Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

การส่งน้ำเสียไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำ


  • This topic is locked This topic is locked
21 replies to this topic

#1 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 26 November 2008 - 11:25 AM

tnp.gif รบกวนเพื่อน ๆ ที่มีความรู้ทางด้านนี้ช่วยแนะด้วยด้วยค่ะ

คือ ตอนนี้กำลังจะทำระบบ 14001 ก็เลยหาข้อมูลว่า น้ำเสียที่ต้องส่งไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำ นั้น ควรจะตรวจค่าพารามิเตอร์อะไรบ้าง ทั้งในส่วนของน้ำใช้ที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำ และน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต (เป็นบริษัท ที่ผลิตสินค้าตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ จะมีกระบวนการพ่นสีด้วย ซึ่งก็จะมีน้ำเสียจากการพ่นสีค่ะ ที่ระบายออกมาก อ้อ! ที่บริษัท ไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียค่ะ) รบกวนเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ




#2 MR@QAM

MR@QAM

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 20 posts

Posted 26 November 2008 - 11:59 AM

laugh.gif การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสีย(ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่2(พ.ศ.2539)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดคุณลักษณธของน้ำทิ้งระบายออกจากโรงงาน)
รายการตรวจคุณภาพน้ำเสีย
pH ค่ามาตรฐาน 5.5-9.0
BOD ค่ามาตรฐาน < 20
COD ค่ามาตรฐาน <120
Suspended Solids(SS) ค่ามาตรฐาน < 50
Total Dissolved Solids (TDS) ค่ามาตรฐาน < 3,000
Oil & Grease ค่ามาตรฐาน < 5
Total Kjeldahl Nitrogen (TKN) ค่ามาตรฐาน < 100
Sulfide (HS) ค่ามาตรฐาน < 1.0
Lead (Pb) ค่ามาตรฐาน < 0.2
mg/l :milligrams per liter (มิลลิกรัมต่อลิตร)

#3 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 26 November 2008 - 01:00 PM

ขอบคุณมากค่ะ คุณ MR@QAM สำหรับคำตอบ

#4 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 26 November 2008 - 02:01 PM

นอกจากที่คุณ MR@OAM แล้ว ควรพิจารณาการใช้ปริมาณน้ำที่ใช้และปล่อยออกสู่ภายนอกด้วยว่ามีปริมาณเกินมาตรฐานทีก
ฎหมายกำหนดหรือไม่อยู่ในของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำหนดชนิดและขนาดของโรงงานกำหนดการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษ ที่ต้องมีผู้ควบคุม (ย่อ) ปี2545 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดให้โรงงานที่มีระบบบำบัดน้ำเสีย ต้องติดตั้งเครื่องมือ หรือ อุปกรณ์พิเศษ ปี2548 ลองดูกฎหมายนี้ประกอบด้วยนะครับว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ rolleyes.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#5 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 27 November 2008 - 09:47 AM

ขอบคุณค่ะ คุณ iso_man แล้วถ้าที่โรงงานไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียล่ะค่ะ เราจะมีวิธีการอย่างไรเอ่ย เก็บน้ำเสียส่งกำจัดได้มั๊ยคะ
พอดีไม่ทราบปริมาณการใช้น้ำและน้ำเสียที่ปล่อยออกสู่ภายนอกทีชัดเจนค่ะ ว่าเท่าไหร่ เดี๋ยวขอ Check ข้อมูลก่อนค่ะ

#6 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 27 November 2008 - 09:48 AM

rolleyes.gif

- ขอเสนอแนะเพิ่มเติม นะครับ
- ปกติแล้วพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง(ทั้งหมด 17 พารามิเตอร์)
ที่ระบายออกนอกโรงงาน (โรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป)
หลักๆ (ยอดนิยม) มีดังนี้
1. pH
2. SS
3. TDS
4. O&G
5. BOD
6. COD

- แต่ถ้าต้องการแบบประหยัดค่าใช้จ่าย ก็ตรวจเฉพาะ BOD และ COD ก็พอ
(สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป นะครับ)
***************************

" ʵ

#7 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 27 November 2008 - 10:05 AM

rolleyes.gif

- โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีบริษัทที่กำจัดน้ำทิ้งที่ระบายออกนอกโรงงาน ครับ
(ส่วนใหญ่จะเป็นกากของเสียในกระบวนการผลิตสินค้า)

- ปกติแล้วโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย อยู่แล้ว
ดังนั้น ผมว่าควรจัดการทำระบบบำบัดน้ำเสีย ดีกว่านะครับ

- ข้อแนะนำเบื้องต้น
1. ส่งตัวอย่างน้ำทิ้ง ให้บริษัทที่รับวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้ง
(โดยได้รับการรับรอง จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
พารามิเตอร์ ที่ตรวจก็เพิ่มพวกโลหะหนักเข้าไปด้วย
เนื่องจากวัตถุดิบมีสีเป็นองค์ประกอบ
2. นำข้อมูลของคุณภาพน้ำทิ้ง (COA) ที่ได้ ปรึกษากับบริษัท
ที่รับจัดทำระบบบำบัดน้ำทิ้ง โดยจัดการปรับสภาพน้ำทิ้ง
ให้เป็นไปตามข้อกำหนด (ON Spec.)

