Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การสอบเทียบเครื่องชั่ง


  • This topic is locked This topic is locked
4 replies to this topic

#1 Crystal

Crystal

    Super Member

  • Members
  • PipPip
  • 39 posts

Posted 22 September 2009 - 02:39 PM

อยากทราบว่า ถ้าที่บริษัทมีเครื่องชั่งขนาด 150กิโลกรัม ประมาณ 15ตัวแล้วไม่มี Mass Standard เพื่อเป็นการประหยัด เราจะนำเครื่องชั่งไปสอบเทียบ 1 ตัว แล้วให้ตัวนั้นเป็น Master แล้ว
1.ใช้วัสดุอะไรก็ได้มาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ หยังงี้จะได้ไหม หรือว่า
2. ซื้อ Mass Standard แล้วนำมาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ

ถ้าทำอย่างที่ว่านี้จะเพียงพอไหมค่ะสำหรับ หัวข้อเรื่องการสอบเทียบ


#2 Aviation_ISO

Aviation_ISO

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 149 posts
  • Gender:Female

Posted 22 September 2009 - 04:44 PM

QUOTE(Crystal @ Sep 22 2009, 02:39 PM) <{POST_SNAPBACK}>
อยากทราบว่า ถ้าที่บริษัทมีเครื่องชั่งขนาด 150กิโลกรัม ประมาณ 15ตัวแล้วไม่มี Mass Standard เพื่อเป็นการประหยัด เราจะนำเครื่องชั่งไปสอบเทียบ 1 ตัว แล้วให้ตัวนั้นเป็น Master แล้ว
1.ใช้วัสดุอะไรก็ได้มาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ หยังงี้จะได้ไหม หรือว่า
2. ซื้อ Mass Standard แล้วนำมาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ

ถ้าทำอย่างที่ว่านี้จะเพียงพอไหมค่ะสำหรับ หัวข้อเรื่องการสอบเทียบ



สวัสดีค่ะ
ได้ทั้ง 2 กรณี แต่ขอเสนอแนะนะคะ
1. ควรจะซื้อ Mass Standard มา เนื่องจากการดูแล บำรุงรักษา ง่ายกว่า ปัจจัยในการทำให้ Mass Standard เกิดการ Error น้อยกว่า
2. ส่ง Mass Standard ไปสอบเทียบยังบริษัทที่ไดรับการรับรอง ISO 17025 อาจจะกำหนดแผนสอบเทียบปีละ 1-2 ครั้ง
3. ควบคุมการใช้งาน จับต้อง Mass Standard อย่างดี เช่น การใช้ถุงมือในการจับ, ไม่ให้ตกหล่น, ไม่วางที่ชื้น หรือเปียก น้ำ เป็นต้น


Best Regards,

Nittayanan E. (Nheung)
QA Aviation 
E-mail: diow3954@hotmail.com
Cell Phone: +66 815992150


#3 Food Safety

Food Safety

    จอมยุทธย่อมมีบาดแผล

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 6,582 posts
  • Gender:Male

Posted 22 September 2009 - 08:08 PM

QUOTE(MR*คนสวย @ Sep 22 2009, 04:44 PM) <{POST_SNAPBACK}>
สวัสดีค่ะ
ได้ทั้ง 2 กรณี แต่ขอเสนอแนะนะคะ
1. ควรจะซื้อ Mass Standard มา เนื่องจากการดูแล บำรุงรักษา ง่ายกว่า ปัจจัยในการทำให้ Mass Standard เกิดการ Error น้อยกว่า
2. ส่ง Mass Standard ไปสอบเทียบยังบริษัทที่ไดรับการรับรอง ISO 17025 อาจจะกำหนดแผนสอบเทียบปีละ 1-2 ครั้ง
3. ควบคุมการใช้งาน จับต้อง Mass Standard อย่างดี เช่น การใช้ถุงมือในการจับ, ไม่ให้ตกหล่น, ไม่วางที่ชื้น หรือเปียก น้ำ เป็นต้น



ทำตามคุณ MR คนสวยได้เลยครับ

แต่ผมจะสอบเทียบ Mass standard ที่ความถึ่ ทุก 2 ปี (โดยมีข้อแม้ว่า ผมจะเก็บรักษาใน Condition ที่ดี)


