ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
ในเวอร์ชั่น2015ของ ISO9001และ 14001นั้นต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง
#21
Posted 01 September 2017 - 08:00 PM
#22
Posted 02 September 2017 - 07:45 AM
เข้าใจความคิดของคุณ nongnan2229 ครับ บางครั้ง/บางช่วงเวลาต้องทำงานแข่งกับเวลา
ดังนั้นจึงอยากได้แนวทางที่ถูกต้องและชัดเจน เพราะว่าถ้าทำระบบผิดแนวทางที่วางไว้ก็จะเสียกำลังใจทั้งทีมงาน ครับ
ผมจึงอธิบายให้ค่อนข้างชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางในการเขียนเอกสาร
จะได้ไม่เสียเวลา ช่วงเวลาเร่งด่วน
ยินดี ตอบคำถามให้ ครับ
#23
Posted 02 September 2017 - 08:58 AM
ช่ายค่ะ ขอบคุณผู้รู้ที่มาตอบให้ค่ะ เราจะได้ไปถูกทาง อย่างน้อยก้อพอได้รู้แนวทางว่าจะไปแนวไหนต่อ ซึ่งเอาไปต่อยอดได้อีก ดิวเดทอีกเดือนเดียวเท่านั้นค่ะ สู้ๆ
#24
Posted 02 September 2017 - 10:55 AM
สิ่งที่ต้องทำก่อนการรับรอง สำหรับ ISO14001:2015 มีดังนี้
- ความพร้อมด้านเอกสาร
- วิเคราะห์ประเด็นภายใน ภายนอกของบริบท ต่อสิ่งแวดล้อม
- วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การประเมิน Aspects ด้านต่างๆ รวมทั้ง Life Cycle
- สิ่งที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
- ประเมินความเสี่ยง (ตามข้อ 4.1, 4.2, 6.1.2, 6.1.3, 8.2)
- ทำการตรวจติดตามสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร (IEA)
- ทบทวนฝ่ายบริหารด้านสิ่งแวดล้อม (EMRC)
- ประเมินความพร้อมทั้งหมด
คงประมาณนี้ สงสัยอะไรโพสต์ถามได้ ครับ
#25
Posted 04 September 2017 - 11:10 AM
วันที่ 8 นี้จะเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องและกระจายงานค่ะ
#26
Posted 04 September 2017 - 12:46 PM
ถ้าเป็นระบบ ISO14001:2015 ใช้เวลาอีกสัปดาห์
ก็สามารถตรวจติดตามสิ่งแวดล้อมภายใน (IEA) ได้ ครับ
แล้วอีกสัปดาห์ก็ประชุมทบทวนฝ่ายบริหารด้านสิ่งแวดล้อม
สงสัย ติดขัดอะไร สอบถามได้ ครับ
สู้ๆๆ
#27
Posted 05 September 2017 - 11:50 AM
ช่วยแชร์ข้อมูลในการประเมิน Life cycle บ้างได้ไหมค่ะ ไม่เข้าใจตรง Process นี้เลยค่ะ เราจะต้องประเมินอย่างไรค่ะ รบกวนผู้มีความรู้ช่วยแบ่งปันกันหน่อย
#28
Posted 05 September 2017 - 03:34 PM
แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับ Life Cycle ให้ ครับ
- วงจรวัฎจักรชีวิต (Life Cycle) เป็นเรื่องใหม่ที่กำหนดเพิ่มเติม
ในการประเมินลักษณปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Aspect) ตามข้อกำหนด 6.1.2
ขั้นตอนการประเมิน Life Cycle มีดังนี้ ครับ
1.การได้มาซึ่งวัตถุดิบ
2. การออกแบบ
3. การผลิต/แบ่งบรรจุ
4. การขนส่ง
5. การใช้งาน (ของสินค้า)
6. การบำบัด
7. การทำลาย/ย่อยสลาย (สินค้า)
ในการประเมิน Life Cycle ก็จะประเมินคล้าย Aspect นั่นเอง ครับ
แต่เราแยกเอกสารออกมาเป็นชุดของ Life Cycle ทั้งหมด ส่วนของ Aspect
ทั่วไป ก็จะเป็นกิจกรรมต่างๆของแต่ละหน่วยงาน/ฝ่าย ที่ต้องประเมินที่มี
ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ครับ
ในส่วนของ Life Cycle ถ้าขั้นตอนไหน? องค์กรไม่มีการปฏิบัติก็ไม่ต้องเขียน ครับ
เช่น การออกแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีขั้นตอนนี้ ครับ
- สำหรับขั้นตอนแรก การได้มาซึ่งวัตถุดิบ ถ้าเขียนให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ
ในการผลิตวัตถุดิบ (เช่น กรดกำมะถัน) มีกระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
INPUT ----> กำมะถัน, ไฟฟ้า, ความร้อน, เครื่องจักร, ภาชนะบรรจุกำมะถัน, กรดกำมะถัน 96% (ดูดความชื้นในอากาศ), ....
OUTPUT ----> ขยะจากกำมะถัน, ไฟฟ้าช็อค, ฝุ่น, ความร้อน, กลินก๊าซเสีย, ชยะจากภาชนะบรรจุ, น้ำเสีย, ....
หลังจากน้นเราเป็นประเมิน Aspects ....สภาวะ, โอกาสที่จะเกิด, ความรุนแรง, ความเสี่ยง, โอกาส (+), นัยสำคัญ, กฎหมาย
หรือข้อบังคับ, การควบคุม (Operatlon Control)
- สำหรับการควบคุม (Operatlon Control) ทั้งหมด (INPUT&OUTPUT) ให้กำหนดว่า ...ควบคุมการคัดเลือกประเมินผู้ขาย โดยเราต้องมีการกำหนดหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เข้าไปในแบบฟอร์มการคัดเลือกผู้ขาย ครับ
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users