ขอคำแนะนำ หรือการชี้แนะจากท่านจอมยุทธทั้งหลาย ว่า
การจะปรับใช้ TPM (เฉพาะ เสา AM, PM) เข้าระบบ ISO ข้อกำหนด 6.3 โครงสร้างพื้นฐาน
จะดำเนินการอย่างไร หรือท่านใดที่มี TPM ก็อยากจะขอไฟล์ เอกสาร
ฟอร์ม TPM เฉพาะเสา AM, PM พอมาเป็นแนวทางให้ผมเห็นแสงสว่าง
หน่อยนะครับผม
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
ขอคำแนะนำการปรับใช้ TPM (AM, PM) เข้าระบบ ISO ข้อกำหนด 6.3 โครงสร้างพื้นฐาน
Started by
TNK_Prosper
, Nov 04 2009 09:38 AM
3 replies to this topic
#1
Posted 04 November 2009 - 09:38 AM
#2
Posted 05 November 2009 - 09:03 AM
"ทำไม" กระทู้ผมไม่ได้รับความสนใจว้า เพื่อน ISO ส่วนมากก็สนุกกับเรื่องของ
การ Audit, Objective_Target + Action Plan+KPI, การควบคุมเอกสาร,
การทบทวนฝ่ายบริหาร, การแก้ไขป้องกัน
"การปรับใช้ TPM เข้าระบบ ISO" ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะ ท้าทายด้วย ผมขอเชิญพี่น้อง
เพื่อน พ้อง ISO ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมกันถ่ายทอดวิทยายุทธ ร่วมกันสร้างสรรค์
แนวคิด ผลงานใหม่ๆ ขอเชิญนะครับผม
การ Audit, Objective_Target + Action Plan+KPI, การควบคุมเอกสาร,
การทบทวนฝ่ายบริหาร, การแก้ไขป้องกัน
"การปรับใช้ TPM เข้าระบบ ISO" ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจนะ ท้าทายด้วย ผมขอเชิญพี่น้อง
เพื่อน พ้อง ISO ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมกันถ่ายทอดวิทยายุทธ ร่วมกันสร้างสรรค์
แนวคิด ผลงานใหม่ๆ ขอเชิญนะครับผม
#3
Posted 05 November 2009 - 10:52 AM
สำหรับผมก็สนใจในเรื่องTPMนี้เหมือนกันครับ ศึกษาหาข้อมูลไปเรื่อยๆยังไม่มีโอกาสได้ทำอย่างเป็นจริงเป็นจัง
ส่วนไฟล์เอกสาร หรือฟอร์มต่างไม่มีที่เป็นแบบเฉพาะครับ ที่ผมทำอยู่ปัจจุบันคือพยายาม(AM)เอาไปแทรกในกิจกรรม
ที่ทำอยู่เป็นประจำ เช่นเอาไปแทรกในกิจกรรม 5ส. ก่อนและหลังทำงาน หรือแทรกในกิจกรรม line setup ประจำวัน
เอางี้ละกันครับ ผมขออนุญาตลง FAQ ที่ได้มาจากTPMthai.com นะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์
==========================================================================
Q1) การทำ TPM ต่างจากการทำ การบำรุงรักษาทั่วไปอย่างไร?
A1) วัตถุประสงค์ของ TPM ต้องการให้เกิด 3 ศูนย์ คือ เครื่องเสียเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกแผนก พร้อมทั้งการให้การสนับสนุน จากผู้บริหารทุกระดับ จากบนสุดถึงพนักงานระดับล่าง และใช้กลุ่มย่อยเป็นหลักในการดำเนินการ จากความหมายของ TPM การดำเนินการ TPM จึงทั้งลึก และกว้างกว่าการบำรุงรักษาธรรมดา ที่ต้องการเพียงแค่ ทำไปตามคาบเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น การบำรุงรักษาโดยทั่วไป จะเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ในการดำเนินการของ TPM เพื่อให้เกิดเครื่องเสียเป็นศูนย์เท่านั้น
Q2) ทำไมต้องทำ TPM
A2) หากหน่วยงานของท่าน เป็นงานที่ขายได้โดยไม่ต้องแข่งขัน ก็ไม่แนะนำให้ทำ TPM เพราะจะเป็นการเสียเวลาเปล่า เอาเวลาที่มี ไปใช้ในการผลิตดีกว่า แต่หากท่านเป็นหน่วยงานที่มีการแข่งขัน ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้พนักงานทุกคน หันกลับมามองที่ปัจจุบันตรงหน้าของพนักงานคือ เครื่องจักรว่ามันสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แล้วหรือยัง หากยังจะทำอย่างไรให้ใช้งานได้เต็มที่ และที่สำคัญคือการให้พนักงาน ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ได้มีโอกาสพัฒนา เป็นผู้ที่มีความสามารถมากขึ้น และกลับมาพัฒนางานที่ตนเองทำ และบริษัทฯ ให้ดีขึ้นตามมา การดำเนินการของ TPM นั้นเน้นที่หน้างานที่พนักงาน ทำงานให้มีสภาพที่ดีขึ้น และเน้นจากภายในองค์กรไปสู่ภายนอก
Q3) ถ้าจะทำ TPM จะเริ่มที่ไหน
A3) เริ่มผู้บริหารสูงสุดที่นั่งอยู่ที่บริษัทฯ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากผู้บริหารสูงสุดเข้าใจ เอาจริง เอาจัง ก็สำเร็จหมด แต่ถ้าไม่เอาไม่เข้าใจ และมีแต่ คุณ-นะ-ทำ ก็แทบไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จ หากผู้บริหารต้องการทำ ต่อมาก็ต้องเริ่มที่หน่วยงานช่าง เพราะถ้าหน่วยงานนี้เข้าใจว่า การที่ทำ TPM จะเป็นการช่วยให้ช่างทำงานเบาลง เพราะงานบางอย่าง จะถูกส่งไปให้พนักงานคุมเครื่องทำ และช่างต้องเปลี่ยนมาทำงาน ในลักษณะที่เป็นงานวางแผนมากขึ้น เป็นการสอนงานมากขึ้น ก็จะสามารถดำเนินการได้ เพราะถ้าช่างยังคิดว่าพนักงานผลิต ชอบทำเครื่องเสีย เดินเครื่องไม่ถูกต้อง พนักงานเดินเครื่องไม่ฉลาดพอ ก็จะทำให้ช่างไม่อยากถ่ายทอดความรู้ไปให้พนักงานเดินเครื่องได้ เพราะทัศนคติที่ผิดนี้ การเริ่มที่พนักงานผลิต จะไม่ใช่เรื่องยากหากช่างช่วยในการแนะนำ และพร้อมที่จะเป็นผู้ฟูมฟัก (Mentor) ให้พนักงานเดินเครื่องให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
Q4) ถ้าจะทำแต่ AM อย่างเดียวได้ไหม ไม่อย่างทำเสาหลักอื่น
A4) วัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าต้องการได้รับการรับรองว่าทำ TPM ก็ไม่ได้ ต้องทำทุกเสาหลัก แต่ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อให้พนักงานเดินเครื่อง มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหา ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใดกำหนดไว้ แต่เมื่อทำไปแล้วจะพบว่า เสาหลักอื่นจะขึ้นมาเอง เช่น เมื่อทำ AM ไปได้สักระยะหลังจากที่ติด Tag ไป ก็ต้องการปลด Tag และไม่อยากให้ปัญหาเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีก ก็ต้องมีการบำรุงรักษาตามคาบเวลา ซึ่งนั่นก็คือ Planned Maintenance และหากทำไปเรื่อยๆ เริ่มมี Idea ที่จะทำการปรับปรุง โมดิฟายด์เครื่องจักนั่นก็คือ Focus Improvement นั่นเอง ซึ่งถ้าจะบอกว่าไม่ทำ ก็ได้ แต่ในความเป็นจริงก็ต้องทำอยู่ดี
