Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

ช่วยตอบข้อสงสัยการ Validate + verifile ขั้นตอนการตรวจรับวัตถุดิบผักหน่อยนะจ๊ะ


  • This topic is locked This topic is locked
13 replies to this topic

#1 Ki_suraponFood

Ki_suraponFood

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 32 posts

Posted 13 August 2009 - 08:39 AM

กิ๊มีปัญหาว่า
1.ถ้าสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ (Bata-agronist,Nitrofuran,Antibiotic ทั้งหลาย ที่กฎหมายกำหนดค่า MRL) ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เป็น CCP (หากมองกันตาม Decision Tree เพราะมาจากเนื้อสัตว์ ไม่มี porcees ไหนกำจัด/ลดอันตรายดังกล่าวลงได้ ) แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น ทีมงานเลยให้เป็น PRP โดยใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหมครับ
2.สาร Pesticide ในผักต่างๆ หากต้องตรวจตามประเทศปลายทาง บริษัทคงขายไม่ได้แน่ๆ แล้วจะประเมินอย่างไร ควบคุมอย่างไร ใช้เป็น PRP เหมือนข้อ1 ได้ไหมอาจารย์
3.การ Verifile + Validate ขั้นตอนดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมตามข้อ 1 จะทำอย่างไรดีอาจารย์
4.ตอนนี้เราสุ่มตรวจเป็นบางสารที่กรมฯบอกให้ตรวจ/สามารถตรวจได้ แต่ไม่ได้ตรวจครบทุกสารตามที่อย.ออกประกาศ + ประเทศปลายทางระบุ MRL
ทีมงานผู้รู้ช่วยกิ๊ Clear ปัญหานี้ให้ทีนะจ๊ะ
และกิ๊ mail ถาม Auditor ใน webssite International Food safety & Quality Network เค้าก็บอกให้ตรวจทั้งหมด ซึ่งกิ๊มองว่า เค้าเป็น Auditor แต่ไม่เข้าใจมุมมองธุรกิจ ที่ต้องทำทีละอย่าง และค่อยเป็นค่อยไป และทีสำคัญหากองค์กรของรัฐยังไม่สามารถ Support เรื่อง มาตรการกีดกันทางการค้า + ห้อง lab ที่ให้ผลรับรองการตรวจในราคาถูกได้ เอกชนตายอย่างเดียวเลย แบกรับภาระการตรวจเองเพียบนะ
ช่วยกิ๊คิดที ทำไงดี ใครช่วยได้ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้เป็นเทวดา อิๆๆ ไม่ต้องนิพพานหรอก เดี๋ยวหลงตัวเอง

#2 ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 65 posts

Posted 13 August 2009 - 10:48 AM

QUOTE(Ki_suraponFood @ Aug 13 2009, 08:39 AM) <{POST_SNAPBACK}>
กิ๊มีปัญหาว่า
1.ถ้าสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ (Bata-agronist,Nitrofuran,Antibiotic ทั้งหลาย ที่กฎหมายกำหนดค่า MRL) ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เป็น CCP (หากมองกันตาม Decision Tree เพราะมาจากเนื้อสัตว์ ไม่มี porcees ไหนกำจัด/ลดอันตรายดังกล่าวลงได้ ) แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น ทีมงานเลยให้เป็น PRP โดยใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหมครับ
2.สาร Pesticide ในผักต่างๆ หากต้องตรวจตามประเทศปลายทาง บริษัทคงขายไม่ได้แน่ๆ แล้วจะประเมินอย่างไร ควบคุมอย่างไร ใช้เป็น PRP เหมือนข้อ1 ได้ไหมอาจารย์
3.การ Verifile + Validate ขั้นตอนดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมตามข้อ 1 จะทำอย่างไรดีอาจารย์
4.ตอนนี้เราสุ่มตรวจเป็นบางสารที่กรมฯบอกให้ตรวจ/สามารถตรวจได้ แต่ไม่ได้ตรวจครบทุกสารตามที่อย.ออกประกาศ + ประเทศปลายทางระบุ MRL
ทีมงานผู้รู้ช่วยกิ๊ Clear ปัญหานี้ให้ทีนะจ๊ะ
และกิ๊ mail ถาม Auditor ใน webssite International Food safety & Quality Network เค้าก็บอกให้ตรวจทั้งหมด ซึ่งกิ๊มองว่า เค้าเป็น Auditor แต่ไม่เข้าใจมุมมองธุรกิจ ที่ต้องทำทีละอย่าง และค่อยเป็นค่อยไป และทีสำคัญหากองค์กรของรัฐยังไม่สามารถ Support เรื่อง มาตรการกีดกันทางการค้า + ห้อง lab ที่ให้ผลรับรองการตรวจในราคาถูกได้ เอกชนตายอย่างเดียวเลย แบกรับภาระการตรวจเองเพียบนะ
ช่วยกิ๊คิดที ทำไงดี ใครช่วยได้ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้เป็นเทวดา อิๆๆ ไม่ต้องนิพพานหรอก เดี๋ยวหลงตัวเอง


