ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
โอนงาน ISO 14001 มาทำเอง ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นอย่างไร?
Started by
tanaset
, Oct 15 2009 03:03 PM
6 replies to this topic
#1
Posted 15 October 2009 - 03:03 PM
ปัจจุบัน ที่โรงงานเขามีผู้รับผิดชอบอยู่ครับ แบบถูกบังคับเพราะพี่แกดันไม่มีกิจกรรม TPM ทำแล้ว
แต่ก็กำลังจะเกษียน ผมก็พอมีพื้นฐานอยู่บ้าง แต่ไม่เคยจับมาทำแบบจริงๆจังๆ ซะทีน่ะครับ
เลยเริ่มต้นไม่ถูกครับ
วอนผู้รู้ช่วยชี้ทางให้หน่อยครับ เป็น สเต็ปเลยนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
แต่ก็กำลังจะเกษียน ผมก็พอมีพื้นฐานอยู่บ้าง แต่ไม่เคยจับมาทำแบบจริงๆจังๆ ซะทีน่ะครับ
เลยเริ่มต้นไม่ถูกครับ
วอนผู้รู้ช่วยชี้ทางให้หน่อยครับ เป็น สเต็ปเลยนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
#2
Posted 15 October 2009 - 03:22 PM
ได้ข้อมูลถูกใจแล้ว อย่าลืม ขอบคุณ เจ้าของข้อมูลด้วยนะครับ
#3
Posted 15 October 2009 - 04:16 PM
สงสัยอะไรก็ตั้งคำถามมาเป็นข้อๆค่ะ
แล้วพี่ๆเพื่อนๆ จะได้ช่วยกันได้ถูกทางค่ะ
สู้ๆๆๆๆๆๆสู้นะคะ
แล้วพี่ๆเพื่อนๆ จะได้ช่วยกันได้ถูกทางค่ะ
สู้ๆๆๆๆๆๆสู้นะคะ
ไม่มีอะไรสำเร็จรูป แม้แต่บะหมี่ยังต้องกึ่งสำเร็จรูป>เพราะฉะนั้นเราเป็นคน>ก็ต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองก่อน> ก่อนขอความช่วยเหลือจากคนอื่น>dsh_a@hotmail.com
#4
Posted 15 October 2009 - 04:17 PM
อืมมม์ กว้างเป็น รถไฟฟ้ามหานะเธอ เอ๊ยยย มหาสมุทรแอตแลนติกเลย คงจะอธิบาย concept ให้อ่านได้ นอกจากนั้น เสนอให้ ลองทำเอง และเอามาโพสต์ให้ พี่พี่เค้าช่วย comment แล้วกันนะ
ถ้าการเริ่มต้นค้นหาว่า ใครกันนะคือคนที่เราเฝ้ารอ คือการทำความรู้จักกับ ใครสักคน และหาทางทราบว่า เขาหรือเธอมีเจ้าของแล้วหรือยัง
การเริ่มต้นในระบบ ISO 14001 ก็คือ การค้นหาว่า อะไรคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมใน "บ้านเรา" รวมถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้ปฏิบัติงานมาทำงานในบ้านเรา และในบ้านของลูกค้าของเรา (4.3.1)
เมื่อทราบว่า หล่อนยังไม่มีเจ้าของหัวใจ ก็ต้องค้นหาต่อไปว่า หล่อนมี requirement อะไรบ้าง จงตระหนัก และ ทำตัวเองให้เป็นไปตาม Requirement นั้น ในมุมมองของ 14001 ต้องค้นหาต่อไปว่า Aspect นั้นเกี่ยวข้องกับ กฎหมาย หรือ ข้อกำหนดใดบ้าง และขึ้นทะเบียนเอาไว้ (4.3.2) และ รวบรวมประเด็นเพื่อพิจารณากำหนดเป็น นโยบายสิ่งแวดล้อม (4.2)
ในมุมมองของความรัก คงต้องพยายาม สรรหาโครงการต่างๆ นานา ที่ตรงกับความต้องการของหล่อน เช่น ชวนไปดู หรือเล่นกีฬาที่เธอโปรด เช่น เตะตะกร้อสัปดาห์ละครั้ง ชวนไปดูิวิ่งควายที่ชลบุรี ปีละครั้ง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีโอกาสได้ใกล้ชิด ศึกษานิสัยใจคอ และหาหนทางในการเข้าสู่หัวใจของหล่อน ในมุมมองของ 14001 ก็คือ การพิจารณานำ Aspect ที่มีนัยสำคัญสูงๆ มาทำเป็นโครงการที่จะ ลด หรือ ป้องกันมลพิษที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนั้นๆ (4.3.3)