Q5) Tag ติดที่ไหนได้บ้าง
A5) Tag คือป้ายที่เรานำไปติดไว้ เพื่อชี้บ่งปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น Tag ควรนำไปติดไว้ที่จุดที่เป็นปัญหา และจุดใดบ้างที่สามารถติด Tag ได้ ขอให้ยึดหลักดังนี้ จุดที่เป็นสิ่งที่ผิดปรกติ, จุดที่เข้าถึงได้ยาก, จุดที่ทำความสะอาดยาก, จุดที่เป็นที่มาของความสกปรก, จุดที่เป็นจุดอันตราย, จุดที่มีการรั่วไหล, จุดที่ทำให้เกิดของเสีย, สิ่งที่ไม่ได้ใช้งาน, จุดที่ขาดการหล่อลื่นหรือหล่อลื่นมากเกินไป, จุดที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็นที่มา ของการเสียหายของเครื่องจักรต่อไปในอนาคตได้
Q6) ใครควรเป็นคนติด Tag
A6) ใครก็ได้ที่พบสิ่งผิดปรกติ โดยเฉพาะผู้บริหาร เพราะถ้าผู้บริหารติด Tag พนักงานก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ อย่าลืมว่าลูกน้องทำตามลูกพี่เสมอ
Q7) One Point Lesson เขียนอย่างไร
A7) ขอให้ยึดหลักในการเขียนดังนี้.-
เน้นรูปมากกว่าข้อความ
หากวาดรูปได้จะดีกว่าถ่ายรูปมา โดยเฉพาะเรื่องชิ้นส่วนเครื่องจักร เนื่องจากจะเป็นการทำความเข้าใจเครื่องจักร ในระหว่างที่วาดรูปด้วย
ใช้ภาษาที่เข้าใจกันได้ในหน่วยงาน เพราะเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย
ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ ในเวลามาเกิน 10 นาที
ควรเป็นเรื่องเดียว เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น
Q8) One Point Lesson ควรเขียนเรื่องอะไร
A8) เขียนเรื่องอะไรก็ได้ที่ต้องการสื่อสารให้ คนที่อยู่ในหน่วยงานทราบ เช่นเรื่องที่ควรรู้ เรื่องที่เคยเกิดความผิดพลาด เรื่องความปลอดภัย เรื่องที่เป็นข้อควรระวัง เป็นต้น
Q9) ใครควรเป็นคนเขียน One Point Lesson
A9) ใครก็ได้ที่ต้องการสื่อสารเรื่องนั้นๆ ให้ผู้อื่นทราบ หากเป็นพนักงานเดินเครื่องสื่อสาร ไปที่พนักงานเดินเครื่อง ก็เขียนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจกันในกลุ่มได้เลย หากเป็นช่างต้องการสื่อสาร ไปที่พนักงานเดินเครื่อง ก็ควรให้ช่างมาแนะนำวิธีเขียน และอธิบายให้พนักงานเดินเครื่องสักคนหนึ่งเข้าใจ และเขียนออกมาเป็นภาษาของพนักงานเดินเครื่อง จะเห็นได้ว่า เป็นทั้งการให้ช่าง และพนักงานเดินเครื่อง ได้ถ่ายทอดความรู้กัน พนักงานเดินเครื่อง ก็มีความภูมิใจที่ได้แนะนำในเรื่องใหม่ ให้เพื่อนๆรู้ด้วย เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
Q10) การทำ AM มี 7 ขั้นตอนอะไรบ้าง
A10) 7 ขั้นตอนของการทำ AM ดังนี้.-
การทำความสะอาดเครื่องจักร
การขจัดที่มาของการปนเปื้อนของเครื่องจักร และขจัดจุดที่ยากต่อการเข้าถึง
การสร้างมาตรฐานการตรวจสอบชั่วคราว
การตรวจสอบทั่วไป
การตรวจสอบด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ
การจัดการสถานที่ทำงานด้วยตนเอง
การบริหารจัดการด้วยตนเอง
Q11) การทำ AM ต้องทำทีละขั้นหรือไม่ทำทีเดียว 7 ขั้นตอนเลยได้ไหม
A11) ต้องทำทีละขั้น ไม่สามารถทำข้ามขั้นตอนได้ หากมองให้ลึกจะเห็นว่าการทำ AM ไม่ใช่การทำเพื่อให้เครื่องจักรดีเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาพนักงานให้มีคิดเป็น วางแผนเป็น เป็นใช้เครื่องจักเป็นเครื่องมือในการฝึกคน ตั้งแต่เริ่มมองหาปัญหา ที่ขั้นตอนที่ 1 คือทำความสะอาดหากสิ่งผิดปรกติ จนมาขั้นที่ 2 หาสาเหตุของปัญหาที่พบในขั้นตอนที่ 1 ว่ามาจาก ความผิดพลาดเรื่องใด และทำอย่างไรไม่ให้ปัญหานั้น กลับมาเกิดขึ้นอีกโดยการจัดทำมาตรฐานชั่วคราว ในขั้นตอนที่ 3 จะเห็นว่าเพียง 3 ขั้นตอนก็เปลี่ยนวิธีคิดของพนักงานไปในระดับหนึ่งแล้ว
Q12) จำเป็นไหมที่ในการทำ TPM ต้องมีที่ปรึกษา
A12) ที่ปรึกษามีหน้าที่ในการแนะนำ และช่วยในการแก้ปัญหา การดำเนินการนั้น ต้องให้หน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการเอง ที่ปรึกษาไม่สามารถที่จะไปสั่งให้ทำอะไร หรือไม่ทำอะไรได้ เพราะหน่วยงานเองรู้ดีที่สุดว่า ตอนนี้ต้องการอะไร และปัญหาอยู่ที่ใด แต่โดยมากแล้วการทำอะไรก็ตาม คนภายในด้วยกันมักไม่ฟังกันเอง จึงต้องมีคนนอกมาบอก มาเป็นผู้ตัดสินข้อขัดแย้ง และมาคอยติดตามความคืบหน้า ลองนึกดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าอีก 3 เดือน จึงจะสอบ เราก็คงยังไม่ดูหนังสือ แต่ถ้าสัปดาห์หน้า จะสอบเราก็คงต้องดูหนังสืออย่างเต็มที่ ที่ปรึกษาก็เหมือนกับการสอบนั่นเอง
Q13) Focus Improvement คืออะไร
A13) การปรังปรุงทุกอย่างเป็น Improvement ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปลด Tag ก็เป็นการปรับปรุง เพื่อให้เครื่องจักรดีขึ้น แต่คำว่า Focus คือ เฉพาะเรื่อง นั่นคือ เราต้องเลือกเรื่องที่เราคิดว่าเป็นปัญหา และมาทำการปรับปรุง เพื่อแก้ปัญหานั้น โดยแก้ไขไปทีละเรื่อง เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไปทีละเรื่องเช่นกัน
Q14) การทำ Focus Improvement ต่างจากการทำ QCC อย่างไร
A14) เหมือนกัน แต่การทำ QCC อาจเพียงแค่ลดปัญหาลงได้ตามเป้าหมายก็จบ แต่ Focus Improvement จะทำเรื่องนั้น จนกว่าจะสามารถลดปัญหาลง จนเป็นศูนย์ให้ได้
Q15) ขั้นตอนการทำ Focus Improvement เหมือนกับ AM หรือไม่
