Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

รบกวนสอบถามเกี่ยวกับ 0.04% bromothymol blue

ISO 17025

  • Please log in to reply
8 replies to this topic

#1 Jirapak

Jirapak

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts
  • Gender:Female

Posted 26 January 2018 - 10:03 PM

รบกวนสอบถามเกี่ยวกับการเตรียม 0.04% bromothymol blue ในการทดสอบความเป็นกรด-ด่างของเครื่องแก้วค่ะ
1.bromthymol blue กับ bromothymol blue เหมือนกันมั้ยค่ะ
2.มีเทคนิคการเตรียมยังไงที่ไม้ให้สีเปลี่ยน =》 คือดิฉันเตรียมได้pH=7.26 แต่ก็ไม่ได้สีเขียวแกมน้ำเงินนะคะ จะออกน้ำเงินมากกว่า แต่พอทิ้งไว้ข้ามคืนสีได้กลับกลายเป็นสีเขียว pHก็เปลี่ยนเป็น7.96ค่ะ
3.วิธีการเตรียมของดิฉันคือ=》0.01N NaOH dilute มาจาก1N NaOH ทิ้งไว้ข้ามคืนจากนั้น ชั่งbromothymol blue 0.2 g ละลายใน 0.01N NaOH 32 ml แล้วปรับปริมาตรเป็น500ml =》ไม่ทราบว่าวิธีการของดิฉันถูกมั้ยค่ะ
4.ตัวที่ใช้ปรับpHของbromothymol blue ควรจะเป็น1N HCl/1N NaOH หรือ 0.01N HCl/0.01N NaOH คะ


รบกวนช่วยตอบด้วยนะค่ะ
รบกวนผู้รู้/ผู้เชี่ยวชาญ ทุกท่าน แนะนำด้วยนะค่ะ
พอดีเจอCARจากAuditกรมประมงค่ะ พยายามทดลองหลายๆแบบแล้ว สียังเพี้ยนอยู่
รบกวนด้วยนะค่ะ

ขอบคุณทุกท่าน ทุกคนนะค่ะ

#2 CPU

CPU

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 359 posts

Posted 27 January 2018 - 01:32 PM

การเตรียม 0.04% bromothymol blue ด้วยวิธีดังกล่าว เรียกว่า Aqueous Version

สำหรับคำถาม.....ครับ

 

1.bromthymol blue กับ bromothymol blue เหมือนกันมั้ยค่ะ

- เหมือนกัน เป็นคำพ้องกัน ครับ

 

2.มีเทคนิคการเตรียมยังไงที่ไม้ให้สีเปลี่ยน =》 คือดิฉันเตรียมได้pH=7.26 แต่ก็ไม่ได้สีเขียวแกมน้ำเงินนะคะ จะออกน้ำเงินมากกว่า แต่พอทิ้งไว้ข้ามคืนสีได้กลับกลายเป็นสีเขียว pHก็เปลี่ยนเป็น7.96ค่ะ

- ก่อนอื่น ลองตรวจสอบหาสาเหตุที่ทำให้สีของสารละลายเปลี่ยนไป (ปกติเป็นสีน้ำเงิน)

สีของ Bromothymol blue จะเปลี่ยนสีน้ำเงินเมื่อ pH ของสารละลายเป็นด่าง และเป็นสีเหลือง

เมื่อสารละลายเป็นกรด สาเหตุมีดังนี้

2.1 น้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการเตรียม ต้องเป็นน้ำกลั่น (Distilled Water) ได้จากการทำให้น้ำระเหย แล้วจึงทำให้ไอน้ำ

เหล่านี้ควบแน่นเป็นหยดน้ำ เนื่องจากในน้ำมี CO2 ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะได้ กรดคาร์บอริก

ดังนั้น เราจึงต้องไล่ CO2 ออกจากน้ำก่อน หรือใช้น้ำกลั่นแบบ Carbon Dioxide free distilled water

โดยต้มไล่ CO2 ประมาณ 15 นาที ทำให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง พร้อมปิดฝาด้วยกระจกแก้ว ( Cover Glass)

ขณะต้มและทำให้เย็น

2.2 ตรวจสอบเครื่องวัด pH เนื่องจากถ้าตั้งทิ้งไว้ สารละลายเป็นสีเขียวแสดงว่า pH ประมาณ 7 แต่เครื่องวัด

อ่านได้ 7.96 ตามรูป

283px-bromothymol_blue_colors.jpg

Bromothymol_blue_colors_at_different_pH.png

 

2.3 ขวดเก็บสารละลายไม่ควรมีช่องว่างของอากาศมากเกินไป (มี CO2)

 

 

3.วิธีการเตรียมของดิฉันคือ=》0.01N NaOH dilute มาจาก1N NaOH ทิ้งไว้ข้ามคืนจากนั้น ชั่งbromothymol blue 0.2 g ละลายใน 0.01N NaOH 32 ml แล้วปรับปริมาตรเป็น500ml =》ไม่ทราบว่าวิธีการของดิฉันถูกมั้ยค่ะ