เมื่อรู้จักกันได้ระดับนึงแล้ว คงต้องมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบกันบ้าง ฉันออกค่าเหล้า เธอออกค่าห้อง เอ๊ยยยย ไม่ใช่ ฉันจะโทรไปปลุกเธอตอนเช้า เธอจะโทรมากู๊ดไนท์ฉันก่อนนอน ฯลฯ ในมุมมองของ 14001 ก็เช่นกัน ต้องกำหนดหน้าที่ให้ชัดชัด ว่าใคร มีหน้าที่ทำอะไร (4.4.1) เช่น ผู้ที่รับผิดชอบที่มีกิจกรรมที่สร้างมลพิษ (operation) ก็ต้องเป็นเจ้าภาพในการ กำหนด procedure/work instruction ที่เกี่ยวกับการการลด ป้องกัน ควบคุมมลพิษ เช่น การจัดการขยะ (4.4.6) แผนฉุกเฉิน (4.4.7) การติดตามตรวจวัดมลพิษ เช่น คุณภาพน้ำทิ้ง ฝุ่น/ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศ เสียง ความร้อน แสงจ้าจากกระบวนการ (4.5.1) การประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย (4.5.2)
สำหรับ EMR และทีม ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของระบบ ก็ต้องไปกำหนด procedure ที่เกี่ยวกับการบริหาร เช่น การชี้บ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม (4.3.1) กฎหมาย และข้อกำหนด (4.3.2) โครงการ (4.3.3) ฝึกอบรม (4.4.2) การสื่อสาร (4.4.3) คู่มือสิ่งแวดล้อม (4.4.4) การควบคุมเอกสาร (4.4.5) การควบคุมบันทึก (4.5.4) การแก้ไขและการป้องกัน (4.5.3) การตรวจประเมินภายใน (4.5.5) การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร (4.6) และอาจช่วยแบ่งเบา operation ด้วยการนำประเด็นในวรรคก่อนมาช่วยคิดช่วยทำฯลฯ
ในส่วนของความรัก เมื่อสร้างสัญญาใจกันขึ้นมาแล้ว ก็ต้องมั่นสื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความผูกพันนั้นตราตรึงอยู่ในความรู้สึกของกันและกัน แต่ก็ต้องเหลือที่ว่างให้แต่ละฝ่ายมีโอกาสได้ค้นหาความฝันของตนเอง เคยได้ยินมั้ยล่ะ ใกล้กันเกินไปมันก็ร้อน ห่างกันเกินไปมันก็หนาวน่ะ ในมุมมองของ 14001 ก็ต้องนำ procedure work instruction ในวรรคก่อน ไปฝึกสอนให้กับพนักงานทราบ และอย่าลืมประเมินผลความเข้าใจด้วยนะ (4.4.2) สำหรับ นโยบาย โครงการ และผลจากการนำ procedure work instruction ไปปฏิบัติก็ต้องนำมาสื่อสารให้พนักงานทราบด้วยนะครับ (4.4.3)
สำหรับคนสองคน เมื่อคบคบกันไปนานวัน อีกฝ่าย อาจต้องการความมั่นใจว่า ความรักที่มีต่อกันยังคงหวานซึ้งแนบแน่น ซาบซ่าน และคุณยังคงไม่เปลี่ยนไป ดังนั้นคุณอาจถูก ทดสอบว่าคุณยังจำวันแรกที่พบกันได้หรือไม่ วันเกิดของเขาคือวันอะไร ไอ้ด่างตัวโปรดของหล่อนชอบกินอะไรเป็นพิเศษ มือถือของคุณมี massage หวานแหว๋วจากคนอื่นที่ไม่ใช่หล่อนหรือไม่ ฯลฯ ถ้าไม่...ก็ควรต้องปรับพฤติกรรม ปรับความเข้าใจกันแล้วล่ะ ในมุมมองของ 14001 ก็ต้องมีการ monitoring (4.5.1) ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย (4.5.2) และ internal audit (4.5.5) หากการปฏิบัติไม่สอดคล้อง หรือ มีแนวโน้มที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติ ก็ต้องมีการแก้ไข หรือการป้องกัน (4.5.3)