ธรรมดาจะเห็นแต่คุณกิ๊มาช่วยเกาให้คนอื่น เอาของผมมาแชร์แล้วกัน
1.สารปฏิชีวนะต้องตรวจทุกตัวตามข้อกำหนดของกรมนั้นๆครับแต่อาจกำหนดความถี่เช่น 3 รุ่นต่อเนื่อง(กรณีขึ้นทะเบียนกับกรม แต่ถ้าไม่ขึ้นอาจต้องมากขึ้นกว่านี้) ถ้าผ่านทุกครั้ง ต่อไปก็เหลือ 10 หรือ 20 หรือ 50 รุ่นต่อครั้ง กำหนดให้เยอะๆก็ได้มั้ง ถ้ากรมมีข้อสังเกตุค่อยปรับเอา อย่าลืมขอใบ COA จากผู้ขายด้วยนะ
2.Lab ในประเทศเท่าที่ผมทราบยังตรวจได้ไม่ครบทุกตัวเลยครับในกรณ๊ส่งไป EU เคยขอผลการตรวจจากผู้ส่ง(อยู่เมืองจีน) โดยขอให้เป็นตัวอย่างใน Lot นั้น ต้องสอบย้อนได้ Lab ต้องได้ 17025 ตรวจตามข้อกำหนดของ EU เค้าก็ทำให้นะครับ ลองดู ในประเทศไม่รู้จะทำให้รึปล่าวและราคาอาจจะพุ่งกระฉูด
3. Verifile จาก COA Validate จากการส่งตรวจตามความถี่ที่กำหนด
4.ผมก็ทำแค่นั้นแหละครับ

Lab เค้าก็ทำธุรกิจเหมือนกันแหละครับ ถ้าไม่มีคู่แข่งเค้าจะลดราคาทำไม จริงใหมครับ


ทุกข้อความเป็นเพียงความคิดเห็นโปรดอ่านไตรตรองก่อนเสมอนะครับ



#3 Ki_suraponFood

Ki_suraponFood

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 32 posts

Posted 13 August 2009 - 10:58 AM

ขอบคุณมากๆเลย เป็นข้อมูลที่ดีน่ะ กิ๊ยอมรับเลย ยังไงเสียก็จะนำแนวทางไป Adept ใช้
ขอบคุณจากใจจริงจ๊ะ
แต่กรมประมงตรวจได้ไม่ครบตามที่ EU,CANADA,USA,South KOREA กำหนดเลยนะจ๊ะ เพราะเค้าส่มตรวจมากกว่าที่กรมประมงแจ้งนะ เนื่องจากเคยพบปัญหาว่า กรมประมงไม่ได้ตรวจ Nalidicic Acid(อนุพันธ์ในกลุ่ม Quinolone นะ) แต่ ประเทศปลายทางตรวจพบ กรมบอกว่า ไม่สามารถตรวจได้ ให้ส่งตรวจเอง กิ๊หงายหลังเลยนะ
กิ๊

#4 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 14 August 2009 - 12:17 AM

1.ถ้าสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ (Bata-agronist,Nitrofuran,Antibiotic ทั้งหลาย ที่กฎหมายกำหนดค่า MRL) ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เป็น CCP (หากมองกันตาม Decision Tree เพราะมาจากเนื้อสัตว์ ไม่มี porcees ไหนกำจัด/ลดอันตรายดังกล่าวลงได้ ) แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น ทีมงานเลยให้เป็น PRP โดยใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหมครับ

ได้ครับ

2.สาร Pesticide ในผักต่างๆ หากต้องตรวจตามประเทศปลายทาง บริษัทคงขายไม่ได้แน่ๆ แล้วจะประเมินอย่างไร ควบคุมอย่างไร ใช้เป็น PRP เหมือนข้อ1 ได้ไหมอาจารย์
ได้ครับ

3.การ Verifile + Validate ขั้นตอนดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมตามข้อ 1 จะทำอย่างไรดีอาจารย์
การ validate สามารถกระทำได้กับกระบวนการล้าง ซึ่งในกระบวนเรามีแน่นอนในเรื่องการล้างสารพิษตกค้างนี้

4.ตอนนี้เราสุ่มตรวจเป็นบางสารที่กรมฯบอกให้ตรวจ/สามารถตรวจได้ แต่ไม่ได้ตรวจครบทุกสารตามที่อย.ออกประกาศ + ประเทศปลายทางระบุ MRL ทีมงานผู้รู้ช่วยกิ๊ Clear ปัญหานี้ให้ทีนะจ๊ะ และกิ๊ mail ถาม Auditor ใน webssite International Food safety & Quality Network เค้าก็บอกให้ตรวจทั้งหมด

หากเป็นการสุ่มตรวจที่ raw mat เห็นว่าที่ทำ ถูกต้องสุดๆแล้วครับ
แต่คำถามคือ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้มีการทดสอบว่ามีค่าสารพิษตกค้างตามที่กฏหมายระบุหรือลูกค้ากำหนด
หรือไม่ หากไม่แปลว่าไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ยืนยันการสอดคล้อง ไม่มีการ valid ค่านี้ที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายครับ


เนื่องจากมีคำตอบที่ค่อนข้างยาว และมีรูปภาพแนบ
รวมทั้ง คำถาม ถามได้หนักดี ผมยืมคำถามไปเป็นหัวข้อด้วยนะ
ผมขอให้ดูต่อได้ที่นี่ครับ
http://www.training....-incomming.html

#5 Ki_suraponFood

Ki_suraponFood

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 32 posts

Posted 14 August 2009 - 09:02 AM

ขอบคุณอาจารย์มากๆเลยที่ตอบข้อซักถามได้อย่างชัดเจน กระจ่าง อาจารย์ทำบุญด้วยการให้วิทยาทานแก่พวกเรา เราซาบซึ้งใจจัง กิ๊เดาได้ว่า อาจารย์ใจดีแน่ๆ ขอให้ความใจดีของอาจารย์ จงเป็นบุญกุศลให้อาจารย์ได้พบแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต เป็นที่นับถือและเป็นต้นแบบให้ ISOTHAI ทุกคนปฏิบัติตามอาจารย์จ๊ะ
จากใจจริงของลูกศิษย์ที่ลองผิด-ถูกมาเรื่อยๆ
กิ๊

#6 ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 65 posts

Posted 15 August 2009 - 08:11 AM

QUOTE(oldman @ Aug 14 2009, 12:17 AM) <{POST_SNAPBACK}>
1.ถ้าสารปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ (Bata-agronist,Nitrofuran,Antibiotic ทั้งหลาย ที่กฎหมายกำหนดค่า MRL) ขั้นตอนการรับวัตถุดิบ เนื้อสัตว์เป็น CCP (หากมองกันตาม Decision Tree เพราะมาจากเนื้อสัตว์ ไม่มี porcees ไหนกำจัด/ลดอันตรายดังกล่าวลงได้ ) แต่ตอนทำ HACCP ส่งกรมฯ และทำ BRC ทีมงานไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะต้องตรวจวัดสารดังกล่าว ซึ่งค่าตรวจวัดแพงมากๆ เพราะมีสารดังกล่าวตามกฎหมายเป็นร้อยๆตัว แต่ละตัวค่าตรวจหลัก 1,000 ขึ้น ทีมงานเลยให้เป็น PRP โดยใช้มาตรการการซื้อจาก Supplier ที่ได้รับการควบคุมจากกรมประมง + กรมปศุสัตว์จะได้ไหมครับ

ได้ครับ

2.สาร Pesticide ในผักต่างๆ หากต้องตรวจตามประเทศปลายทาง บริษัทคงขายไม่ได้แน่ๆ แล้วจะประเมินอย่างไร ควบคุมอย่างไร ใช้เป็น PRP เหมือนข้อ1 ได้ไหมอาจารย์
ได้ครับ

