Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ข้อกำหนดคร่าว 22000


  • This topic is locked This topic is locked
9 replies to this topic

#1 ลูกข้าวเหนียว

ลูกข้าวเหนียว

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 06 April 2009 - 04:01 PM

มีครัย ทราบ ข้อ กำหนด คร่าวๆ ของ 22000 บ้างค่ะ
รบกวน ผู้รู้ช่ายตอบด้วยค่ะ


#2 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 06 April 2009 - 04:10 PM

QUOTE(เริ่มทำ ISO 22000 @ Apr 6 2009, 04:01 PM) <{POST_SNAPBACK}>
มีครัย ทราบ ข้อ กำหนด คร่าวๆ ของ 22000 บ้างค่ะ
รบกวน ผู้รู้ช่ายตอบด้วยค่ะ



เห็นกระทู้ก่อนหน้านี้คุณ tik ได้มานำข้อกำหนดของระบบนี้ มาวางไว้แล้วครับ
ขอ copied มาวางไว้อีกครั้งแล้วกันนะ

Attached Files



#3 tik815

tik815

    เหนือฟ้า.....ยังมีฟ้า

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,487 posts
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok
  • Interests:-

Posted 06 April 2009 - 04:15 PM

อืมหาก่อนดีไหมค่ะ ค่อยโพสง่ะ
ติ๊กก็วางให้ตั้งแต่เช้าแล้วนะ เริ่มงง แล้วค่ะ
ตั้งซะ 3 กระทู้ ข้อมูลมันจะกระจายนะคะ
เวลาค้นหามันจะยากค่ะ
ที่สำคัญเวลาเอา File มาวางเนี่ย
เราก็ลดพื้นที่ของเราเองลงด้วยค่ะ

ถ้ามีอยู่ติ๊กก็ยินดีช่วยเต็มที่นะ
เห็นพี่อนุสรณ์ก็คุยด้วยตลอดเลยติ๊กตามอ่านตลอดค่ะ
ขอบคุณพี่อนุสรณ์มากค่ะ


#4 ลูกข้าวเหนียว

ลูกข้าวเหนียว

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 06 April 2009 - 04:22 PM

QUOTE(Food Safety @ Apr 6 2009, 04:10 PM) <{POST_SNAPBACK}>
เห็นกระทู้ก่อนหน้านี้คุณ tik ได้มานำข้อกำหนดของระบบนี้ มาวางไว้แล้วครับ
ขอ copied มาวางไว้อีกครั้งแล้วกันนะ





ขอบคุณ ทุกคนนะค่ะ
ที่ ช่วย Reply
laugh.gif

#5 tik815

tik815

    เหนือฟ้า.....ยังมีฟ้า

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,487 posts
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok
  • Interests:-

Posted 06 April 2009 - 04:40 PM

ข้อกำหนดของ ISO 22000

มาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร มีบทบาทในด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ในอุตสาหกรรมโลกที่ผลิตจำนวนมาก และมีกระบวนการซับซ้อนให้ปลอดภัยมีความสำคัญมากขึ้น ผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น และคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ผลิตจะมีการกระทำที่ป้องกันสุขภาพ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการประกันความปลอดภัยใน Supply Chain มาตรฐาน นี้ปัจจุบันประกอบด้วยข้อกำหนดจำนวน 8 ข้อ

1. ขอบข่าย (Scope) ซึ่งกล่าวถึงการนำมาตรฐานไปใช้ในองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับห่วงโซ่อาหารเพื่อทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และกล่าวถึงคุณสมบัติขององค์กรที่เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานนี้

2. เอกสารอ้างอิง (Normative reference) ในมาตรฐานฉบับนี้ เอกสารอ้างอิงหลักได้แก่ ISO 9000 2000 Quality management system-Fundamental and vocabulary ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารที่ TC 34 ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำร่างมาตรฐานฉบับนี้

3. บทนิยาม (Terms and definitions) ประกอบด้วยคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับ Food safety food chain และบทนิยมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ใช้บทนิยมเดียวกับ ISO 9000:2000 ด้วย

4. ข้อกำหนดระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety management system) ประกอบด้วยข้อกำหนดทั่วไปที่กำหนดให้องค์กรต้องระบุขอบข่ายของระบบการจัดการว่าครอบค
ลุมผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ตลอดจนกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังกำหนดการจัดทำเอกสาร การควบคุมเอกสารและบันทึกเพื่อแสดงให้เห็นว่า องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

5. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนา การนำระบบการจัดการไปใช้ และการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่ำเนื่อง ซึ่งข้อกำหนดนี้จะรวมถึงรายละเอียดด้านการกำหนดนโยบายที่มีต่อระบบ การวางแผน การกำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ การแต่งตั้งหัวหน้าทีมดูแลการจัดทำระบบ การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร การตอบสนองของผู้บริหารในกรณีฉุกเฉิน และการทบทวนโดยผู้บริหาร

6. การจัดการทรัพยากร (Resource management) กำหนดให้องค์กรตั้งจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอต่อการจัดทำระบบซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรบุคคล โครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

7. การวางแผนและการตระหนักถึงผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย (Planning and realization of safe products) กำหนดให้องค์กรต้องการวางแผนและพัฒนากระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภั
ยประกอบด้วย โปรแกรมหรือกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการควบคุมสุขลักษณะของสภาพแวดล้อม การผลิตที่มีความเหมาะสม การเคลื่อนย้ายที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมเฉพาะในแต่ละองค์กรในห่วงโซ่อาหารซึ่งจะระบุไว้ในภา
คผนวก C นอกจากนี้ยังกำหนดขั้นตอนลำดับแรกที่จำเป็นในการวิเคราะห์อันตราย การจัดทำแผน HACCP การทวนสอบแผนการที่กำหนดตามระบบ HACCP การจัดทำระบบการสอบกลับได้ (Traceability system) และการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

8. การยืนยัน การทวนสอบ และการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (Validation, verification and improvement of the food safety management system) กำหนดให้กลุ่มคนที่รับผิดชอบในการจัดทำระบบต้องวางแผนและพัฒนากระบวนการที่ต้องใช้ใน
การยืนยันจุดควบคุมการดูแลและการวัด การทวนสอบระบบด้วยการ Internal audit การประเมินผลการตรวจสอบ และการวิเคราะห์ผลของกิจกรรมการทวนสอบ นอกจากนี้ยังกำหนดให้องค์กรต้องมีการพัฒนาอย่างต่ำเนื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

#6 ลูกข้าวเหนียว

ลูกข้าวเหนียว

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 06 April 2009 - 04:46 PM

QUOTE(tik815 @ Apr 6 2009, 04:40 PM) <{POST_SNAPBACK}>
ข้อกำหนดของ ISO 22000

มาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร มีบทบาทในด้านความปลอดภัยในการผลิตอาหาร ในอุตสาหกรรมโลกที่ผลิตจำนวนมาก และมีกระบวนการซับซ้อนให้ปลอดภัยมีความสำคัญมากขึ้น ผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น และคาดหวังว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ผลิตจะมีการกระทำที่ป้องกันสุขภาพ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการประกันความปลอดภัยใน Supply Chain มาตรฐาน นี้ปัจจุบันประกอบด้วยข้อกำหนดจำนวน 8 ข้อ

1. ขอบข่าย (Scope) ซึ่งกล่าวถึงการนำมาตรฐานไปใช้ในองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับห่วงโซ่อาหารเพื่อทำผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย และกล่าวถึงคุณสมบัติขององค์กรที่เป็นไปตามข้อกำหนดในมาตรฐานนี้

2. เอกสารอ้างอิง (Normative reference) ในมาตรฐานฉบับนี้ เอกสารอ้างอิงหลักได้แก่ ISO 9000 2000 Quality management system-Fundamental and vocabulary ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกสารที่ TC 34 ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำร่างมาตรฐานฉบับนี้

3. บทนิยาม (Terms and definitions) ประกอบด้วยคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับ Food safety food chain และบทนิยมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ใช้บทนิยมเดียวกับ ISO 9000:2000 ด้วย

4. ข้อกำหนดระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (Food safety management system) ประกอบด้วยข้อกำหนดทั่วไปที่กำหนดให้องค์กรต้องระบุขอบข่ายของระบบการจัดการว่าครอบค
ลุมผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง ตลอดจนกระบวนการผลิต นอกจากนี้ยังกำหนดการจัดทำเอกสาร การควบคุมเอกสารและบันทึกเพื่อแสดงให้เห็นว่า องค์กรปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน

5. ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร (Management responsibility) กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารที่มีต่อการพัฒนา การนำระบบการจัดการไปใช้ และการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่ำเนื่อง ซึ่งข้อกำหนดนี้จะรวมถึงรายละเอียดด้านการกำหนดนโยบายที่มีต่อระบบ การวางแผน การกำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ การแต่งตั้งหัวหน้าทีมดูแลการจัดทำระบบ การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร การตอบสนองของผู้บริหารในกรณีฉุกเฉิน และการทบทวนโดยผู้บริหาร

6. การจัดการทรัพยากร (Resource management) กำหนดให้องค์กรตั้งจัดหาทรัพยากรที่เพียงพอต่อการจัดทำระบบซึ่งประกอบด้วย ทรัพยากรบุคคล โครงสร้างพื้นฐาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

7. การวางแผนและการตระหนักถึงผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย (Planning and realization of safe products) กำหนดให้องค์กรต้องการวางแผนและพัฒนากระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภั
ยประกอบด้วย โปรแกรมหรือกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการควบคุมสุขลักษณะของสภาพแวดล้อม การผลิตที่มีความเหมาะสม การเคลื่อนย้ายที่มีผลต่อความปลอดภัยของอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจกรรมเฉพาะในแต่ละองค์กรในห่วงโซ่อาหารซึ่งจะระบุไว้ในภา
คผนวก C นอกจากนี้ยังกำหนดขั้นตอนลำดับแรกที่จำเป็นในการวิเคราะห์อันตราย การจัดทำแผน HACCP การทวนสอบแผนการที่กำหนดตามระบบ HACCP การจัดทำระบบการสอบกลับได้ (Traceability system) และการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

8. การยืนยัน การทวนสอบ และการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร (Validation, verification and improvement of the food safety management system) กำหนดให้กลุ่มคนที่รับผิดชอบในการจัดทำระบบต้องวางแผนและพัฒนากระบวนการที่ต้องใช้ใน
การยืนยันจุดควบคุมการดูแลและการวัด การทวนสอบระบบด้วยการ Internal audit การประเมินผลการตรวจสอบ และการวิเคราะห์ผลของกิจกรรมการทวนสอบ นอกจากนี้ยังกำหนดให้องค์กรต้องมีการพัฒนาอย่างต่ำเนื่อง การปรับปรุงระบบการจัดการให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ




ขอบคุณอย่างสูงค่ะ
ที่ทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และหาก คุณ Tik มีข้อแนะนำก็ 084-7326774 ทัศ ค่ะ

#7 aumi

aumi

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 242 posts
  • Gender:Female
  • Location:ྪú

Posted 07 April 2009 - 08:36 AM

ถามใน เมลล์นี้ละกัน แล้วเจ้า OPRP ต่างจาก HACCP อย่างไรค่ะช่วยยกตัวอย่างให้ได้ใหมค่ะ

#8 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,568 posts
  • Gender:Male

Posted 07 April 2009 - 10:21 PM

QUOTE(aumi @ Apr 7 2009, 08:36 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ถามใน เมลล์นี้ละกัน แล้วเจ้า OPRP ต่างจาก HACCP อย่างไรค่ะช่วยยกตัวอย่างให้ได้ใหมค่ะ



จริงๆควรถามว่า OPRP ต่างจาก CCP อย่างไร ดีกว่านะครับ

ตอบ OPRP คือ PRP หรือ Control measure ของ GMP ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ
ก่อนที่จะไปมีผลกระทบต่อ CCP

ส่วน CCP ก็อย่างที่ทราบอยู่แล้ว ว่าเป็น Control Point ที่ต้องดูแลกันเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้
เกิด Unsafety

จริงๆระบบนี้ สร้างมาเพื่อ Focus ไปเรื่อง Food safety โดยเฉพาะเหมือนกับ HACCP
นั่นหล่ะครับ แต่เพื่อ Upgrade ขึ้นมาอีกหน่อย ก็ไปเพิ่มเรื่องการเฝ้าระวังจุดที่ไป Support เรื่องที่อันอาจ
จะไปเกี่ยวข้องกับ Unsafety ได้ ซึ่งโดยทั่วไปมันก็คือ GMP ที่ดูแลเป็นพิเศษไปเสริมไม่ให้ CCP มัน
หลุดไปนั่นเอง

แล้วก็เพิ่มเรื่องการทำ Validation ใน OPRP ขึ้นมา
ซึ่ง CCP ต้องมีการทำValidation อยู่แล้ว

laugh.gif


#9 CCS_SAKURA

CCS_SAKURA

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 3 posts

Posted 09 July 2009 - 11:01 AM

ขอบคุณมากครับเป็นประโยชน์กับผมมาก

บริษัทผมกะลังทำ HACCP+ISO 22000 อยู่เลยครับ

#10 QMRAIR

QMRAIR

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 21 posts

Posted 10 July 2009 - 02:26 PM

QUOTE(bktt44 @ Apr 18 2009, 10:08 AM) <{POST_SNAPBACK}>
thankyou.gif



QUOTE(CCS_SAKURA @ Jul 9 2009, 11:01 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอบคุณมากครับเป็นประโยชน์กับผมมาก

บริษัทผมกะลังทำ HACCP+ISO 22000 อยู่เลยครับ




ขอบคุณมากๆค่ะขอเก็บด้วยคนนะค่ะ




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users