ทบทวนตนเองว่า ที่ผ่านมานั้น ดูแล หรือทำอะไรให้เธอซึ้ง และถึงเวลาที่จะเปิดโรงงานผลิตทารกแล้วหรือยัง ในมุมมอง 14001 คือการนำ นโยบาย KPIs ด้านสิ่งแวดล้อม ผลจากการ monitoring และ ผลจากการประเมินความสอดคล้อง ผลจากการ audit ทั้งภายใน และภายนอก ฯลฯ ความเหมาะสมของ procedure work instruction แต่ละฉบับมาทบทวน และปรับปรุงระบบ ให้เกิดการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง (4.6)
เฮ้อ..เหนื่อยฟ่ะ อิอิอิ
จอมโจรฯ เขียนในวันที่ฟ้ามืดหม่น
ถ้าการเริ่มต้นค้นหาว่า ใครกันนะคือคนที่เราเฝ้ารอ คือการทำความรู้จักกับ ใครสักคน และหาทางทราบว่า เขาหรือเธอมีเจ้าของแล้วหรือยัง
การเริ่มต้นในระบบ ISO 14001 ก็คือ การค้นหาว่า อะไรคือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรมใน "บ้านเรา" รวมถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้ปฏิบัติงานมาทำงานในบ้านเรา และในบ้านของลูกค้าของเรา (4.3.1)
เมื่อทราบว่า หล่อนยังไม่มีเจ้าของหัวใจ ก็ต้องค้นหาต่อไปว่า หล่อนมี requirement อะไรบ้าง จงตระหนัก และ ทำตัวเองให้เป็นไปตาม Requirement นั้น ในมุมมองของ 14001 ต้องค้นหาต่อไปว่า Aspect นั้นเกี่ยวข้องกับ กฎหมาย หรือ ข้อกำหนดใดบ้าง และขึ้นทะเบียนเอาไว้ (4.3.2) และ รวบรวมประเด็นเพื่อพิจารณากำหนดเป็น นโยบายสิ่งแวดล้อม (4.2)
ในมุมมองของความรัก คงต้องพยายาม สรรหาโครงการต่างๆ นานา ที่ตรงกับความต้องการของหล่อน เช่น ชวนไปดู หรือเล่นกีฬาที่เธอโปรด เช่น เตะตะกร้อสัปดาห์ละครั้ง ชวนไปดูิวิ่งควายที่ชลบุรี ปีละครั้ง ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีโอกาสได้ใกล้ชิด ศึกษานิสัยใจคอ และหาหนทางในการเข้าสู่หัวใจของหล่อน ในมุมมองของ 14001 ก็คือ การพิจารณานำ Aspect ที่มีนัยสำคัญสูงๆ มาทำเป็นโครงการที่จะ ลด หรือ ป้องกันมลพิษที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมนั้นๆ (4.3.3)
เมื่อรู้จักกันได้ระดับนึงแล้ว คงต้องมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบกันบ้าง ฉันออกค่าเหล้า เธอออกค่าห้อง เอ๊ยยยย ไม่ใช่ ฉันจะโทรไปปลุกเธอตอนเช้า เธอจะโทรมากู๊ดไนท์ฉันก่อนนอน ฯลฯ ในมุมมองของ 14001 ก็เช่นกัน ต้องกำหนดหน้าที่ให้ชัดชัด ว่าใคร มีหน้าที่ทำอะไร (4.4.1) เช่น ผู้ที่รับผิดชอบที่มีกิจกรรมที่สร้างมลพิษ (operation) ก็ต้องเป็นเจ้าภาพในการ กำหนด procedure/work instruction ที่เกี่ยวกับการการลด ป้องกัน ควบคุมมลพิษ เช่น การจัดการขยะ (4.4.6) แผนฉุกเฉิน (4.4.7) การติดตามตรวจวัดมลพิษ เช่น คุณภาพน้ำทิ้ง ฝุ่น/ความเข้มข้นของสารเคมีในอากาศ เสียง ความร้อน แสงจ้าจากกระบวนการ (4.5.1) การประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย (4.5.2)
