รบกวนพี่ ๆ หน่อยนะคะ
คืออยากทราบว่า โรงงานผลิตอาหารสามารถใช้รองเท้าผ้าใบ ของนันยางที่มีหูร้อยเชือกด้วยได้ใหมค่ะ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นคะ
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

รองเท้าผ้าใบสำหรับโรงงานอาหาร
Started by
aumi
, Mar 18 2010 03:58 PM
9 replies to this topic
#1
Posted 18 March 2010 - 03:58 PM
#2
Posted 18 March 2010 - 04:28 PM
QUOTE(aumi @ Mar 18 2010, 03:58 PM) <{POST_SNAPBACK}>
รบกวนพี่ ๆ หน่อยนะคะ
คืออยากทราบว่า โรงงานผลิตอาหารสามารถใช้รองเท้าผ้าใบ ของนันยางที่มีหูร้อยเชือกด้วยได้ใหมค่ะ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นคะ
คืออยากทราบว่า โรงงานผลิตอาหารสามารถใช้รองเท้าผ้าใบ ของนันยางที่มีหูร้อยเชือกด้วยได้ใหมค่ะ
ขอบคุณทุกความคิดเห็นคะ
ที่โรงงาน ใช้บัดดี้อ่ะค่ะ
แต่มีปัญหาใช้ไปนานๆ พื้นลื่นอ่ะคะ่
ตอนนี้ำกำลังหาใหม่เหมือนกัน
#3
Posted 18 March 2010 - 06:09 PM
เหมือนกันเลย ของเก่าเป็น บัดดี้ ค่ะ แต่มันไม่ค่อยทนพังง่ายมาก
ก็เลยอยากจะเปลี่ยนใหม่ค่ะ
ก็เลยอยากจะเปลี่ยนใหม่ค่ะ
#4
Posted 18 March 2010 - 10:37 PM
ขอแนะนำให้ใช้รองเท้ายางดีกว่าครับ สำหรับโรงงานที่ผลิตประเภท Seasoning powder หรือพวกผงแห้งต่างๆ
#5
Posted 19 March 2010 - 06:56 PM
ขอคุยด้วยคนครับ
1. รองเท้าสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ high care หน้าที่รองเท้าคือทำให้เท้าแห้ง ขณะที่ให้พื้นรองเท้าผ่านการล้างและฆ่าเชื้อในอ่าง ดังนั้น โรงงานประมงเยือกแข็ง แปรรูปเนื้อสัตว์ ต่างๆจึงใช้ บู๊ท
ในพื้นที่ low care ไม่จำเป็นต้องเป็น waterproof type เป็นรองเท้าธรรมดาก็ได้ ตามนิยามนี้ บางโรงงานอาจเป็น low care ทั้งโรงก้ได้นะครับ ตราบใดที่เป็น low care
ในกรณีที่ใช้รองเท้าผูกเชือก ปัญหาคือการปนเปื้อน ดังนั้นที่นั่งสำหรับใส่รองเท้า และ อุปกรณ์ในการล้างมือ ต้องพร้อม เพื่อป้องกันปนเปื้อน
2. สำหรับพื้นที่ทำงานที่แห้ง ทำไมชอบ บัดดี้ กัน
2.1 เหตุผลสำคัญสุดคือ ราคาถูก ด้วยเพราะมีการขายจำนวนมาก
เนื่องจากในอุตสาหกรรมไฟฟ้า/อีเลข มีการใช้ บัดดี้ด้วย
สมัยก่อน ฮิตเพราะ เป็น บัดดี้เป็นรองเท้า anti static ซึ่งอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอีเลขต้องเป็นชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (ในสายการผลิตแผ่นวงจรไฟฟ้า ประกอบ IC..)
ตอนนี้ บางผู้ผลิตบอกว่าเหมือน รองเท้า บัดดี้ แต่ไม่ anti static ซะแล้ว ......