A15) ถ้าจะบอกว่ามีขั้นตอน หรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามี แต่คงต่างจาก AM เพราะขั้นตอนของ Focus Improvement จะเริ่มจาก
เลือกปัญหาที่จะทำ
กำหนด / เลือกทีมงาน
เข้าใจสภาพปัญหา และชี้ประเด็นของปัญหา
ทำความเข้าใจหลักการทำงาน
กำหนดเป้าหมาย และแผนงาน
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
วางมาตรการแก้ไข และป้องกัน
ลงมือปฏิบัติ
วัดผลที่ได้ตลอดการทำงาน
จัดทำมาตรฐาน เพื่อไม่ให้ปัญหากลับมาเกิดซ้ำ
Q16) การดำเนินการเสาหลัก Planned Maintenance มีวัตถุประสงค์อย่างไร
A16) การดำเนินการ Planned Maintenance นั้นเพื่อต้องการให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำที่สุด ดังนั้นในการกำหนดการบำรุงรักษานั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นส่วนด้วย เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา สูงเกินไป
Q17) การบำรุงรักษามีกี่ประเภท
A17) สามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้.-
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
การบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance)
การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Base Maintenance)
การบำรุงรักษาเมื่อเครื่องหยุด (Breakdown Maintenance)
การปรับปรุงแก้ไข (Corrective Maintenance)
Q18) Breakdown Maintenance จัดเป็นการบำรุงรักษาหรือไม่
A18) เป็นคำถามที่ดีมาก หลายคนคิดว่าวัตถุประสงค์ของการวางแผนการบำรุงรักษานั้นคือ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ดังนั้น Breakdown Maintenance จึงเป็นการบำรุงรักษาไม่ได้ แต่แท้จริงแล้ว Breakdown Maintenance เป็นการบำรุงรักษาเชิงวางแผนอย่างหนึ่ง คือวางแผนว่าจะให้เครื่องจักรนั้น Breakdown แล้วจึงทำการซ่อม ดังนั้นเครื่องจักรที่ใช้การบำรุงรักษาแบบนี้ จะเป็นเครื่องจักรที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก คงไม่มีใคร ที่จะทำการเปลี่ยนหลอดไฟที่บ้าน เมื่อมีอายุครบ 6 เดือน เพราะถ้าเสียเมื่อใด เราก็สามารถหาซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนได้ โดยใช้เวลาไม่มาก และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า การที่เราจะเปลี่ยนก่อนที่จะเสีย นั่นคือ เรากำหนดให้หลอดไฟของเรา มีการบำรุงรักษาแบบ Breakdown Maintenance
Q19) เมื่อเกิด Breakdown ขึ้นใครควรต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ
A19) เมื่อคุณไม่สบาย ใครเป็นผู้รับผิดชอบ หมอ หรือตัวคุณเอง หากรถที่คุณใช้อยู่เป็นประจำเสียขึ้นมา ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ช่าง หรือตัวคุณเอง ดังนั้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อเครื่องจักรเกิดเสียขึ้นมา ก็คงต้องเป็นผู้ที่ใช้เครื่อง ส่วนการที่จะวินิจฉัยว่า เสียที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของช่าง ที่จำทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ และการป้องกัน ผู้ที่ใช้เครื่อง ต้องเป็นผู้ที่บอกอาการสำรวจ ตรวจตาจุดต่าง ๆให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ และตรวจหาความผิดปรกติ ก่อนที่จะทำให้เกิดเครื่องเสียขึ้นได้
Q20) ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการวางแผนบำรุงรักษาจำเป็นต้องมีหรือไม่
A20) ถ้าหมายถึง CMMS หรือ Computerize Maintenance Management System จะว่าจำเป็น ก็คงไม่ใช่ แต่เป็นของที่ทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ลองนึกภาพถึงการที่เราต้องเก็บข้อมูล ของการบำรุงรักษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติการซ่อมที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา อะไหล่ที่ใช้ไปกับเครื่องจักรนั้น ๆ ไว้ในแฟ้ม ก็ยังสามารถที่จะทำงานได้ แต่ถ้ามีก็ดีกว่า แต่ไม่ใช่เรื่องจำเป็น
Q21) การวัดความสามารถของพนักงานวัดอย่างไร
A21) เมื่อพูดถึงการวัด ก็ต้องมีเกณฑ์ที่จะใช้วัดที่เป็นตัวเลข ดังนั้นการวัดความสามาถ ก็อาจมาจากการใช้ข้อสอบ หรือได้จากการสอบสัมภาษณ์ ถึงสถานะการณ์ต่างๆ ว่ามีความเข้าใจในการทำงานมากน้อยขนาดไหน จะใช้วิธีการใดในการวัดก็ได้ แต่การวัดนั้นต้องสามารถให้แยกออก ระหว่างผู้ที่รู้ กับผู้ที่ไม่รู้ หากการใช้ข้อสอบ และทุกคนสอบได้คะแนนสูง ทุกคนก็คงต้องกลับมาดูที่ข้อสอบอาจง่ายเกินไป หรือเกิดได้คะแนนน้อยทุกคน ก็คงเป็นไปในทางตรงกันข้าม
Q22) การแบ่งระดับความรู้ของพนักงานออกเป็นระดับแบ่งอย่างไร
A22) ต้องเข้าใจก่อนว่าการแบ่งมี 5 ระดับ ดังนี้.-
ระดับ 0 คือ ไม่รู้อะไรเลย
ระดับ 1 คือ รู้ในทางทฤษฎี
ระดับ 2 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม
ระดับ 3 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ระดับ 4 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้ และสอนผู้อื่นได้
ดังนั้นการแบ่งพนักงานโดยคร่าว ๆ ก็สามารถแบ่งได้ว่า
เมื่อเข้ามาทำงานใหม่ ก็จะเป็นระดับ 0 และ
เมื่อเรียนรู้ว่าทำอย่างไรโดยการสอนงาน และทำข้อสอบก็จะเป็นระดับ 1
เมื่อให้ออกไปทำงาน และแต่ยังคล่อง ก็จะเป็นระดับ 2
เมื่อสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ก็จะเป็นระดับ 3
และเมื่อพร้อมที่จะมาสอน ให้กับพนักงานใหม่ ก็จะเป็นระดับ 4
ซึ่งนี่จะเป็นการแบ่งแบบคร่าว ๆ เท่านั้นในการดำเนินการ ต้องลงรายละเอียดกันเป็นแต่ละกรณี แต่ละเรื่องลงไปว่าจะวัดอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินเครื่อง การดำเนินการความปลอดภัย ซึ่งก็ต้องแยกกันในแต่ละหัวข้อ
