รบกวนขอความช่วยเหลือค่ะ พอดีจะมีการสอบเทียบ Chart เทียบสี ระหว่าง ตัว master กับตัวลูก แต่ยังไม่มีหลังการในการสอบเทียบเรื่องสีเลย เพราะมันต้องใช้ความรู้สึกของตาดู มีวิธีการอะไรที่เป็นหลักการในการ ตรวจสอบสีบ้างไหมค่ะ และรบกวนเรื่องสอบเทียบเทอร์โมมิเตอร์ด้วยค่ะ ถ้าจะซื้อตัว Master ควรเลือกอย่างไรบ้างค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำนะค่ะ
ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com
สอบเทียบสี
Started by
joyjung
, Nov 28 2009 09:15 AM
4 replies to this topic
#1
Posted 28 November 2009 - 09:15 AM
#2
Posted 28 November 2009 - 10:32 AM
เรื่องสีนี่เป็นปัญหามากครับในการสอบเทียบเพราะสายตาคนเรามองไม่เท่ากัน ปกติเขาจะยึดตาม Pantone สีที่ Master ระบุค่า C M Y K ที่ผสมอยู่เท่าไร นอกจากนี้คุณสามารถซื้อ Master มาเทียบสีได้ ส่วน Thermometer อยู่ที่คุณเลือกว่าเอาแบบกระเปาะ หรือ digital แต่เขามีแบบที่ CAL แล้วให้ด้วยนะครับ วิธีสอบเทียบคือคุณเอาเข่้าไปไว้ในจุดๆหนึ่งที่อุณหภูมิระดับหนึ่ง อ่านค่าตัว Master ได้เท่าไร แล้วเอาตัวที่ต้องการทวนสอบไว้วางจุดเดียวกันกับ Master แล้วอ่านค่าได้เท่าไร แลำกำหนดเกณฑ์การยอมรับของคุณว่าให้ค่า +- เท่าไร แต่ปกติไม่ควรเกิน 1 องศา
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451
#3
Posted 28 November 2009 - 10:54 AM
ลองใช้เครื่องวัดสี ( Colorimeter Spectrophotometer) ดูสิครับ
แล้วตอนที่เราทำการ Calibrate ก็ไป Calibrate ที่เครื่องวัดสี ( Colorimeter Spectrophotometer) แทนเพราะมันเป็นเครื่องมือวัด
ผมไม่รู้ว่าเครื่อง Colorimeter Spectrophotometer นี้ จะสามารถนำไปใช้ที่บริษัทของคุณได้เปล่านะ แค่ลองแชร์ข้อมูลให้ฟังดูครับ
เพราะปัจจุบันบริษัทที่ผมทำงานอยู่จะมีเครื่องวัดสี ( Colorimeter Spectrophotometer) นี้ไว้วัดพวก Incoming packaging ประเภทกระดาษที่มีตัวพิมพ์, ฟิล์มที่มีตัวพิมพ์, RM, Bulk ใน Inprocess, ก้อน FG เพราะเมื่อก่อนจะมีปัญหามากเพราะใช้ตาดูแล้วตัวสิน จะทะเลาะกันเป็นประจำเวลาที่เกิดการ Reject ของ Incoming คืน Supplier ที่ตรวจพบว่าสีไม่เหมือน Standard, Bulk ใน Inprocess, ก้อน FG ที่ตรวจพบว่าสีไม่เหมือน Standard เป็นต้น
คุณลองติดต่อ/ปรึกษาปัญหานี้กับบริษัทตัวแทนจำหน่วยเครื่องวัดสีของ HunterLab ดูก่อนก็ได้ครับ www.color-gb.com เพื่อให้เค้าไป Present ให้คุณฟังที่บริษัท
(ผมไม่ได้มีส่วนได้-เสียกับ HunterLab นะครับ เพียงแต่แชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เครื่องวัดสีของ HunterLab เท่านั้นครับ)
แล้วตอนที่เราทำการ Calibrate ก็ไป Calibrate ที่เครื่องวัดสี ( Colorimeter Spectrophotometer) แทนเพราะมันเป็นเครื่องมือวัด
ผมไม่รู้ว่าเครื่อง Colorimeter Spectrophotometer นี้ จะสามารถนำไปใช้ที่บริษัทของคุณได้เปล่านะ แค่ลองแชร์ข้อมูลให้ฟังดูครับ
