค่า Total Daily intake (TDI ปริมาณการได้รับสารจากการบริโภคต่อวัน ) ที่แนะนำให้ได้รับสารกลุ่ม 3-MCPD ได้ไม่เกิน 0.8 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ทั้งนี้ในส่วนของ 2-MCPD ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล TDI
จากการศึกษาของ EFSA พบว่า การนำน้ำมันปาล์ม ไปผ่านกรรมวิธีการผลิต ที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส อาจก่อให้เกิดสารกลุ่ม Glycidyl fatty acid esters (GE), 3-monochloropropanediol (3-MCPD), และ 2-monochloropropanediol (2-MCPD) และเอสเตอร์กรดไขมันของ 3-MCPDและ 2-MCPD ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อมะเร็งในผู้บริโภค และมีความเป็นพิษหลังการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคอายุ 3 ปีขึ้นไปมีโอกาสที่จะได้รับสารดังกล่าวทั้งสามจากเนยมาการิน ขนมอบ และเค้ก
โดยทาง EFSA เตรียมยื่นเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรป พร้อมทั้งได้แนะนำให้ปฏิบัติตามค่า Total Daily intake (TDI ปริมาณการได้รับสารจากการบริโภคต่อวัน ) ที่แนะนำให้ได้รับสารกลุ่ม 3-MCPD ได้ไม่เกิน 0.8 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวัน ทั้งนี้ในส่วนของ 2-MCPD ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูล TDI
ที่มา EFSA สรุปโดย มกอช. (16/01/60)