Q23) หากจะดำเนินการเสาหลัก Quality Maintenance จะต้องทำอย่างไร
A23) ขอแสดงความยินดีครับ ที่ท่านคิดจะทำ Quality Maintenance เพราะเสาหลักนี้ จะเป็นการรวบรวม การดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละเสาหลัก มารวมกันไว้ เพราะจะใช้เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ ในการคิด ความเข้าใจในเครื่องจักร ความรู้ในทางสถิติ ความอดทนของคนที่ทำในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นการนำทุกอย่างที่ได้ ทำไปมารวมกันไว้ เพื่อแก้ปัญหา
เริ่มต้นจากการที่ต้องศึกษาปัญหาด้านคุณภาพก่อน ว่ามีเรื่องใด ที่เป็นปัญหา ในลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ แต่ปริมาณ หรือความรุนแรงไม่มาก หรือที่เราเรียกว่า Chronic ว่ามีปัญหาอะไร จากนั้นก็เลือกปัญหามาตามความสามารถที่เรามีอยู่ ว่าจะทำเรื่องใด อย่าเลือกเพราะว่ายากดีเ พราะจะทำให้ล่มได้ จากนั้นทำการศึกษาว่าปัจจัยการผลิตใด ที่มีผลต่อปัญหานั้น ๆ ซึ่งก็คือ Man Machine Material Method โดยดูว่าเราสามารถควบคุมทุกปัจจัยได้ทั้งหมด หรือไม่ หากไม่ ก็ต้องทำการควบคุมให้ได้ก่อน เมื่อทำได้แล้ว ก็มาดำเนินการศึกษาว่า ปัจจัยนั้น ๆ มีสิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพนั้นอย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น หรือที่เรียกว่าศึกษาพารามิเตอร์ แต่ละตัวว่ามีความสัมพันธ์ กับปัญหาอย่างไร (X-Matrix) ทำการกำหนดขอบเขตของค่าควบคุม หรือพารามิเตอร์แต่ละตัว โดยใช้ผังควบคุมเข้าช่วย ในการติดตามการควบคุมนั้น ๆ เพื่อให้เกิดผลที่ตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็จะต้องควบคุมค่าความสามารถของกระบวนการ หรือ Cpk ให้ได้
Q24) ทำอย่างไรอุบัติเหตุจึงจะเป็นศูนย์
A24) อุบัติเหตุคือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้นหากต้องการให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ก็ต้องทำทุกอย่าง ให้เป็นสิ่งที่คาดคิดไว้ให้ได้ หรือที่เขาเรียกกันว่า ทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการทำงานนั่นเอง การเกิดอุบัติเหตุนั้นก็ได้รับการควบคุม
Q25) พนักงานไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบด้านความปลอดภัยจะทำอย่างไรดี
A25) การที่พนักงานไม่ทำตามกฎระเบียบ เพราะหัวหน้าไม่ดูแลครับ ทำไมบ้านเราขับรถกันตามถนน ชอบแซงออกขวา แล้วไปแทรกเข้าข้างหน้า ก็เพราะตำรวจไม่มาควบคุมการใช้กฎให้เข้มงวด นี่ก็เป็นเรื่องเดียวกันคือ ผู้ที่ถือกฎไม่บังคับใช้เอง และจะมาโทษใครกันอีก
Q26) อยู่สายสำนักงานจะช่วยทำ TPM ได้อย่างไร
A26) ขอบคุณครับที่สนใจเรื่องนี้ การที่สายสำนักงานนั้น จะช่วยในการดำเนินการ เพื่อให้สายโรงงานทำงานได้สะดวกขึ้น เป็นเรื่องที่หาได้ยาก แต่การดำเนินการนั้น ต้องอาศัยสายสำนักงานในการสนับสนุน เรื่องของข้อมูลในการดำเนินการอย่างมาก เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องของข้อมูลแล้ว สายสำนักงาน ยังช่วยในเรื่องการคำนวณผลของการดำเนินการ ว่าวัดอย่างไร และถูกต้อง หรือไม่ นอกจากนี้ยังช่วยในการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการวางแผนการทำ AM หรือ PM อีกด้วย จะเห็นว่า หน่วยงานสำนักงานนั้น เป็นเสมือนทัพหลังในการส่งกำลังบำรุง ให้สายโรงงานดำเนินการได้อย่างคล่องตัว
Q27) บริษัทฯ ต้องแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่รับ TPM โดยเฉพาะหรือไม่
A27) คงถามถึงตำแหน่ง ผู้ประสานงาน TPM ตำแหน่งนี้ ชื่อบอกว่าเป็นผู้ประสานงาน แต่ทุกคนจะมองว่าเป็นผู้รับผิดชอบ TPM ทั้งหมด ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ เพราะเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร TPM ตัวแรกคือ T ที่มาจาก Total คือทุกคน ดังนั้นผู้รับผิดชอบ TPM คือพนักงานทุกคนไม่ใช้คน ๆ นี้เท่านั้น ผู้ประสานงาน TPM นั้นจะเป็นผู้ที่คอยรวบรวมผลการดำนินการ รายงานผลการดำเนินการ ให้ผู้บริหารรับทราบ เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำในการดำเนินการ เป็นผู้ที่ประสานงานระหว่างผู้ที่ทำ กับที่ปรึกษา เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำงานจึงไม่มีอำนาจในการสั่งการ เพราะเป็นเพียงผู้ประสานงานเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาในการดำเนินการ กลับไปโทษที่ผู้ประสานงาน TPM ดังนั้นคำถามที่ว่า “ต้องแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่รับ TPM โดยเฉพาะ หรือไม่” คำตอบคือใช่ และไม่ใช่ เพราะต้องแต่งตั้งใครสักคน ที่รับผิดชอบในการติดต่อ ติดตาม ประสานงานในการดำเนินการ แต่ไม่ใช่ทำงานนั้นอย่างเดียว ควรต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการด้วย เช่นเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นผู้จัดการซ่อมบำรุง หรือผู้จัดการวิศวกรรม เพื่อให้มีอำนาจสั่งการได้ในบางส่วน เป็นผู้ประสานงาน TPM ไปด้วย และให้มีผู้ช่วยสักคนหนึ่ง เพื่อเป็นคนทำข้อมูลส่งให้ และดูแลงานด้านธุรการต่าง ๆ
ส่วนไฟล์เอกสาร หรือฟอร์มต่างไม่มีที่เป็นแบบเฉพาะครับ ที่ผมทำอยู่ปัจจุบันคือพยายาม(AM)เอาไปแทรกในกิจกรรม
ที่ทำอยู่เป็นประจำ เช่นเอาไปแทรกในกิจกรรม 5ส. ก่อนและหลังทำงาน หรือแทรกในกิจกรรม line setup ประจำวัน
เอางี้ละกันครับ ผมขออนุญาตลง FAQ ที่ได้มาจากTPMthai.com นะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์
==========================================================================
Q1) การทำ TPM ต่างจากการทำ การบำรุงรักษาทั่วไปอย่างไร?