เพราะปัจจุบันบริษัทที่ผมทำงานอยู่จะมีเครื่องวัดสี ( Colorimeter Spectrophotometer) นี้ไว้วัดพวก Incoming packaging ประเภทกระดาษที่มีตัวพิมพ์, ฟิล์มที่มีตัวพิมพ์, RM, Bulk ใน Inprocess, ก้อน FG เพราะเมื่อก่อนจะมีปัญหามากเพราะใช้ตาดูแล้วตัวสิน จะทะเลาะกันเป็นประจำเวลาที่เกิดการ Reject ของ Incoming คืน Supplier ที่ตรวจพบว่าสีไม่เหมือน Standard, Bulk ใน Inprocess, ก้อน FG ที่ตรวจพบว่าสีไม่เหมือน Standard เป็นต้น
คุณลองติดต่อ/ปรึกษาปัญหานี้กับบริษัทตัวแทนจำหน่วยเครื่องวัดสีของ HunterLab ดูก่อนก็ได้ครับ www.color-gb.com เพื่อให้เค้าไป Present ให้คุณฟังที่บริษัท
(ผมไม่ได้มีส่วนได้-เสียกับ HunterLab นะครับ เพียงแต่แชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เครื่องวัดสีของ HunterLab เท่านั้นครับ)
"ในโลกนี้ไม่มีคนแปลกหน้าสำหรับเรา มีแต่เพื่อนที่เรายังไม่ได้พบกันเท่านั้น"
E-mail suppadej@gmail.com
#4
Posted 28 November 2009 - 11:56 AM
ลูกค้า HunterLab อีกเจ้าแล้ว บริการก็ใช้ได้นะ ผมเสนออีกเจ้าแล้วกัน Data colour ครับ
ถามในส่วนตัวแล้วอะไรก็ได้ถ้า ราคาถูก-เครื่องได้มาตรฐาน-บริการดี ลองเรียกมาบรรยายดูครับ
สำหรับกระบวนการเทียบสี ผมพอนึกออกคร่าวๆนะนำเสนอดังนี้ (ทั้งแบบใช้เครื่องและไม่มีเครื่องใช้)
1.ทวนสอบคนที่จะดูสี อาจต้องมีเกณฑ์ในการตัดสินว่าเบี่ยงเบนเท่าไร
2.กำหนดสภาวะแวดล้อมในการดูเช่น ห้องมืด, บริเวณที่ดู, มุมมองในการดู, ประเภทแสงไฟ, อุณหภูมิ, ความชื้น.....
3.ตัวอย่างที่เก็บ(Master) เก็บไว้ในแฟ้ม, ห่อพลาสติคสีดำ
4.วิธีการจับชิ้นงาน(ระวังขี้มือ)
คงพอจะใช้ได้นะครับ สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าไม่ซีเรียส ก็ใช้แบบ Digital ราคาประมาณ 800-1200 บาท น่าจะได้ครับ
ถ้าต้องการคุณภาพสูงก็ของ Hart ราคา ~ 70,000 บาท (ทศนิยม 4 ตำแหน่ง)
ถามในส่วนตัวแล้วอะไรก็ได้ถ้า ราคาถูก-เครื่องได้มาตรฐาน-บริการดี ลองเรียกมาบรรยายดูครับ
สำหรับกระบวนการเทียบสี ผมพอนึกออกคร่าวๆนะนำเสนอดังนี้ (ทั้งแบบใช้เครื่องและไม่มีเครื่องใช้)
1.ทวนสอบคนที่จะดูสี อาจต้องมีเกณฑ์ในการตัดสินว่าเบี่ยงเบนเท่าไร
2.กำหนดสภาวะแวดล้อมในการดูเช่น ห้องมืด, บริเวณที่ดู, มุมมองในการดู, ประเภทแสงไฟ, อุณหภูมิ, ความชื้น.....
3.ตัวอย่างที่เก็บ(Master) เก็บไว้ในแฟ้ม, ห่อพลาสติคสีดำ
4.วิธีการจับชิ้นงาน(ระวังขี้มือ)
คงพอจะใช้ได้นะครับ สำหรับเทอร์โมมิเตอร์ ถ้าไม่ซีเรียส ก็ใช้แบบ Digital ราคาประมาณ 800-1200 บาท น่าจะได้ครับ
ถ้าต้องการคุณภาพสูงก็ของ Hart ราคา ~ 70,000 บาท (ทศนิยม 4 ตำแหน่ง)
#5
Posted 28 November 2009 - 01:43 PM
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบ จะลองทำตามคำแนะนำค่ะ
0 user(s) are reading this topic
0 members, 0 guests, 0 anonymous users