กระทรวงเกษตร อาหารและกิจการชนบท รายงานอัตราพึ่งพาตนเองภายในประเทศ (Self-sufficiency rate)หรือมีการผลิตที่ตอบสนองความต้องการภายในประเทศอย่างเพียงพอในสินค้าอาหารของเกาหลีใต้ ในปี 2559 พบว่าลดลงจากปี 2553 จากร้อยละ 55.6 เหลือเพียงร้อยละ 48.4 โดยเฉพาะอัตราพึ่งพาตนภายในประเทศของเนื้อโคลดลงต่ำสุดในรอบ 13 ปี (ต่ำกว่าร้อยละ 40)
ผลประกาศอัตราพึ่งพาตนเองภายในประเทศของสินค้าอาหารปี 2559 ของเกาหลีใต้ พบว่า มีอัตราพึ่งพาตนเองได้ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีรสนิยมบริโภคอาหารต่างชาติ ที่มีรสชาติและการพัฒนารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หลากหลาย โดยรายสินค้าที่มีข้อสังเกตว่าอัตราพึ่งพาตนเองภายในประเทศลดลง/เหลือต่ำมาก ได้แก่ ธัญพืชที่ลดลงเหลือร้อยละ 48.4 เนื้อวัวพื้นเมืองที่มีสัดส่วนผลผลิตภายในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 45.2 ในขณะที่เนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียและอเมริกาซึ่งมียอดขายถึงร้อยละ 54.8 เนื่องจากคนเกาหลีใต้รุ่นใหม่นิยมบริโภคเนื้อนำเข้า และอาหารทะเลซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากจีนกว่าร้อยละ 50 และวางจำหน่ายใน 2 ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ โดยเฉพาะหมึกที่นำเข้ากว่าร้อยละ 90
ทั้งนี้ พบว่าหลังจากเกาหลีใต้การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการรับสินบน (Anti-graft law) ตั้งแต่เดือน กันยายน 2559 กลับสร้างความยุ่งยากให้แก่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ในประเทศยิ่งขึ้น
ผลประกาศอัตราพึ่งพาตนเองภายในประเทศของสินค้าอาหารปี 2559 ของเกาหลีใต้ พบว่า มีอัตราพึ่งพาตนเองได้ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคมีรสนิยมบริโภคอาหารต่างชาติ ที่มีรสชาติและการพัฒนารูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์หลากหลาย โดยรายสินค้าที่มีข้อสังเกตว่าอัตราพึ่งพาตนเองภายในประเทศลดลง/เหลือต่ำมาก ได้แก่ ธัญพืชที่ลดลงเหลือร้อยละ 48.4 เนื้อวัวพื้นเมืองที่มีสัดส่วนผลผลิตภายในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 45.2 ในขณะที่เนื้อนำเข้าจากออสเตรเลียและอเมริกาซึ่งมียอดขายถึงร้อยละ 54.8 เนื่องจากคนเกาหลีใต้รุ่นใหม่นิยมบริโภคเนื้อนำเข้า และอาหารทะเลซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากจีนกว่าร้อยละ 50 และวางจำหน่ายใน 2 ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ โดยเฉพาะหมึกที่นำเข้ากว่าร้อยละ 90
ทั้งนี้ พบว่าหลังจากเกาหลีใต้การบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการรับสินบน (Anti-graft law) ตั้งแต่เดือน กันยายน 2559 กลับสร้างความยุ่งยากให้แก่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ในประเทศยิ่งขึ้น
ที่มา thefishsite.com สรุปโดย มกอช. (16/02/60)