A1) วัตถุประสงค์ของ TPM ต้องการให้เกิด 3 ศูนย์ คือ เครื่องเสียเป็นศูนย์ อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ ซึ่งอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกแผนก พร้อมทั้งการให้การสนับสนุน จากผู้บริหารทุกระดับ จากบนสุดถึงพนักงานระดับล่าง และใช้กลุ่มย่อยเป็นหลักในการดำเนินการ จากความหมายของ TPM การดำเนินการ TPM จึงทั้งลึก และกว้างกว่าการบำรุงรักษาธรรมดา ที่ต้องการเพียงแค่ ทำไปตามคาบเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น การบำรุงรักษาโดยทั่วไป จะเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ในการดำเนินการของ TPM เพื่อให้เกิดเครื่องเสียเป็นศูนย์เท่านั้น
Q2) ทำไมต้องทำ TPM
A2) หากหน่วยงานของท่าน เป็นงานที่ขายได้โดยไม่ต้องแข่งขัน ก็ไม่แนะนำให้ทำ TPM เพราะจะเป็นการเสียเวลาเปล่า เอาเวลาที่มี ไปใช้ในการผลิตดีกว่า แต่หากท่านเป็นหน่วยงานที่มีการแข่งขัน ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้พนักงานทุกคน หันกลับมามองที่ปัจจุบันตรงหน้าของพนักงานคือ เครื่องจักรว่ามันสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แล้วหรือยัง หากยังจะทำอย่างไรให้ใช้งานได้เต็มที่ และที่สำคัญคือการให้พนักงาน ที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ได้มีโอกาสพัฒนา เป็นผู้ที่มีความสามารถมากขึ้น และกลับมาพัฒนางานที่ตนเองทำ และบริษัทฯ ให้ดีขึ้นตามมา การดำเนินการของ TPM นั้นเน้นที่หน้างานที่พนักงาน ทำงานให้มีสภาพที่ดีขึ้น และเน้นจากภายในองค์กรไปสู่ภายนอก
Q3) ถ้าจะทำ TPM จะเริ่มที่ไหน
A3) เริ่มผู้บริหารสูงสุดที่นั่งอยู่ที่บริษัทฯ เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากผู้บริหารสูงสุดเข้าใจ เอาจริง เอาจัง ก็สำเร็จหมด แต่ถ้าไม่เอาไม่เข้าใจ และมีแต่ คุณ-นะ-ทำ ก็แทบไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จ หากผู้บริหารต้องการทำ ต่อมาก็ต้องเริ่มที่หน่วยงานช่าง เพราะถ้าหน่วยงานนี้เข้าใจว่า การที่ทำ TPM จะเป็นการช่วยให้ช่างทำงานเบาลง เพราะงานบางอย่าง จะถูกส่งไปให้พนักงานคุมเครื่องทำ และช่างต้องเปลี่ยนมาทำงาน ในลักษณะที่เป็นงานวางแผนมากขึ้น เป็นการสอนงานมากขึ้น ก็จะสามารถดำเนินการได้ เพราะถ้าช่างยังคิดว่าพนักงานผลิต ชอบทำเครื่องเสีย เดินเครื่องไม่ถูกต้อง พนักงานเดินเครื่องไม่ฉลาดพอ ก็จะทำให้ช่างไม่อยากถ่ายทอดความรู้ไปให้พนักงานเดินเครื่องได้ เพราะทัศนคติที่ผิดนี้ การเริ่มที่พนักงานผลิต จะไม่ใช่เรื่องยากหากช่างช่วยในการแนะนำ และพร้อมที่จะเป็นผู้ฟูมฟัก (Mentor) ให้พนักงานเดินเครื่องให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
Q4) ถ้าจะทำแต่ AM อย่างเดียวได้ไหม ไม่อย่างทำเสาหลักอื่น
A4) วัตถุประสงค์คืออะไร ถ้าต้องการได้รับการรับรองว่าทำ TPM ก็ไม่ได้ ต้องทำทุกเสาหลัก แต่ถ้าต้องการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เพื่อให้พนักงานเดินเครื่อง มีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหา ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใดกำหนดไว้ แต่เมื่อทำไปแล้วจะพบว่า เสาหลักอื่นจะขึ้นมาเอง เช่น เมื่อทำ AM ไปได้สักระยะหลังจากที่ติด Tag ไป ก็ต้องการปลด Tag และไม่อยากให้ปัญหาเดิมกลับมาเกิดขึ้นอีก ก็ต้องมีการบำรุงรักษาตามคาบเวลา ซึ่งนั่นก็คือ Planned Maintenance และหากทำไปเรื่อยๆ เริ่มมี Idea ที่จะทำการปรับปรุง โมดิฟายด์เครื่องจักนั่นก็คือ Focus Improvement นั่นเอง ซึ่งถ้าจะบอกว่าไม่ทำ ก็ได้ แต่ในความเป็นจริงก็ต้องทำอยู่ดี
Q5) Tag ติดที่ไหนได้บ้าง
A5) Tag คือป้ายที่เรานำไปติดไว้ เพื่อชี้บ่งปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนั้น Tag ควรนำไปติดไว้ที่จุดที่เป็นปัญหา และจุดใดบ้างที่สามารถติด Tag ได้ ขอให้ยึดหลักดังนี้ จุดที่เป็นสิ่งที่ผิดปรกติ, จุดที่เข้าถึงได้ยาก, จุดที่ทำความสะอาดยาก, จุดที่เป็นที่มาของความสกปรก, จุดที่เป็นจุดอันตราย, จุดที่มีการรั่วไหล, จุดที่ทำให้เกิดของเสีย, สิ่งที่ไม่ได้ใช้งาน, จุดที่ขาดการหล่อลื่นหรือหล่อลื่นมากเกินไป, จุดที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็นที่มา ของการเสียหายของเครื่องจักรต่อไปในอนาคตได้
Q6) ใครควรเป็นคนติด Tag
A6) ใครก็ได้ที่พบสิ่งผิดปรกติ โดยเฉพาะผู้บริหาร เพราะถ้าผู้บริหารติด Tag พนักงานก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ อย่าลืมว่าลูกน้องทำตามลูกพี่เสมอ
Q7) One Point Lesson เขียนอย่างไร
A7) ขอให้ยึดหลักในการเขียนดังนี้.-
เน้นรูปมากกว่าข้อความ
หากวาดรูปได้จะดีกว่าถ่ายรูปมา โดยเฉพาะเรื่องชิ้นส่วนเครื่องจักร เนื่องจากจะเป็นการทำความเข้าใจเครื่องจักร ในระหว่างที่วาดรูปด้วย
ใช้ภาษาที่เข้าใจกันได้ในหน่วยงาน เพราะเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่าย
ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจได้ ในเวลามาเกิน 10 นาที
ควรเป็นเรื่องเดียว เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ในเวลาอันสั้น
Q8) One Point Lesson ควรเขียนเรื่องอะไร
