- แนวทาง ในการเขียนเพิ่มเติมมี ดังนี้...ครับ!
5.4 พิจารณาผลการสอบเทียบ กรณีสอบเทียบภายนอก ให้พิจารณาจากค่า Error ที่ระบุใน Certificate เทียบกับความผิดพลาดที่ยอมรับได้ ในบัญชีรายชื่อ เครื่องมือวัด กรณีค่า Error น้อยกว่า หรือเท่ากับค่าความผิดพลาดที่ยอมรับได้ ให้ตัดสินผล ผ่าน กรณีค่า Error มากกว่าค่าความผิดพลาดที่ยอมรับได้ให้ตัดสินผล ไม่ผ่าน
5.4.1 กรณีผ่านให้ดำเนินการชี้บ่งตามข้อ 5.5
5.4.2 กรณีไม่ผ่านให้ตรวจสภาพของเครื่องมือวัด (ยกเว้นเครื่องมือวัดประเภทเครื่องแก้ว, เทอร์โมมิเตอร์ และไฮโดรมิเตอร์) ให้ดำเนินการจัดซื้อใหม่ ตามขั้นตอนการดำเนินงานการจัดซื้อทั่วไป (QP-XXX-XX)
- ให้ดำเนินการแจ้งซ่อมที่ฝ่ายวิศวกรรม แล้วส่งไปสอบเทียบ/ทวนสอบใหม่
- ถ้าซ่อมไม่ได้ ให้ดำเนินการขออนุมัติผลการเลิกใช้งานและปิดป้าย ห้ามใช้งาน ประทับตรา ยกเลิก ในบัญชีรายชื่อ , แผนการสอบเทียบ และประวัติการสอบเทียบในช่อง สถานที่ใช้งาน หรือช่องหมายเหตุ
- ตรวจสอบผลการสอบเทียบจากประวัติการสอบเทียบ เครื่องมือวัด (FM-XXX-03/03)เพื่อประมาณเวลาที่คาดว่าเครื่องมือวัดนั้น ๆ เริ่มให้ค่าบกพร่องแล้วจัดประชุมกับผู้ใช้งานเครื่องมือวัดเพื่อตรวจสอบชนิดและปริมา
ณของรายการตรวจสอบที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ๆ
- ดำเนินการทดสอบผลิตภัณฑ์ด้วยเครื่องมือวัดชนิดนั้น ๆ ที่ผ่านการสอบเทียบว่ายังมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่
- ในกรณีที่ตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ให้แจ้ง หัวหน้าแผนก/หน่วยงาน .......... ดำเนินการชี้บ่ง คัดแยกและแก้ไข โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
5.5 กรณีสอบเทียบผ่าน ให้ลงรายการแจ้งผลในประวัติการสอบเทียบ เครื่องมือวัด (FM-QAC-03/03) และใช้ Label แสดงสถานะ และอนุมัติโดยหัวหน้า/รองหัวหน้าแผนกควบคุมคุณภาพ
5.6 กรณีมีปุ่มใดๆของเครื่องมือวัดที่สามารถปรับแต่งได้แล้วทำให้ผลการสอบเทียบเปลี่ยนไป จะต้องปิดป้ายชี้บ่ง ห้ามปรับเปลี่ยน
5.7 การเคลื่อนย้าย จัดเก็บ ดูแลรักษา ให้ปฏิบัติอย่างระมัดระวัง ป้องกันความเสียหาย และความผิดพลาดจากค่าวัดที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีผลทำให้ค่าความเที่ยงตรงเปลี่ยนไป
- แล้วพรุ่งนี้จะมาตอบให้ใหม่.... ครับ!!!