- ลองพิจารณาดู ครับ!!!
***************************

" ʵ

#8 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 27 November 2008 - 10:37 AM

rolleyes.gif
- ข้อมูลเพิ่มเติม ครับ
หมวด 4 (การกำหนด ชนิดและขนาดโรงงาน
ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม)

ข้อ 5 ให้โรงงานต่อไปนี้ต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
-ลำดับที่ 1.
- ชนิดและขนาดโรงงาน
โรงงานที่มีน้ำเสียปนเปื้อนสารอินทรีย์
โรงงานที่มีปริมาณน้ำเสียตั้งแต่ 500 m3 ต่อวัน(ยกเว้นน้ำหล่อเย็น)
หรือมีปริมาณความสกปรกก่อนเข้าระบบบำบัด (BOD Load of Influent)
ตั้งแต่ 100 กิโลกรัมต่อวันขึ้นไป

- บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน
- ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม
- ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษน้ำ
- ผู้ปฏิบัติงานประจำระบบป้องกัน
- ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ**
** หมายเหตุ ให้โรงงานที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศ ได้รับการ
ยกเว้นไม่ต้องมีผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษอากาศ



***************************

" ʵ

#9 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 27 November 2008 - 10:47 AM

QUOTE(Akiko @ Nov 27 2008, 09:47 AM) <{POST_SNAPBACK}>
ขอบคุณค่ะ คุณ iso_man แล้วถ้าที่โรงงานไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียล่ะค่ะ เราจะมีวิธีการอย่างไรเอ่ย เก็บน้ำเสียส่งกำจัดได้มั๊ยคะ
พอดีไม่ทราบปริมาณการใช้น้ำและน้ำเสียที่ปล่อยออกสู่ภายนอกทีชัดเจนค่ะ ว่าเท่าไหร่ เดี๋ยวขอ Check ข้อมูลก่อนค่ะ


ปริมาณน้ำเสียดูได้จากมิเตอร์ที่ใช้น้ำครับ ถ้าโรงงานไม่มีการนำน้ำกลับมาใช้อีก ส่วนใหญ่คือใช้แล้ออกไป (รวมน้ำในห้องน้ำ โรงอาหารด้วย)
และขอแยกความเข้าใจเรื่องน้ำเสียเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็น คือ
- โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปห้ามมิให้มีการปล่อยน้ำเสียจากกิจกรรมของโรงงานยกเว้นน้ำเสีย
นั้นจะได้รับการบำบัดตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ตามพรบ.โรงงาน
- กรณีโรงงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ก็จะเข้าสู่กฎหมายที่ควบคุมนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งโรงงานไม่ต้องมีระบบำบัดน้ำเสียก็ได้ เนื่องจากน้ำเสียจะถูกนำไปรวมบำบัดที่เดียวกันของนิคม แต่ต้องตรวจค่าน้ำเสียก่อนปล่อยไปยังจุดรวม เพื่อคิดค่าใช้จ่ายในการบำบัด
- ในกรณีต้องการนำน้เสียไปบำบัดบ่อที่พักน้ำเสียต้องก่อสร้างได้ตามมาตรฐานที่กำหนด (ลองศีกษาดู) และต้องขออนุญาตนำออก รวามถึงต้องมีการวิเคราะห์น้ำเสียนั้นแจ้งกับทางกรมโรงงานทุกครั้ง (ยุ่งยากพอสมควร)
สรุป ควรทำระบบบำบัดน้ำเสียจะดีกว่า ระยะยาวคุ้มกว่าครับ laugh.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#10 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 27 November 2008 - 11:05 AM

rolleyes.gif

- ถ้าไม่ทราบว่าโรงงานที่เราทำอยู่ (โรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป)
จำเป็นต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม หรือไม่????
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซท์ของ "กรมโรงงานอุตสาหกรรม"...ครับ!!!

***************************

" ʵ

#11 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 27 November 2008 - 12:01 PM

ขอบคุณนะคะเพื่อน ๆ พี่ ๆ สำหรับคำตอบ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ เข้ามาที่นี่แล้วไม่ผิดหวัง .............. ขบอคุณด้วยใจจริงค่ะ


ตามที่เข้าใจก็ คือ ไม่ว่าจะเป็นการนำน้ำเสียไปส่งกำจัด ก็ต้องสร้างที่บ่อพักน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน หรือแม้แต่การบำบัดน้ำให้ได้ค่าตามมาตรฐานก่อนปล่อยทิ้ง ก็ต้องสร้างบ่อพักเหมือนกัน เพราะต้องปรับค่าให้ได้ตามมรตรฐาน ก่อนปล่อยสู่ภายนอก