A8) เขียนเรื่องอะไรก็ได้ที่ต้องการสื่อสารให้ คนที่อยู่ในหน่วยงานทราบ เช่นเรื่องที่ควรรู้ เรื่องที่เคยเกิดความผิดพลาด เรื่องความปลอดภัย เรื่องที่เป็นข้อควรระวัง เป็นต้น
Q9) ใครควรเป็นคนเขียน One Point Lesson
A9) ใครก็ได้ที่ต้องการสื่อสารเรื่องนั้นๆ ให้ผู้อื่นทราบ หากเป็นพนักงานเดินเครื่องสื่อสาร ไปที่พนักงานเดินเครื่อง ก็เขียนโดยใช้ภาษาที่เข้าใจกันในกลุ่มได้เลย หากเป็นช่างต้องการสื่อสาร ไปที่พนักงานเดินเครื่อง ก็ควรให้ช่างมาแนะนำวิธีเขียน และอธิบายให้พนักงานเดินเครื่องสักคนหนึ่งเข้าใจ และเขียนออกมาเป็นภาษาของพนักงานเดินเครื่อง จะเห็นได้ว่า เป็นทั้งการให้ช่าง และพนักงานเดินเครื่อง ได้ถ่ายทอดความรู้กัน พนักงานเดินเครื่อง ก็มีความภูมิใจที่ได้แนะนำในเรื่องใหม่ ให้เพื่อนๆรู้ด้วย เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
Q10) การทำ AM มี 7 ขั้นตอนอะไรบ้าง
A10) 7 ขั้นตอนของการทำ AM ดังนี้.-
การทำความสะอาดเครื่องจักร
การขจัดที่มาของการปนเปื้อนของเครื่องจักร และขจัดจุดที่ยากต่อการเข้าถึง
การสร้างมาตรฐานการตรวจสอบชั่วคราว
การตรวจสอบทั่วไป
การตรวจสอบด้วยตนเองโดยอัตโนมัติ
การจัดการสถานที่ทำงานด้วยตนเอง
การบริหารจัดการด้วยตนเอง
Q11) การทำ AM ต้องทำทีละขั้นหรือไม่ทำทีเดียว 7 ขั้นตอนเลยได้ไหม
A11) ต้องทำทีละขั้น ไม่สามารถทำข้ามขั้นตอนได้ หากมองให้ลึกจะเห็นว่าการทำ AM ไม่ใช่การทำเพื่อให้เครื่องจักรดีเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาพนักงานให้มีคิดเป็น วางแผนเป็น เป็นใช้เครื่องจักเป็นเครื่องมือในการฝึกคน ตั้งแต่เริ่มมองหาปัญหา ที่ขั้นตอนที่ 1 คือทำความสะอาดหากสิ่งผิดปรกติ จนมาขั้นที่ 2 หาสาเหตุของปัญหาที่พบในขั้นตอนที่ 1 ว่ามาจาก ความผิดพลาดเรื่องใด และทำอย่างไรไม่ให้ปัญหานั้น กลับมาเกิดขึ้นอีกโดยการจัดทำมาตรฐานชั่วคราว ในขั้นตอนที่ 3 จะเห็นว่าเพียง 3 ขั้นตอนก็เปลี่ยนวิธีคิดของพนักงานไปในระดับหนึ่งแล้ว
Q12) จำเป็นไหมที่ในการทำ TPM ต้องมีที่ปรึกษา
A12) ที่ปรึกษามีหน้าที่ในการแนะนำ และช่วยในการแก้ปัญหา การดำเนินการนั้น ต้องให้หน่วยงานเป็นผู้ดำเนินการเอง ที่ปรึกษาไม่สามารถที่จะไปสั่งให้ทำอะไร หรือไม่ทำอะไรได้ เพราะหน่วยงานเองรู้ดีที่สุดว่า ตอนนี้ต้องการอะไร และปัญหาอยู่ที่ใด แต่โดยมากแล้วการทำอะไรก็ตาม คนภายในด้วยกันมักไม่ฟังกันเอง จึงต้องมีคนนอกมาบอก มาเป็นผู้ตัดสินข้อขัดแย้ง และมาคอยติดตามความคืบหน้า ลองนึกดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าอีก 3 เดือน จึงจะสอบ เราก็คงยังไม่ดูหนังสือ แต่ถ้าสัปดาห์หน้า จะสอบเราก็คงต้องดูหนังสืออย่างเต็มที่ ที่ปรึกษาก็เหมือนกับการสอบนั่นเอง
Q13) Focus Improvement คืออะไร
A13) การปรังปรุงทุกอย่างเป็น Improvement ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการปลด Tag ก็เป็นการปรับปรุง เพื่อให้เครื่องจักรดีขึ้น แต่คำว่า Focus คือ เฉพาะเรื่อง นั่นคือ เราต้องเลือกเรื่องที่เราคิดว่าเป็นปัญหา และมาทำการปรับปรุง เพื่อแก้ปัญหานั้น โดยแก้ไขไปทีละเรื่อง เพื่อให้ปัญหานั้นหมดไปทีละเรื่องเช่นกัน
Q14) การทำ Focus Improvement ต่างจากการทำ QCC อย่างไร
A14) เหมือนกัน แต่การทำ QCC อาจเพียงแค่ลดปัญหาลงได้ตามเป้าหมายก็จบ แต่ Focus Improvement จะทำเรื่องนั้น จนกว่าจะสามารถลดปัญหาลง จนเป็นศูนย์ให้ได้
Q15) ขั้นตอนการทำ Focus Improvement เหมือนกับ AM หรือไม่
A15) ถ้าจะบอกว่ามีขั้นตอน หรือไม่ ก็ต้องตอบว่ามี แต่คงต่างจาก AM เพราะขั้นตอนของ Focus Improvement จะเริ่มจาก
เลือกปัญหาที่จะทำ
กำหนด / เลือกทีมงาน
เข้าใจสภาพปัญหา และชี้ประเด็นของปัญหา
ทำความเข้าใจหลักการทำงาน
กำหนดเป้าหมาย และแผนงาน
วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา
วางมาตรการแก้ไข และป้องกัน
ลงมือปฏิบัติ
วัดผลที่ได้ตลอดการทำงาน
จัดทำมาตรฐาน เพื่อไม่ให้ปัญหากลับมาเกิดซ้ำ
Q16) การดำเนินการเสาหลัก Planned Maintenance มีวัตถุประสงค์อย่างไร
A16) การดำเนินการ Planned Maintenance นั้นเพื่อต้องการให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำที่สุด ดังนั้นในการกำหนดการบำรุงรักษานั้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นส่วนด้วย เพื่อไม่ให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา สูงเกินไป
Q17) การบำรุงรักษามีกี่ประเภท
A17) สามารถแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้.-
การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)
การบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance)
การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Base Maintenance)
การบำรุงรักษาเมื่อเครื่องหยุด (Breakdown Maintenance)
การปรับปรุงแก้ไข (Corrective Maintenance)
Q18) Breakdown Maintenance จัดเป็นการบำรุงรักษาหรือไม่