3.การ Verifile + Validate ขั้นตอนดังกล่าว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพของมาตรการการควบคุมตามข้อ 1 จะทำอย่างไรดีอาจารย์
การ validate สามารถกระทำได้กับกระบวนการล้าง ซึ่งในกระบวนเรามีแน่นอนในเรื่องการล้างสารพิษตกค้างนี้

4.ตอนนี้เราสุ่มตรวจเป็นบางสารที่กรมฯบอกให้ตรวจ/สามารถตรวจได้ แต่ไม่ได้ตรวจครบทุกสารตามที่อย.ออกประกาศ + ประเทศปลายทางระบุ MRL ทีมงานผู้รู้ช่วยกิ๊ Clear ปัญหานี้ให้ทีนะจ๊ะ และกิ๊ mail ถาม Auditor ใน webssite International Food safety & Quality Network เค้าก็บอกให้ตรวจทั้งหมด

หากเป็นการสุ่มตรวจที่ raw mat เห็นว่าที่ทำ ถูกต้องสุดๆแล้วครับ
แต่คำถามคือ ผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้มีการทดสอบว่ามีค่าสารพิษตกค้างตามที่กฏหมายระบุหรือลูกค้ากำหนด
หรือไม่ หากไม่แปลว่าไม่ได้ เพราะเราไม่ได้ยืนยันการสอดคล้อง ไม่มีการ valid ค่านี้ที่ผลิตภัณฑ์สุดท้ายครับ


เนื่องจากมีคำตอบที่ค่อนข้างยาว และมีรูปภาพแนบ
รวมทั้ง คำถาม ถามได้หนักดี ผมยืมคำถามไปเป็นหัวข้อด้วยนะ
ผมขอให้ดูต่อได้ที่นี่ครับ
http://www.iso22000..../incomming.html



ขอเก็บข้อมูลด้วยนะครับ
ว่าแต่อาจารย์ของ Moody ที่มาไขข้อข้องใจ ใช่อาจารย์พรทวี หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยด้วยนะครับ


ขอบคุณครับ


#7 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 15 August 2009 - 08:48 AM

QUOTE(ผมชอบชื่อนี้ครับ @ Aug 15 2009, 08:11 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอเก็บข้อมูลด้วยนะครับ
ว่าแต่อาจารย์ของ Moody ที่มาไขข้อข้องใจ ใช่อาจารย์พรทวี หรือเปล่าครับ ถ้าไม่ใช่ก็ขออภัยด้วยนะครับ


ขอบคุณครับ


ไม่ใช่ครับ ......


#8 ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

ปีปีโป้ปะปะปีปีโป้

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 65 posts

Posted 15 August 2009 - 09:38 AM

QUOTE(oldman @ Aug 15 2009, 08:48 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ไม่ใช่ครับ ......




ตอบแบบ Auditor เมืองนอกเลยอะ YES>>>NO>>>OK>>>GOOD

#9 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 20 August 2009 - 11:11 PM

QUOTE(ผมชอบชื่อนี้ครับ @ Aug 15 2009, 09:38 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ตอบแบบ Auditor เมืองนอกเลยอะ YES>>>NO>>>OK>>>GOOD


ขอโทษที่ตอบช้าครับ

1.
การตอบว่าเป็น auditor หรือไม่ มีข้อเสียครับหากบอกว่าใช่
เพราะ ในweb board นี้มีองค์ประกอบ มีชุมชนที่หลากหลาย
หลายๆท่านคิดว่า auditor เป็นผู้รู้ดี (ซึ่งจริงๆไม่ใช่)
auditor ผิดได้ ซื่อบื้อได้(มากซะด้วย) ,auditor ที่หลงตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นผู้ทรงอำนาจ ไม่หาความรุ้ใส่ตัว มีตรีมขอบอก

การบอกว่าเป็นauditor การแลกเปลียนเรียนรู้อาจเสียไป
มากกว่านั้น บางครั้ง auditor มีโจทย์
เพราะที่ปรีกษากับผู้ตรวจ ด้วยจุดยืนที่แตกต่าง
ด้วยมุมมองในคนละด้าน
เวลาตีความอะไร คิดอะไรมักไม่เหมือนกัน
และมักใช้ความรู้สึกว่ากัน
ไม่มีการใช้เหตุ ใช้ผล ใช้หลักการ ในการวิจารณ์
ไม่ว่าอย่างไร ผมเป็น auditor ครับ อย่าเอ็ดไป