ตอนนี้กำลังดูอยู่ว่า บริษํท เข้าข่ายที่ต้องมีบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมหรือไม่ เป็นโรงงานลำดับที่ 100(1) (2) แต่ที่ดู ๆ แล้วจาก หมวด 4 ข้อ 5 ไม่น่าจะใช่นะคะ ติดอยู่ประเด็นเดียวก็คือ น้ำเสียปนเปือนสารสินทรีย์ เพราะไม่รู้ว่าน้ำเสียของโรงงานปนเปื่อนสารอินทรีย์หรือไม่



#12 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 27 November 2008 - 12:02 PM

หลุดไปนิดนึงค่ะ จากหมวด 4 ข้อ 5 ที่ยังติดอยู่คือ ลำดับที่ 1 กับ 2 ซึ่งต้องหาข้อมูลก่อนค่ะ

#13 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 27 November 2008 - 01:11 PM

rolleyes.gif

- ถ้าประเมินจากกระบวนการผลิตที่บอกมา
ค่า BOD ,COD มีโอกาสที่จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (OFF Spec.)ค่อนข้างสูง
คงต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสีย (แม้จะไม่ทำระบบ ISO 14001) .... นะจะบอกให้ ครับ!!!
***************************

" ʵ

#14 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 27 November 2008 - 07:12 PM

ขอบคุณค่ะ คุณเพื่อน

#15 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 27 November 2008 - 07:13 PM

ขอบคุณค่ะ คุณเพื่อน

#16 อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

อยากรู้(แต่ไม่อยากถาม)

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 675 posts
  • Gender:Male

Posted 28 November 2008 - 08:33 AM

จากที่ผมเคยประสบมานะครับ
เมื่อก่อนก็มีเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมแยกต่างหาก
แต่ตอนหลังโอนเข้าพ่วงกับงานจป.ไปแล้วอ่ะครับ(เป็นคนเดียวกัน ทำทั้งเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเลย)
Email: arnutprasitsuksun@yahoo.com

#17 ทิ.

ทิ.

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 1,810 posts

Posted 02 December 2008 - 08:54 AM

rolleyes.gif

- สิ่งแวดล้อมที่ จป.ดูแล เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เช่น แสง ,เสียง ,อากาศ (ฝุ่นละออง ,ไอของสารเคมี) ,อุณหภูมิ เป็นต้น

- สำหรับสิ่งแวดล้อมที่บุคลากรสิ่งแวดล้อมดูแล เป็น
สิ่งแวดล้อมที่เกิดจาก ของเสียในกระบวนการผลิต
เช่น น้ำเสีย ,ควันจากหม้อกำเนิดไอน้ำ (Boiler) ,
เตาเผา เป็นต้น ......ครับ!!!
***************************

" ʵ

#18 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 02 December 2008 - 11:27 AM

ขอต่ออีกหน่อยนะคะ

ในการตรวจสภาพแวดล้อม แสง เสียง ฝุ่น เรามีหลักในการกำหนดจุดยังไงบ้างคะ มีใครที่เคยตรวจแล้ว รบกวนขยายความด้วยค่ะ

thankyou.gif


#19 iso_man

iso_man

    Super Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPipPip
  • 5,134 posts
  • Gender:Male

Posted 02 December 2008 - 12:06 PM

ตรวจต้องจุดที่มีกิจกรรมปล่อยมลภาวะมากที่สุด เช่น ปล่องปล่อยอากาศ เครื่องจักรที่เสียงดังทำงานติดต่อกันเป็นเวลา และมีพนักงานทำงานอยู่ด้วย แสงสว่างสุ่มตรวจพื้นที่งานที่ต้องการความละเอียดมาก ลดลั่นไปถึงน้อย ส่วนฝุ่นบริเวณที่มีกิจกรรมปล่อยฝุ่นออกมามากครับ laugh.gif
การมีความรู้ มาจากการเรียนรู้ และปฏิบัติ หากเรียนอย่างเดียวไม่ปฏิบัีติก็เรียกว่ารุ้ไม่จริง
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ chatriwat@hotmail.com
Facebook: poppithai
Tel:089-6834451

#20 Akiko

Akiko

    Premium Member

  • Power Members
  • PipPipPip
  • 114 posts

Posted 02 December 2008 - 01:18 PM

คือ ตอนนี้ที่เข้าใจนะคะ ต้องกำหนดจุดที่จะตรวจ มีเพื่อน ๆ บอกว่าจะมีการตรวจวัดเสียง แบบ 8 ชม. กับ 5 นาที ซึ่ง 8 ชม. จะดูระดับเสียงดังรวม และ 5 นาที นี่จะไล่ดูเป็นจุด ๆ ว่ามีระดับเสียงดังขนาดไหน (อันนี้เข้าใจถูกมั๊ยคะ) ปัจจุบันที่โรงงานไม่มี จป. ค่ะ





0 user(s) are reading this topic

0 members, 0 guests, 0 anonymous users