A18) เป็นคำถามที่ดีมาก หลายคนคิดว่าวัตถุประสงค์ของการวางแผนการบำรุงรักษานั้นคือ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ดังนั้น Breakdown Maintenance จึงเป็นการบำรุงรักษาไม่ได้ แต่แท้จริงแล้ว Breakdown Maintenance เป็นการบำรุงรักษาเชิงวางแผนอย่างหนึ่ง คือวางแผนว่าจะให้เครื่องจักรนั้น Breakdown แล้วจึงทำการซ่อม ดังนั้นเครื่องจักรที่ใช้การบำรุงรักษาแบบนี้ จะเป็นเครื่องจักรที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก คงไม่มีใคร ที่จะทำการเปลี่ยนหลอดไฟที่บ้าน เมื่อมีอายุครบ 6 เดือน เพราะถ้าเสียเมื่อใด เราก็สามารถหาซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนได้ โดยใช้เวลาไม่มาก และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า การที่เราจะเปลี่ยนก่อนที่จะเสีย นั่นคือ เรากำหนดให้หลอดไฟของเรา มีการบำรุงรักษาแบบ Breakdown Maintenance
Q19) เมื่อเกิด Breakdown ขึ้นใครควรต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ
A19) เมื่อคุณไม่สบาย ใครเป็นผู้รับผิดชอบ หมอ หรือตัวคุณเอง หากรถที่คุณใช้อยู่เป็นประจำเสียขึ้นมา ใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ช่าง หรือตัวคุณเอง ดังนั้นผู้ที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อเครื่องจักรเกิดเสียขึ้นมา ก็คงต้องเป็นผู้ที่ใช้เครื่อง ส่วนการที่จะวินิจฉัยว่า เสียที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นอีก ก็คงต้องเป็นหน้าที่ของช่าง ที่จำทำการวิเคราะห์หาสาเหตุ และการป้องกัน ผู้ที่ใช้เครื่อง ต้องเป็นผู้ที่บอกอาการสำรวจ ตรวจตาจุดต่าง ๆให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ และตรวจหาความผิดปรกติ ก่อนที่จะทำให้เกิดเครื่องเสียขึ้นได้
Q20) ระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการวางแผนบำรุงรักษาจำเป็นต้องมีหรือไม่
A20) ถ้าหมายถึง CMMS หรือ Computerize Maintenance Management System จะว่าจำเป็น ก็คงไม่ใช่ แต่เป็นของที่ทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ลองนึกภาพถึงการที่เราต้องเก็บข้อมูล ของการบำรุงรักษามากมาย ไม่ว่าจะเป็นประวัติการซ่อมที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา อะไหล่ที่ใช้ไปกับเครื่องจักรนั้น ๆ ไว้ในแฟ้ม ก็ยังสามารถที่จะทำงานได้ แต่ถ้ามีก็ดีกว่า แต่ไม่ใช่เรื่องจำเป็น
Q21) การวัดความสามารถของพนักงานวัดอย่างไร
A21) เมื่อพูดถึงการวัด ก็ต้องมีเกณฑ์ที่จะใช้วัดที่เป็นตัวเลข ดังนั้นการวัดความสามาถ ก็อาจมาจากการใช้ข้อสอบ หรือได้จากการสอบสัมภาษณ์ ถึงสถานะการณ์ต่างๆ ว่ามีความเข้าใจในการทำงานมากน้อยขนาดไหน จะใช้วิธีการใดในการวัดก็ได้ แต่การวัดนั้นต้องสามารถให้แยกออก ระหว่างผู้ที่รู้ กับผู้ที่ไม่รู้ หากการใช้ข้อสอบ และทุกคนสอบได้คะแนนสูง ทุกคนก็คงต้องกลับมาดูที่ข้อสอบอาจง่ายเกินไป หรือเกิดได้คะแนนน้อยทุกคน ก็คงเป็นไปในทางตรงกันข้าม
Q22) การแบ่งระดับความรู้ของพนักงานออกเป็นระดับแบ่งอย่างไร
A22) ต้องเข้าใจก่อนว่าการแบ่งมี 5 ระดับ ดังนี้.-
ระดับ 0 คือ ไม่รู้อะไรเลย
ระดับ 1 คือ รู้ในทางทฤษฎี
ระดับ 2 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม
ระดับ 3 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
ระดับ 4 คือ รู้ และสามารถปฏิบัติได้ และสอนผู้อื่นได้
ดังนั้นการแบ่งพนักงานโดยคร่าว ๆ ก็สามารถแบ่งได้ว่า
เมื่อเข้ามาทำงานใหม่ ก็จะเป็นระดับ 0 และ
เมื่อเรียนรู้ว่าทำอย่างไรโดยการสอนงาน และทำข้อสอบก็จะเป็นระดับ 1
เมื่อให้ออกไปทำงาน และแต่ยังคล่อง ก็จะเป็นระดับ 2
เมื่อสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ก็จะเป็นระดับ 3
และเมื่อพร้อมที่จะมาสอน ให้กับพนักงานใหม่ ก็จะเป็นระดับ 4
ซึ่งนี่จะเป็นการแบ่งแบบคร่าว ๆ เท่านั้นในการดำเนินการ ต้องลงรายละเอียดกันเป็นแต่ละกรณี แต่ละเรื่องลงไปว่าจะวัดอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินเครื่อง การดำเนินการความปลอดภัย ซึ่งก็ต้องแยกกันในแต่ละหัวข้อ
Q23) หากจะดำเนินการเสาหลัก Quality Maintenance จะต้องทำอย่างไร
A23) ขอแสดงความยินดีครับ ที่ท่านคิดจะทำ Quality Maintenance เพราะเสาหลักนี้ จะเป็นการรวบรวม การดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละเสาหลัก มารวมกันไว้ เพราะจะใช้เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ ในการคิด ความเข้าใจในเครื่องจักร ความรู้ในทางสถิติ ความอดทนของคนที่ทำในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นการนำทุกอย่างที่ได้ ทำไปมารวมกันไว้ เพื่อแก้ปัญหา
เริ่มต้นจากการที่ต้องศึกษาปัญหาด้านคุณภาพก่อน ว่ามีเรื่องใด ที่เป็นปัญหา ในลักษณะที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ แต่ปริมาณ หรือความรุนแรงไม่มาก หรือที่เราเรียกว่า Chronic ว่ามีปัญหาอะไร จากนั้นก็เลือกปัญหามาตามความสามารถที่เรามีอยู่ ว่าจะทำเรื่องใด อย่าเลือกเพราะว่ายากดีเ พราะจะทำให้ล่มได้ จากนั้นทำการศึกษาว่าปัจจัยการผลิตใด ที่มีผลต่อปัญหานั้น ๆ ซึ่งก็คือ Man Machine Material Method โดยดูว่าเราสามารถควบคุมทุกปัจจัยได้ทั้งหมด หรือไม่ หากไม่ ก็ต้องทำการควบคุมให้ได้ก่อน เมื่อทำได้แล้ว ก็มาดำเนินการศึกษาว่า ปัจจัยนั้น ๆ มีสิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพนั้นอย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่ควรจะเป็น หรือที่เรียกว่าศึกษาพารามิเตอร์ แต่ละตัวว่ามีความสัมพันธ์ กับปัญหาอย่างไร (X-Matrix) ทำการกำหนดขอบเขตของค่าควบคุม หรือพารามิเตอร์แต่ละตัว โดยใช้ผังควบคุมเข้าช่วย ในการติดตามการควบคุมนั้น ๆ เพื่อให้เกิดผลที่ตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็จะต้องควบคุมค่าความสามารถของกระบวนการ หรือ Cpk ให้ได้