สำหรับ EMR และทีม ซึ่งรับผิดชอบในส่วนของระบบ ก็ต้องไปกำหนด procedure ที่เกี่ยวกับการบริหาร เช่น การชี้บ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม (4.3.1) กฎหมาย และข้อกำหนด (4.3.2) โครงการ (4.3.3) ฝึกอบรม (4.4.2) การสื่อสาร (4.4.3) คู่มือสิ่งแวดล้อม (4.4.4) การควบคุมเอกสาร (4.4.5) การควบคุมบันทึก (4.5.4) การแก้ไขและการป้องกัน (4.5.3) การตรวจประเมินภายใน (4.5.5) การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร (4.6) และอาจช่วยแบ่งเบา operation ด้วยการนำประเด็นในวรรคก่อนมาช่วยคิดช่วยทำฯลฯ
ในส่วนของความรัก เมื่อสร้างสัญญาใจกันขึ้นมาแล้ว ก็ต้องมั่นสื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความผูกพันนั้นตราตรึงอยู่ในความรู้สึกของกันและกัน แต่ก็ต้องเหลือที่ว่างให้แต่ละฝ่ายมีโอกาสได้ค้นหาความฝันของตนเอง เคยได้ยินมั้ยล่ะ ใกล้กันเกินไปมันก็ร้อน ห่างกันเกินไปมันก็หนาวน่ะ ในมุมมองของ 14001 ก็ต้องนำ procedure work instruction ในวรรคก่อน ไปฝึกสอนให้กับพนักงานทราบ และอย่าลืมประเมินผลความเข้าใจด้วยนะ (4.4.2) สำหรับ นโยบาย โครงการ และผลจากการนำ procedure work instruction ไปปฏิบัติก็ต้องนำมาสื่อสารให้พนักงานทราบด้วยนะครับ (4.4.3)
สำหรับคนสองคน เมื่อคบคบกันไปนานวัน อีกฝ่าย อาจต้องการความมั่นใจว่า ความรักที่มีต่อกันยังคงหวานซึ้งแนบแน่น ซาบซ่าน และคุณยังคงไม่เปลี่ยนไป ดังนั้นคุณอาจถูก ทดสอบว่าคุณยังจำวันแรกที่พบกันได้หรือไม่ วันเกิดของเขาคือวันอะไร ไอ้ด่างตัวโปรดของหล่อนชอบกินอะไรเป็นพิเศษ มือถือของคุณมี massage หวานแหว๋วจากคนอื่นที่ไม่ใช่หล่อนหรือไม่ ฯลฯ ถ้าไม่...ก็ควรต้องปรับพฤติกรรม ปรับความเข้าใจกันแล้วล่ะ ในมุมมองของ 14001 ก็ต้องมีการ monitoring (4.5.1) ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย (4.5.2) และ internal audit (4.5.5) หากการปฏิบัติไม่สอดคล้อง หรือ มีแนวโน้มที่ไม่สอดคล้องกับระเบียบปฏิบัติ ก็ต้องมีการแก้ไข หรือการป้องกัน (4.5.3)
ทบทวนตนเองว่า ที่ผ่านมานั้น ดูแล หรือทำอะไรให้เธอซึ้ง และถึงเวลาที่จะเปิดโรงงานผลิตทารกแล้วหรือยัง ในมุมมอง 14001 คือการนำ นโยบาย KPIs ด้านสิ่งแวดล้อม ผลจากการ monitoring และ ผลจากการประเมินความสอดคล้อง ผลจากการ audit ทั้งภายใน และภายนอก ฯลฯ ความเหมาะสมของ procedure work instruction แต่ละฉบับมาทบทวน และปรับปรุงระบบ ให้เกิดการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง (4.6)
เฮ้อ..เหนื่อยฟ่ะ อิอิอิ
จอมโจรฯ เขียนในวันที่ฟ้ามืดหม่น
"
#5
Posted 15 October 2009 - 04:36 PM
ลองดูละกันครับเผื่อเป็นประโยชน์
1.การประเมิน Aspect ของแต่ละหน่วยงานต้องกำหนดความถี่ในการประเมิน แล้วนำผลรวมทั้งหมดมาตั้งเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์(ผ่านการประชุมManagement Review)