2. ผมแอบเข้ามา ถามตอบใน board นี้เอง
เจ้่านายไม่รู้ และให้รู้ไม่ดีแน่
แม้จะใช้เวลาส่วนตัว
เวลาตอบ ผมใช้ความรู้ที่ได้จากการทำงาน,ที่บริษัทอบรมให้ หรือ มีguideline ของบริษัท

ประเด็นสำคัญ หากตอบผิด บริษัทอาจเสียหาย
เวลาตอบบางคำถาม เกี่ยวโยงกับคู่แข่ง
อาจทำให้มีอคติสำหรับผู้อ่าน

แต่แน่ๆ ผมไม่ใช่ชื่อที่ระบุครับ
เป็นเพียงผู้ตรวจตัวเล็กๆ ของบริษัทครับ
รู้แล้วเหยียไว้
อย่าบอกใครนะ

3. ทำไมตอบสั้น
ไม่รู้เหมือนกัน น่าจะเป็นนิสัยเสียส่วนตัว
ขอโทษครับ อยากคุยยาวๆๆ email มาคุยกันได้นะ



#10 Ki_suraponFood

Ki_suraponFood

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 32 posts

Posted 21 August 2009 - 08:43 AM

อุ้ย! ดีใจจัง ที่ยังมีคนดีๆ เอาใจเค้า มาใส่ใจเรา อย่างคุณ Old man อยุ่ในโลกนี้เนอะ เพราะส่วนใหญ่ พอเราจะชี้แจง Auditor ชอบพูดว่า ถ้าคุณจ้างเรามา แล้วไม่อยากทำตามที่เราบอก ก็ไม่ต้องมาจ้างเรา ซึ่งในบางครั้งผู้ประกอบ/ผู้ตอบ เค้าก็มองว่า ลงทุนเยอะมากเลย ต้นทุนบาน แล้วจะทำอย่างนี้ได้ไหม ซึ่งเค้าก็บอกแนวทางที่เค้าคิดได้ให้ฟัง ซึ่งในบางครั้งที่กิ๊นั่งฟังอยู่ก็รู้สึกว่า ผู้ประกอบการความรู้น้อย ต่ำต้อยกว่า Auditor หรือ ซึ่งก็ไม่ เพราะ QA /PD Manager ทุกคนที่นี้จบโท เมืองนอกกันทั้งนั้น แต่กิ๊ก็ไม่อยากเหมาหมดหรอกนะ เพราะยังมีคนดีๆเหลืออยู่ อย่างคน Old Man นี้ไง
ด้วยความเคารพและชื่นชม Auditor ดีๆฮ่ะ
เอ่อ คุณ Old man กิ๊มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ
1.เนื่องจาก Allergen ไม่มีกฎหมาย/ข้อบังคับในไทย (กรณีสินค้าขายในไทย ) แต่ ISO 22000 บอกว่าต้องวิเคราะห์อันตรายรวมถึง Allergen ตาม NOTE 3 หัวข้อ 3.3 Food safety hazard ซึ่งทางโรงงานวิเคราะห์ตามประวัติของผู้ป่วยคนไทย ว่า Allergen ที่เราแบ่งแยกมี นม ถั่ว อาหารทะเล ซัลไฟด์ ไข่ ซึ่งน้อยกว่า CODEX จะได้หรือไม่ เพราะการจัดการยากพอสมควร หากแยกแยะหลายกลุ่ม (แต่ในข้อกำหนดแนะนำ CODEX น่ะฮ่ะคุณ Old Man ) ดังนั้นขอถามว่า เราแบ่งแยกเท่านี้ได้ไหม หรือ ต้องแบ่งแยกกลุ่ม Allergen ตาม CODEX
ขอบคุณคุณ Old Man มากๆเลยที่ทำบุญวิชาการ/แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ประกอบการอย่างดีตลอดมา กิ๊นับถือเป้นอาจารย์จะได้ไหม แต่กิ๊จะเรียกว่า คุณ Old Man ละกันนะ
กิ๊

#11 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 24 August 2009 - 10:33 AM

1. ข้อกำหนด ISO22000 บอกว่า ในการวิเคราะห์ Haz ให้ถือว่า allergens เป็น HAZ .(NOTE 3 Food safety hazards include allergens.)