Q24) ทำอย่างไรอุบัติเหตุจึงจะเป็นศูนย์
A24) อุบัติเหตุคือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้นหากต้องการให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ก็ต้องทำทุกอย่าง ให้เป็นสิ่งที่คาดคิดไว้ให้ได้ หรือที่เขาเรียกกันว่า ทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการทำงานนั่นเอง การเกิดอุบัติเหตุนั้นก็ได้รับการควบคุม
Q25) พนักงานไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบด้านความปลอดภัยจะทำอย่างไรดี
A25) การที่พนักงานไม่ทำตามกฎระเบียบ เพราะหัวหน้าไม่ดูแลครับ ทำไมบ้านเราขับรถกันตามถนน ชอบแซงออกขวา แล้วไปแทรกเข้าข้างหน้า ก็เพราะตำรวจไม่มาควบคุมการใช้กฎให้เข้มงวด นี่ก็เป็นเรื่องเดียวกันคือ ผู้ที่ถือกฎไม่บังคับใช้เอง และจะมาโทษใครกันอีก
Q26) อยู่สายสำนักงานจะช่วยทำ TPM ได้อย่างไร
A26) ขอบคุณครับที่สนใจเรื่องนี้ การที่สายสำนักงานนั้น จะช่วยในการดำเนินการ เพื่อให้สายโรงงานทำงานได้สะดวกขึ้น เป็นเรื่องที่หาได้ยาก แต่การดำเนินการนั้น ต้องอาศัยสายสำนักงานในการสนับสนุน เรื่องของข้อมูลในการดำเนินการอย่างมาก เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัญหาได้ง่ายขึ้น นอกจากเรื่องของข้อมูลแล้ว สายสำนักงาน ยังช่วยในเรื่องการคำนวณผลของการดำเนินการ ว่าวัดอย่างไร และถูกต้อง หรือไม่ นอกจากนี้ยังช่วยในการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับการวางแผนการทำ AM หรือ PM อีกด้วย จะเห็นว่า หน่วยงานสำนักงานนั้น เป็นเสมือนทัพหลังในการส่งกำลังบำรุง ให้สายโรงงานดำเนินการได้อย่างคล่องตัว
Q27) บริษัทฯ ต้องแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่รับ TPM โดยเฉพาะหรือไม่
A27) คงถามถึงตำแหน่ง ผู้ประสานงาน TPM ตำแหน่งนี้ ชื่อบอกว่าเป็นผู้ประสานงาน แต่ทุกคนจะมองว่าเป็นผู้รับผิดชอบ TPM ทั้งหมด ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบ เพราะเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร TPM ตัวแรกคือ T ที่มาจาก Total คือทุกคน ดังนั้นผู้รับผิดชอบ TPM คือพนักงานทุกคนไม่ใช้คน ๆ นี้เท่านั้น ผู้ประสานงาน TPM นั้นจะเป็นผู้ที่คอยรวบรวมผลการดำนินการ รายงานผลการดำเนินการ ให้ผู้บริหารรับทราบ เป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำในการดำเนินการ เป็นผู้ที่ประสานงานระหว่างผู้ที่ทำ กับที่ปรึกษา เมื่อเป็นเช่นนี้ การทำงานจึงไม่มีอำนาจในการสั่งการ เพราะเป็นเพียงผู้ประสานงานเท่านั้น แต่เมื่อเกิดปัญหาในการดำเนินการ กลับไปโทษที่ผู้ประสานงาน TPM ดังนั้นคำถามที่ว่า “ต้องแต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่รับ TPM โดยเฉพาะ หรือไม่” คำตอบคือใช่ และไม่ใช่ เพราะต้องแต่งตั้งใครสักคน ที่รับผิดชอบในการติดต่อ ติดตาม ประสานงานในการดำเนินการ แต่ไม่ใช่ทำงานนั้นอย่างเดียว ควรต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจในการสั่งการด้วย เช่นเป็นผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นผู้จัดการซ่อมบำรุง หรือผู้จัดการวิศวกรรม เพื่อให้มีอำนาจสั่งการได้ในบางส่วน เป็นผู้ประสานงาน TPM ไปด้วย และให้มีผู้ช่วยสักคนหนึ่ง เพื่อเป็นคนทำข้อมูลส่งให้ และดูแลงานด้านธุรการต่าง ๆ
Oooo
#4
Posted 05 November 2009 - 11:55 AM
ผมเองก็ผ่าน TPM มาแล้ว แต่ที่เคยทำมา TPM ก็ส่วน TPM แล้ว ISO ก็ส่วน ISO (บริษัท LPN)
แล้วผมเองก็มีแนวคิด จะรวบ ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน (ที่ทำงานใหม่) แต่จะยึด ISO เป็นหลักแล้วเอา TPM
มาปรับเข้ากับ ISO จะต้องมีการดำเนินการที่สอดคล้องกันมากขึ้น ในรูปแบบเดียวกัน ให้ทั้งสองอย่างมีความเด่นชัด
ท่านผู้อ่าน งง ไหมครับ ถ้าจะให้เข้าใจกันทุกคนเลยต้องเป็นคนที่เคยผ่านทั้งสองอย่างมาแล้ว ถึงจะ
มองภาพออก ที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นเพราะอย่างแลกเปลี่ยนแนวการจัดทำร่วมกัน
"เอา TPM มาใช้บางส่วน โดยไม่ขอรางวัล TPM"
แล้วผมเองก็มีแนวคิด จะรวบ ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน (ที่ทำงานใหม่) แต่จะยึด ISO เป็นหลักแล้วเอา TPM
มาปรับเข้ากับ ISO จะต้องมีการดำเนินการที่สอดคล้องกันมากขึ้น ในรูปแบบเดียวกัน ให้ทั้งสองอย่างมีความเด่นชัด
ท่านผู้อ่าน งง ไหมครับ ถ้าจะให้เข้าใจกันทุกคนเลยต้องเป็นคนที่เคยผ่านทั้งสองอย่างมาแล้ว ถึงจะ
มองภาพออก ที่เขียนกระทู้นี้ขึ้นเพราะอย่างแลกเปลี่ยนแนวการจัดทำร่วมกัน
"เอา TPM มาใช้บางส่วน โดยไม่ขอรางวัล TPM"
0 user(s) are reading this topic
0 members, 0 guests, 0 anonymous users