2.แต่ละหน่วยงานต้องจัดตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายและทำโครงการสิ่งแวดล้อมเขียนแผน
การดำเนินการ(ตามAspect แต่ละแผนกโดยต้องสอดคล้องตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของบริษัท)แล้วคณะกรรมการสิ่งแวดล
้อมมีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามแผนงานของแต่ละหน่วยงานโดยผ่านการประชุมสิ่งแวดล
้อม(ความถี่ตามความเหมาะสม)
3.Internal Audit ต้องกำหนดความถี่ในการAudit (ของผมปีละ2คร้ง)ทำการฝึกอบรมและแต่งตั้ง Auditor โดยในการAuditแต่ละครั้งต้องกำหนดเกณฑ์การตรวจให้ชัดเจน ซึ่ง Audit Check List แต่ละครั้งก็จะแตกต่างกันออกไป
4.จัดการประชุมประเมินความสอดคล้องของกฏหมายซึ่งมีเนื้อหาหลักๆคือUp dateกฏหมายใหม่ทุกๆเดือนและติดตามการปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนด เช่น การตรวจวัดค่าสิ่งแวดล้อมถ้าเกินก็แสดงว่าเราปฏิบัติไม่สอดคล้องตามที่กฏหมายกำหนด คณะกรรมการต้องออกใบCAR ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
5.การซ่อมบำรุงระบบต่างๆ(Oil Tap,Cooling Tower, Air Compressor,)ต้องจัดทำเป็นแผนอย่างชัดเจนกำหนดความถี่ แบบฟอร์มที่ตรวจสอบ
6.การควบคุมขยะต้องจัดทำโกดังเก็บขยะ ตามที่กฏหมายกำหนด แยกพื้นที่อย่างชัดเจน จัดทำCheck List ในการตรวจสอบ
ที่สำคัญต้องทำแบบสำรวจขยะทุกๆเดือน กำหนดวิธีการคัดแยก รวบรวม ขนย้าย สถานที่จัดเก็บ รวมถึงการเก็บข้อมูลนำหนัก
ส่งรายงานให้กับทางราชการ
7.การตรวจสิ่งแวดล้อมต่างๆ(เช่น น้ำ,อากาศ,แสงสว่าง,เสียง) ต้องสำรวจ Parameter ให้ดีโดยต้องดูว่ากฏหมายกำหนดอะไรบ้าง เพราะห้องแลปที่มาตรวจชอบตรวจเกินที่จำเป็นเสียเงินป่าว และพอผลตรวจออกมาก็นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่ผ่านก็รีบดำเนินการแก้ไข โดยการออกใบ CAR ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
8.เรื่องการติดต่อกับหน่วยงานราชการ เช่น การส่งรายงาน บพร1.บพร.2,รายงานการตรวจสิ่งแวดล้อม ,รายงานการซ้อมแผนฉุกเฉิน,การนำเข้าสารเคมี,การกำจัดขยะ และอื่นๆ จัดทำเป็นฟอร์มการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก และติดตามผลการดำเนินการต่างๆโดยเอาเข้าไปอยู่ในการประชุมประเมินความสอดคล้องของกฏห
มาย
9.จัดประชุม Management Review อย่างน้องปีละ 1ครั้ง โดยข้อมูลInput ก็ตามข้อกำหนดเลย และรายละเอียดต่างๆก็ตามที่กล่าวมา
ข้าน้อยก็พึ่งมาทำเหมือนกัน....ถ้ามีจุดไหนที่ต้งปรับปรุงรบกวนพี่ๆช่วยชี้แนะด้วยคร
ับ
1.การประเมิน Aspect ของแต่ละหน่วยงานต้องกำหนดความถี่ในการประเมิน แล้วนำผลรวมทั้งหมดมาตั้งเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์(ผ่านการประชุมManagement Review)