2. Allergen ที่เราแบ่งแยกมี นม ถั่ว อาหารทะเล ซัลไฟด์ ไข่ ซึ่งน้อยกว่า CODEX จะได้หรือไม่ เพราะการจัดการยากพอสมควร หากแยกแยะหลายกลุ่ม (แต่ในข้อกำหนดแนะนำ CODEX น่ะฮ่ะคุณ Old Man ) ดังนั้นขอถามว่า เราแบ่งแยกเท่านี้ได้ไหม หรือ ต้องแบ่งแยกกลุ่ม Allergen ตาม CODEX

ความเห็น ในแง่การจัดการ ผมว่าไม่ควรแบ่งกลุ่ม allergen ตาม CODEX
แต่เราน่าจะแบ่งกลุ่ม allergen ตามกลุ่มลูกค้า

เพราะ ISO22000 ได้ระบุไว้ในข้อ 1.0 "scope" ว่า

This International Standard specifies requirements to enable an organization
a) to plan, implement, operate, maintain and update a food safety management system aimed at providing
products that, according to their intended use, are safe for the consumer,
cool.gif to demonstrate compliance with applicable statutory and regulatory food safety requirements,
c) to evaluate and assess customer requirements and demonstrate conformity with those mutually agreed
customer requirements that relate to food safety, in order to enhance customer satisfaction,


ดังนันในแง่การจัดกลุ่ม allergen น่าจะอยู่ที่ผลิตภัณฑ์นั้นๆขายให้ใคร
หากเราทำการผลิตอาหารที่สามารถ กระจายได้ทั้งโลก เราอาจต้องควบคุม หรือ จัดกลุ่ม allergen ในแบบที่เข้มงวดที่สุด
แต่ละประเทศมีการกำหนด allergen ต่างกัน (มีกฏหมายฉลากในเรื่องนี้ที่ต่างกัน)

ยิ่งอ่าน ยิ่งงงใช่มั้ย
ตอบง่ายๆ
หากขายฌฉพาะในไทย ก็ใช้กฏหมายไทยนะสิ
อธิบาย ยาวๆ ทำไมก็ไม่รู้
สงสัย ต้องการให้คนอ่านงง
จะได้ดูดี มีราศี มั้ง .....

#12 Old man

Old man

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 432 posts
  • Gender:Male
  • Location:BSI Group Thailand
  • Interests:No Action , Talk Only.

Posted 24 August 2009 - 10:47 AM

เพิ่มเติมครับ
สำหรับท่านอื่นที่สนใจในเรื่อง allergen
ว่าทำไมต้องจัดแบ่งกลุ่ม allergen

แบ่งทำไม??
ข้อดีคือเราสามารถจัดการประเด็นต่างๆในองค์กร ได้โดยสะดวก เช่น

1. การอบรมพนักงาน
พนักงานที่ทำงานสัมผัสเกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเกิด ปนเปื้อน cross contamination ต้องได้รับการอบรมและตระหนัก
คนที่เกี่ยวข้องจะรวมทั้งวง คนที่เกี่ยวข้องในการ....
• Identifying potential allergen cross-contamination situations
• Recognising which ingredients are the allergens of concern
• Hand washing requirements
• Protective clothing and laundering
• Re-work procedures
• Waste management
• Cleaning procedures.
• Segregation of processing of equipment, dedicated if possible
• Access and movement of people movement around the site
• Movement of equipment and tools around the site

2. มาตรการควบคุม Raw material / Supply Chain
3. การจัดแผนการผลิต และแผนการทำความสะอาด
4. การจัดทำ Label และ Risk Communicate.

โปรแกรมการควบคุมสารก่อภูมิแพ้ครับ
http://www.training....ol-program.html

#13 kusaka

kusaka

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 348 posts
  • Gender:Male

Posted 24 August 2009 - 08:34 PM

ขอบคุณ Old man มากครับ กระจ่างดีมาก

#14 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,582 posts
  • Gender:Male

Posted 25 August 2009 - 07:45 AM

ขอบคุณท่านอาจารย์ oldman ครับ




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users