พื้นรองเท้าบัดดี้ ไม่เหมาะกับพื้นคอนกรีด เหมาะกับพื้น poly เขียวๆ ในพื้นที่ผลิตเท่านั้น ตามวัตถุประสงค์การออกแบบรองเท้า ให้ใช้กับพื้นโรงงาน พื้นรองเท้าออกแบบมาให้บางๆ ตามวัตถุประสงค์ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ยิ่งเป็นของดีพื้นยิ่งบาง
โรงงานอาหาร ไม่ต้องเป็นรองเท้าที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ครับ
2.2 หากเป็นรองเท้าบัดดี้ พนักงานไม่ค่อยหมุนเอาของใหม่ไปใช้ที่บ้าน เอาไปขายต่อไม่ได้ เอาไปใช้บ้านก็ไม่เหมาะเนื่องจากสึกง่าย ไม่เหมือนรองเท้า safety ที่ของใหม่ๆ อาจกลายส่วนหนึ่งของรายได้ของพนักงาน ตัวพนักงานใส่แต่รองเท้าเก่าๆ กลายเป็นเรื่องสวัสดิ์การที่เลิกไม่ได้
3. สุขลักษณะเท้า
เท้าเป็นอวัยวะในร่างกายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขาภิบาลอาหาร พนักงานบางคนต้องยืนเกือบตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับเท้าได้ เช่น เท้าเปื่อย หรือ ฮ่องกงฟุต หากทำงานพื้นที่เปียกหรือมีความชื้น หรืออาจเป็นโรคอื่นๆจากเชื้อรา แบคที่เรีย
หากพนักงายเอามือไปเกาหรือสัมผัสเท้า แล้วสัมผัสอาหาร โดยเฉพาะ เชื้อ พวก Staphylococcus และ steptococcus.
โรคเชื้อราที่เท้าหรือน้ำกัดเท้าโดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องสวมรองเท้าทำงานทั้งวัน ทำให้เกิดความอับชื้น โดยมีอาการ ผื่นขึ้น ซึ่งมีได้หลายแบบ ได้แก่ ผื่นขาวยุ่ยที่ง่ามเท้า ตุ่มน้ำพองที่ฝ่าเท้า หรือฝ่าเท้าแดงมากเป็นขุย อาจมีโรคกลากของเล็บเท้าร่วมด้วย
การติดเชื้อส่วนใหญ่โดยการได้รับเชื้อราทางอ้อม เช่น การใส่รองเท้าถุงเท้าร่วมกัน หรือใช้ห้องน้ำร่วมกัน ซึ่งเชื้อราในสะเก็ดที่ตกหล่น อาจงอกงามอยู่ตามพื้นห้องน้ำที่แฉะๆ หรือได้รับเชื้อโดยตรงในคนที่ต้องลุยน้ำท่วม เดินเท้าเปล่าตามพื้นดินแฉะๆ มีโอกาสติดเชื้อราที่เท้าได้ จึงไม่ควรใช้รองเท้าร่วมกัน และควรล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้งที่เดินเท้าเปล่า อาจใช้แป้งโรยตามง่ามเท้าก่อนที่จะใส่รองเท้าเพื่อดูดความชื้น ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ไม่เพียงประเภทรองเท้า พื้นห้องน้ำ พื้นที่เปลี่ยนรองเท้า นโยบายเรื่องการใช้รองเท้าร่วมกัน การซักล้าง การวางรองเท้า มีส่วนสำคัญเช่นกัน
spec รองเท้า โรงงานอาหาร น่าจะ 1. ต้องไม่อับชื้นง่าย 2. ต้องป้องกันการลื่นหกล้ม 3. ใส่แล้วไม่เมื่อย หากต้องยืนอยู่กับที่นานๆ Ergo-design 4. สวมใส่ง่าย เพื่อลดการปนเปื้อนจากเท้าสู่มือ 5. แบ่งแยกพื้นที่ได้ ว่าใครทำงานที่ high/low/super-low care 6. ใส่แล้วสวย หล่อ
ถ้าเป็นไปได้เวลาเลือกรองเท้า ต้องเลือกรุ่นที่ระบายอากาศได้ดี รวมถึงรองเท้าที่มีการออกแบบที่ช่วยให้ยืนแล้วไม่เมื่อย จะเป็นการสร้างบุญกุศลครับ
...................
จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นข้อดีข้อเสีย ที่มาที่ไป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรองเท้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
หากเหมาะสมในแง่ food safety และลดต้นทุนของโรงงานได้ ก็เปลี่ยนเถอะครับ (ผมว่าหลังจากอ่านข้อ 2.2 แล้วบริษัทคุณอาจไม่อยากเปลี่ยน ฮิๆ)
หลายๆคน ไม่กล้าคิด
หลายๆคน คิด แต่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงครับ
ลุย ! เลยครับ
1. รองเท้าสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ high care หน้าที่รองเท้าคือทำให้เท้าแห้ง ขณะที่ให้พื้นรองเท้าผ่านการล้างและฆ่าเชื้อในอ่าง ดังนั้น โรงงานประมงเยือกแข็ง แปรรูปเนื้อสัตว์ ต่างๆจึงใช้ บู๊ท
ในพื้นที่ low care ไม่จำเป็นต้องเป็น waterproof type เป็นรองเท้าธรรมดาก็ได้ ตามนิยามนี้ บางโรงงานอาจเป็น low care ทั้งโรงก้ได้นะครับ ตราบใดที่เป็น low care
ในกรณีที่ใช้รองเท้าผูกเชือก ปัญหาคือการปนเปื้อน ดังนั้นที่นั่งสำหรับใส่รองเท้า และ อุปกรณ์ในการล้างมือ ต้องพร้อม เพื่อป้องกันปนเปื้อน
2. สำหรับพื้นที่ทำงานที่แห้ง ทำไมชอบ บัดดี้ กัน
2.1 เหตุผลสำคัญสุดคือ ราคาถูก ด้วยเพราะมีการขายจำนวนมาก
เนื่องจากในอุตสาหกรรมไฟฟ้า/อีเลข มีการใช้ บัดดี้ด้วย
สมัยก่อน ฮิตเพราะ เป็น บัดดี้เป็นรองเท้า anti static ซึ่งอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนอีเลขต้องเป็นชนิดป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (ในสายการผลิตแผ่นวงจรไฟฟ้า ประกอบ IC..)
ตอนนี้ บางผู้ผลิตบอกว่าเหมือน รองเท้า บัดดี้ แต่ไม่ anti static ซะแล้ว ......
พื้นรองเท้าบัดดี้ ไม่เหมาะกับพื้นคอนกรีด เหมาะกับพื้น poly เขียวๆ ในพื้นที่ผลิตเท่านั้น ตามวัตถุประสงค์การออกแบบรองเท้า ให้ใช้กับพื้นโรงงาน พื้นรองเท้าออกแบบมาให้บางๆ ตามวัตถุประสงค์ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ยิ่งเป็นของดีพื้นยิ่งบาง
โรงงานอาหาร ไม่ต้องเป็นรองเท้าที่ป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ครับ
2.2 หากเป็นรองเท้าบัดดี้ พนักงานไม่ค่อยหมุนเอาของใหม่ไปใช้ที่บ้าน เอาไปขายต่อไม่ได้ เอาไปใช้บ้านก็ไม่เหมาะเนื่องจากสึกง่าย ไม่เหมือนรองเท้า safety ที่ของใหม่ๆ อาจกลายส่วนหนึ่งของรายได้ของพนักงาน ตัวพนักงานใส่แต่รองเท้าเก่าๆ กลายเป็นเรื่องสวัสดิ์การที่เลิกไม่ได้
3. สุขลักษณะเท้า
เท้าเป็นอวัยวะในร่างกายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขาภิบาลอาหาร พนักงานบางคนต้องยืนเกือบตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกับเท้าได้ เช่น เท้าเปื่อย หรือ ฮ่องกงฟุต หากทำงานพื้นที่เปียกหรือมีความชื้น หรืออาจเป็นโรคอื่นๆจากเชื้อรา แบคที่เรีย
หากพนักงายเอามือไปเกาหรือสัมผัสเท้า แล้วสัมผัสอาหาร โดยเฉพาะ เชื้อ พวก Staphylococcus และ steptococcus.