- เป็นวิธีเตรียมแบบ Aqueous Version ถูกต้อง ครับ แต่ต้องระวังเรื่อง น้ำกลั่นที่ใช้ในการเจือจาง ครับ

 

4.ตัวที่ใช้ปรับpHของbromothymol blue ควรจะเป็น1N HCl/1N NaOH หรือ 0.01N HCl/0.01N NaOH คะ

- สุดท้ายถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ คงต้องใช้วิธีปรับค่า pH ของสารละลาย  0.04% bromothymol blue ที่เตรียมขึ้น

โดยแนะนำให้ใช้ 0.01 N.NaOH เนื่องจากจะไม่ทำให้คำ pH เปลี่ยนแปลงไปมากนักในขณะปรับ pH ....ครับ

 

ลองนำไปตรวจสอบใช้ดู แล้วช่วยแจ้งผลการทดสอบหาสาเหตุด้วย (ไม่น่ายาก) .... ครับ

วิธีเตรียม  0.04% bromothymol blue 

Attached File  Prepare Bromthymol Blue Indicator.pdf   8.81KB   1589 downloads

 



#3 krissarakorn

krissarakorn

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 255 posts
  • Gender:Male
  • Location:Chonburi

Posted 27 January 2018 - 01:39 PM

ลองพิมพ์ ชื่อสิ่งที่ต้องการค้นหา ตามด้วย .pdf ใน อากู๋ ดูอาจช่วยได้นะครับ เช่น bromothymol blue preparation.pdf มีทั้งเอกสาร และวีดีโอนะครับ 


Krissarakorn..


#4 Jirapak

Jirapak

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts
  • Gender:Female

Posted 27 January 2018 - 07:27 PM

ขอบคุณทั้งสองท่านมากๆเลยนะค่ะ
แนะนำรายละเอียด ชัดเจน มากค่ะ
ดิฉันจะไปทดลองทำตาม แล้วจะมารายงานผลนะคะ^_^

ขอบพระคุณมากๆจริงๆค่ะ

#5 CPU

CPU

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 359 posts

Posted 27 January 2018 - 07:48 PM

ผมว่าสาเหตุน่าจะมาจากน้ำบริสุทธิ์ที่ใช้ในการเตรียมสารละลาย

ซึ่งควรจะเป็นน้ำกลั่น (Distilled Water) ....... ครับ



#6 Jirapak

Jirapak

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts
  • Gender:Female

Posted 27 January 2018 - 08:38 PM

1.ควรจะต้องใช้น้ำกลั่น (Distilled Water) มาระเหยเอาCO2ออกให้เป็นน้ำบริสุทธิ์มาใช้เท่านั้นใช่มั้ยค่ะ

2.มีขอสงสัยเพิ่มเติมค่ะ ===》》
2.1ถ้าเราใช้น้ำDI Water จะส่งผลอย่างไรค่ะ
2.2น้ำDI Water มี CO2 มั้ยค่ะ
=》 ถ้ามีแล้วนำน้ำมาระเหยเอาCO2ออก น้ำDI Water
จะให้ผลการทดสอบเหมือนหรือเพี้ยนไป เมื่อเทียบกับการเตรียมจาก
น้ำกลั่น(Distilled Water)


ขออภัยนะคะ
ขอรบกวนอีกครั้งค่ะ
ขอบคุณค่ะ

#7 CPU

CPU

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 359 posts

Posted 27 January 2018 - 09:26 PM

-ปกติแล้ว ในการเตรียมสารละลายต่างๆ ที่ใช้ในการไตเตรท/งานทดสอบ

ที่มีค่า pH เข้ามาเกี่ยวข้องจะใช้น้ำกลั่น (Distilled Water) ซึ่งเตรียมโดยนำน้ำกลั่น

ที่เราซื้อมาต้มไล่ CO2 อีกที่ก็พอ ....ครับ

 

- น้ำ DI มีราคาสูงเหมาะสำหรับงานวิเคราะห์พวกโลหะหนัก ในน้ำ DI ก็มี CO2 เช่นกัน

(แต่ถ้ามีน้ำ DI ก็ใช้ได้ แต่ต้องนำมาต้มไล่ CO2 ออกก่อน)

- ผมว่าใช้น้ำกลั่น (Distilled Water) ก็พอครับ สำหรับการตรวจสอบการตกค้างของกรดหรือด่าง หลังการ

ทำความสะอาดเครื่องแก้ว....ครับ

- ลองทดสอบดูก่อน ได้ผลอย่างไร? ค่อยมาวิเคราะห์หาสาเหตุอีกที ครับ

 

น้ำที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ......!

Attached File  น้ำที่ใช้ในห้อง Lab.pdf   204.81KB   1015 downloads

 



#8 Jirapak

Jirapak

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 14 posts
  • Gender:Female

Posted 27 January 2018 - 10:02 PM

ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำนะค่ะ
ขอบคุณจริงๆค่ะ

#9 CPU

CPU

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 359 posts

Posted 29 January 2018 - 08:32 PM

ยินดีให้ความช่วยเหลือ....ครับ







0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users