2.แต่ละหน่วยงานต้องจัดตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายและทำโครงการสิ่งแวดล้อมเขียนแผน
การดำเนินการ(ตามAspect แต่ละแผนกโดยต้องสอดคล้องตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของบริษัท)แล้วคณะกรรมการสิ่งแวดล
้อมมีหน้าที่ติดตามผลการดำเนินการตามแผนงานของแต่ละหน่วยงานโดยผ่านการประชุมสิ่งแวดล
้อม(ความถี่ตามความเหมาะสม)
3.Internal Audit ต้องกำหนดความถี่ในการAudit (ของผมปีละ2คร้ง)ทำการฝึกอบรมและแต่งตั้ง Auditor โดยในการAuditแต่ละครั้งต้องกำหนดเกณฑ์การตรวจให้ชัดเจน ซึ่ง Audit Check List แต่ละครั้งก็จะแตกต่างกันออกไป
4.จัดการประชุมประเมินความสอดคล้องของกฏหมายซึ่งมีเนื้อหาหลักๆคือUp dateกฏหมายใหม่ทุกๆเดือนและติดตามการปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนด เช่น การตรวจวัดค่าสิ่งแวดล้อมถ้าเกินก็แสดงว่าเราปฏิบัติไม่สอดคล้องตามที่กฏหมายกำหนด คณะกรรมการต้องออกใบCAR ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
5.การซ่อมบำรุงระบบต่างๆ(Oil Tap,Cooling Tower, Air Compressor,)ต้องจัดทำเป็นแผนอย่างชัดเจนกำหนดความถี่ แบบฟอร์มที่ตรวจสอบ
6.การควบคุมขยะต้องจัดทำโกดังเก็บขยะ ตามที่กฏหมายกำหนด แยกพื้นที่อย่างชัดเจน จัดทำCheck List ในการตรวจสอบ
ที่สำคัญต้องทำแบบสำรวจขยะทุกๆเดือน กำหนดวิธีการคัดแยก รวบรวม ขนย้าย สถานที่จัดเก็บ รวมถึงการเก็บข้อมูลนำหนัก
ส่งรายงานให้กับทางราชการ
7.การตรวจสิ่งแวดล้อมต่างๆ(เช่น น้ำ,อากาศ,แสงสว่าง,เสียง) ต้องสำรวจ Parameter ให้ดีโดยต้องดูว่ากฏหมายกำหนดอะไรบ้าง เพราะห้องแลปที่มาตรวจชอบตรวจเกินที่จำเป็นเสียเงินป่าว และพอผลตรวจออกมาก็นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ถ้าไม่ผ่านก็รีบดำเนินการแก้ไข โดยการออกใบ CAR ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง
8.เรื่องการติดต่อกับหน่วยงานราชการ เช่น การส่งรายงาน บพร1.บพร.2,รายงานการตรวจสิ่งแวดล้อม ,รายงานการซ้อมแผนฉุกเฉิน,การนำเข้าสารเคมี,การกำจัดขยะ และอื่นๆ จัดทำเป็นฟอร์มการสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก และติดตามผลการดำเนินการต่างๆโดยเอาเข้าไปอยู่ในการประชุมประเมินความสอดคล้องของกฏห
มาย
9.จัดประชุม Management Review อย่างน้องปีละ 1ครั้ง โดยข้อมูลInput ก็ตามข้อกำหนดเลย และรายละเอียดต่างๆก็ตามที่กล่าวมา
ข้าน้อยก็พึ่งมาทำเหมือนกัน....ถ้ามีจุดไหนที่ต้งปรับปรุงรบกวนพี่ๆช่วยชี้แนะด้วยคร
ับ
#6
Posted 15 October 2009 - 10:12 PM
ขอทำตัวเป็น 'ป๋าดัน' ซักวันนะครับ อิอิอิ
"
#7
Posted 16 October 2009 - 01:18 PM
ขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความกระจ่างครับ
ทุกๆคำตอบ ถือเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมครับ
ทุกๆคำตอบ ถือเป็นประโยชน์สำหรับมือใหม่อย่างผมครับ
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users