โรคเชื้อราที่เท้าหรือน้ำกัดเท้าโดยเฉพาะในอาชีพที่ต้องสวมรองเท้าทำงานทั้งวัน ทำให้เกิดความอับชื้น โดยมีอาการ ผื่นขึ้น ซึ่งมีได้หลายแบบ ได้แก่ ผื่นขาวยุ่ยที่ง่ามเท้า ตุ่มน้ำพองที่ฝ่าเท้า หรือฝ่าเท้าแดงมากเป็นขุย อาจมีโรคกลากของเล็บเท้าร่วมด้วย
การติดเชื้อส่วนใหญ่โดยการได้รับเชื้อราทางอ้อม เช่น การใส่รองเท้าถุงเท้าร่วมกัน หรือใช้ห้องน้ำร่วมกัน ซึ่งเชื้อราในสะเก็ดที่ตกหล่น อาจงอกงามอยู่ตามพื้นห้องน้ำที่แฉะๆ หรือได้รับเชื้อโดยตรงในคนที่ต้องลุยน้ำท่วม เดินเท้าเปล่าตามพื้นดินแฉะๆ มีโอกาสติดเชื้อราที่เท้าได้ จึงไม่ควรใช้รองเท้าร่วมกัน และควรล้างเท้าฟอกสบู่ให้สะอาด เช็ดให้แห้งทุกครั้งที่เดินเท้าเปล่า อาจใช้แป้งโรยตามง่ามเท้าก่อนที่จะใส่รองเท้าเพื่อดูดความชื้น ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ไม่เพียงประเภทรองเท้า พื้นห้องน้ำ พื้นที่เปลี่ยนรองเท้า นโยบายเรื่องการใช้รองเท้าร่วมกัน การซักล้าง การวางรองเท้า มีส่วนสำคัญเช่นกัน
spec รองเท้า โรงงานอาหาร น่าจะ 1. ต้องไม่อับชื้นง่าย 2. ต้องป้องกันการลื่นหกล้ม 3. ใส่แล้วไม่เมื่อย หากต้องยืนอยู่กับที่นานๆ Ergo-design 4. สวมใส่ง่าย เพื่อลดการปนเปื้อนจากเท้าสู่มือ 5. แบ่งแยกพื้นที่ได้ ว่าใครทำงานที่ high/low/super-low care 6. ใส่แล้วสวย หล่อ
ถ้าเป็นไปได้เวลาเลือกรองเท้า ต้องเลือกรุ่นที่ระบายอากาศได้ดี รวมถึงรองเท้าที่มีการออกแบบที่ช่วยให้ยืนแล้วไม่เมื่อย จะเป็นการสร้างบุญกุศลครับ
...................
จากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นข้อดีข้อเสีย ที่มาที่ไป ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับรองเท้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร
หากเหมาะสมในแง่ food safety และลดต้นทุนของโรงงานได้ ก็เปลี่ยนเถอะครับ (ผมว่าหลังจากอ่านข้อ 2.2 แล้วบริษัทคุณอาจไม่อยากเปลี่ยน ฮิๆ)
หลายๆคน ไม่กล้าคิด
หลายๆคน คิด แต่ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงครับ
ลุย ! เลยครับ
#6
Posted 19 March 2010 - 09:13 PM
ที่ทำอยู่เป็นโรงงานอาหารประเภท seasoning ก็ใช้รองเท้ายางเหมือนกันค่ะ

#7
Posted 19 March 2010 - 09:40 PM
ที่โรงงานทำกาแฟ 3in1 Non dairy creamer พนักงาน ห้าร้อยกว่าคน ใช้รองเท้ายางทุกคนเลยครับ
#8
Posted 20 March 2010 - 06:20 AM
ที่โรงงานก็ใช้ผ้าใบร้อยหูนะแต่line ส่วนมากเป็นท่อปิด
ส่วนline เปิดก็เปลี่ยนมาหลายแบบ ทั้งรองเท้ายางคล้าย Monobo และ Bootsส้น Boot ยาวทั้งที่เป็นline แห้ง


#9
Posted 22 March 2010 - 08:23 AM
ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ
รองเท้ายางแบบ Monobo หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ
รองเท้ายางแบบ Monobo หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ
#10
Posted 22 March 2010 - 09:48 PM
QUOTE(aumi @ Mar 22 2010, 08:23 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอบคุณทุกความคิดเห็นค่ะ
รองเท้ายางแบบ Monobo หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ
รองเท้ายางแบบ Monobo หาซื้อได้ที่ไหนค่ะ
ร้านบาทุกาภัณฑ์ หน้านิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ครับ มีตรึมเลยคู่ละประมาณ60-80 บาท
1 user(s) are reading this topic
0 members, 1 guests, 0 anonymous users