Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

สอบถาม


  • This topic is locked This topic is locked
1 reply to this topic

#1 sherry

sherry

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 292 posts

Posted 21 July 2009 - 04:06 PM

ใครรู้ช่วยบอกที่ ระบบ ergonomics คืออะไร ogqs@ogawaasia.co.th

#2 tik815

tik815

    เหนือฟ้า.....ยังมีฟ้า

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,487 posts
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok
  • Interests:-

Posted 21 July 2009 - 05:03 PM

ที่มาและความหมาย "Ergonomics"

ที่มาของคำว่าเออร์โกโนมิคส์ สามารถสืบค้นได้ว่ามีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยนักการยศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ KFH Murrell ได้นำเอาคำสองคำจากภาษากรีกมาสนธิกันคือคำ ergon ซึ่งหมายถึงงานหรือ work และคำว่า nomos ซึ่งหมายถึงกฎ หรือ Law เมื่อรวมแล้วจะเกิดคำใหม่ขึ้นมาคือ ergonomics หรือ Law of work

ถ้าจะให้คำจำกัดความของคำว่าการยศาสตร์ก็จะได้ความว่า “ ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะกับคนทำงาน “ หรือ “ การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน “ นั่นเอง สำหรับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( International Labour Organization, ILO ) ได้ให้คำจำกัดความของการยศาสตร์ไว้ว่า “ การประยุกต์ใช้วิชาการทางด้านชีววิทยาของมนุษย์ และวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับคนงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงานของเขา เพื่อให้คนงานเกิดความพอใจในการทำงาน และได้ผลผลิตสูงสุด “ ดังนั้น การยศาสตร์จึงเป็นวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับงานให้เข้ากับความสามารถทั้งทางด้า
นร่างกายและจิตใจ รวมทั้งข้อจำกัดของคนงาน

ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีผู้ให้ความหมายของ “ เออร์โกโนมิคส์ “ ในเชิงปฏิบัติว่าคือ “ การศึกษาเกี่ยวกับการประสานกัน หรืออันตรกิริยาระหว่างมนุษย์และเครื่องมืออุปกรณ์ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ทำงานอ
ยู่ “ ความหมายนี้ดูเหมือนจะครอบคลุมองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดไว้แล้ว คือ มนุษย์ เครื่องมืออุปกรณ์ สิ่งแวดล้อมและอันตรกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างปัจจัยทั้งสามนี้
ความหมายของคำว่า “ เออร์โกโนมิคส์ “ อีกอย่างหนึ่งที่ขยายความเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวมาแล้ว โดยครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ สถานีงาน ( workstation ) และระบบงาน ( work system ) เพื่อให้บุคคลผู้ใช้ผู้ทำงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Sanders และ McCormick (2530) ได้ให้ความหมายที่เน้นความสำคัญของมนุษย์เป็นหลักคือ การยึดลักษณะธรรมชาติมนุษย์เป็นเกณฑ์สำหรับการออกแบบสร้างเครื่องมืออุปกรณ์และวิธีก
ารทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมใด ๆ อย่างมีเป้าหมาย กล่าวคือ การใช้ความพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยอาศัยเหตุผลที่สอดคล้องกันระหว่
างระบบ คน-เครื่องมืออุปกรณ์-สิ่งแวดล้อม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน


ความหมายของคำว่าการยศาสตร์นั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดาใช้คำว่า human factors ในขณะที่ประเทศทางแถบยุโรป รวมถึงประเทศไทยใช้คำว่า เออร์โกโนมิคส์ ทั้งสองคำนี้มีความหมายในทางปฏิบัติไม่แตกต่างกัน บางครั้งอาจได้ยินคำว่า human factors engineering หรือ human engineering บ้าง ก็ให้เข้าใจว่าหมายถึงเออร์โกโนมิคส์นั่นเอง
สำหรับการใช้คำภาษาไทยในความหมายของเออร์โกโนมิคส์นั้น เท่าที่ผ่านมาก็ใช้คำว่า “ วิทยาการจัดสภาพงาน “ หรือคำอื่น ๆ แล้วแต่ความต้องการในการสื่อความหมาย และในท้ายที่สุดคณะกรรมการบัญญัติศัพท์วิศวกรรมศาสตร์สาขาเครื่องกลและอุตสาหกรรม ของราชบัณฑิตยสถานได้พิจารณาบัญญัติศัพท์ของคำว่า เออร์โกโนมิคส์ ไว้คือ “ การยศาสตร์ “ ได้อธิบายว่า การยเป็นคำในภาษาสันสกฤต หมายถึง การงานหรือ work และศาสตร์ก็คือ วิทยาการ หรือ science นั่นเอง รวมความเป็น work science ในปัจจุบันคำว่า “ การยศาสตร์ “ เป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
สสิธร เทพตระการพร. เอกสารการอบรมการยศาสตร์. กรุงเทพฯ บริษัท ริชเทค บิสซิเนส จำกัด, 2546.

ที่มา
http://ergo.engr.tu....eknow/know1.htm





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users