#4 iso.navigator

iso.navigator

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 17 posts

Posted 22 September 2009 - 09:39 PM

QUOTE(Crystal @ Sep 22 2009, 02:39 PM) <{POST_SNAPBACK}>
อยากทราบว่า ถ้าที่บริษัทมีเครื่องชั่งขนาด 150กิโลกรัม ประมาณ 15ตัวแล้วไม่มี Mass Standard เพื่อเป็นการประหยัด เราจะนำเครื่องชั่งไปสอบเทียบ 1 ตัว แล้วให้ตัวนั้นเป็น Master แล้ว
1.ใช้วัสดุอะไรก็ได้มาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ หยังงี้จะได้ไหม หรือว่า
2. ซื้อ Mass Standard แล้วนำมาชั่ง(ตัวMaster)เื่พื่อใช้เทียบกันกับเครื่องชั่งตัวอื่นๆ ที่ไม่ได้สอบเทียบ

ถ้าทำอย่างที่ว่านี้จะเพียงพอไหมค่ะสำหรับ หัวข้อเรื่องการสอบเทียบ


การควบคุมเครื่องมือวัด สามารถทำได้โดยการสอบเทียบและหรือการทวนสอบ
กรณีที่คุณต้องการนี้เราเรียกว่าการทวนสอบ สามารถทำได้ครับ แต่ต้องระบุวิธีการเอาไว้ให้ชัดเจนด้วย ถ้าทำได้อาจให้ลูกค้ารับทราบหรืออนุมัติวิธีการที่ว่านี้ด้วย

สำหรับคำถามที่คุณถามมา
อย่าบอกว่าเอาวัสดุอะไรก็ได้มาทำการทวนสอบเครื่องมือเลยครับ มันดูลูกทุ่งไปหน่อย อีกอย่าง เจ้าวัสดุอะไรก็ได้ที่คุณว่ามันอาจมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมที่จะเป็นตัวทวนสอบเครื่องม
ือก็ได้ครับ
ควรใช้ตัวมาตรฐานที่ทำมาจากวัสดุที่มีความคงทน มีความแม่นยำ สึกหรอยาก เพราะอย่าลืมว่า บันทึกผลการทวนสอบของคุณจะต้องสามารถสอบกลับได้ วันดีคืนดีลูกค้ามีปัญหา อยากสอบกลับผล แต่
ปรากฏว่าตัวมาตฐานที่คุณเคยใช้ทวนสอบเครื่องมือนั้น สนิมขึ้นเพียบ น้ำหนักเพี้นตรึม ทีนี้ตัวใครตัวมันแล้วกันครับ



#5 Mon.

Mon.

    Supreme Member

  • Power Members
  • PipPipPipPip
  • 314 posts

Posted 23 September 2009 - 09:06 AM

การทวนสอบ (Verification) หมายถึง การยืนยันโดยการตรวจสอบและมีหลักฐานแสดงว่าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุ

หมายเหตุ การดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเครื่องวัดนั้น การทวนสอบจะเป็นเครื่องช่วยตรวจความเบี่ยงเบนระหว่างค่าที่ชี้บอกโดยเครื่องวัด
กับค่าสมนัยที่รู้ของปริมาณที่วัด ว่าน้อยกว่าค่าผิดพลาดที่ยอมให้สูงสุด (Maximum Allowable Error)
ตามที่ระบุในมาตรฐานหรือกฏระเบียบ
หรือคุณลักษณะเฉพาะของการจัดการเครื่องวัด ผลการทวนสอบทำให้ตัดสินใจได้ว่าจะยังคงนำมาใช้ หรือจะต้องทากรปรับแต่ง
หรือจะต้องซ่อมแซม หรือลดเกรด หรือติดป้ายห้ามใช้ในทุกกรณีดังกล่าวต้องมีรายเอียดประวัติการทวนสอบที่เป็นลายลักษณ
์อักษรและเก็บรักษาไว้ในประวัติ ของเครื่องวัดแต่ละเครื่อง

ที่มา สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ


- แสดงว่าวัสดุที่นำมาทวนสอบต้องรู้ว่า วัสดุนั้นมีค่าที่แน่นอนว่าเท่าไร??? คับ
เช่น สาร A มีปริมาณ Water Content 100.15 +/- 2 ppm.




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users