ขออนุญาตออกความเห็นหน่อยนะจ้า
เผื่อว่าจะช่วยแก้ CAR นี้ได้ไม่มากก็น้อยนะจ้า
Food Allergen list ของแต่ละประเทศ1.
สหรัฐอเมริกา มีการกำหนดชนิด/กลุ่ม อาหารก่อภูมิแพ้ 8 ชนิด ที่ต้องติดฉลากระบุคือ นม ไข่ ปลา สัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก เช่น กุ้ง กั้ง ปู เมล็ดถั่ว ประเภทพืชยืนต้น ( Tree nuts ) เช่น ถั่วอัลมอนด์ พีแคนนัท หรือ วอลนัท ถั่วลิสง เมล็ดข้าวสาลี ถั่วเหลือง โดยจะต้องติดฉลาก คำว่า contains อยู่หน้าชื่อชนิดของอาหารก่อภูมิแพ้ และใช้ชื่อธรรมดาสามัญ ( Common or usual name ) ของสินค้านั้นๆ ที่ผู้บริโภคทั่วไปรู้จัก (พิมพ์ต่อกัน) โดยชื่ออาหารก่อภูมิแพ้จะต้องพิมพ์ในขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กไปกว่าชื่อของส่วนประกอบ
อาหาร ( Food ingredient ) ให้ใช้ขนาดตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่อย่างน้อย 1/16 นิ้ว (ความสูงเทียบจากอักษร O ) กฎหมายมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
หมายเหตุ ถึงแม้ว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้ระบุซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulphurdioxide) หรือซัลไฟต์ ( Sulfite ) เป็นอาหารก่อภูมิแพ้ ซึ่งแตกต่างจากของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามในระเบียบการติดฉลากทั่วไปของสหรัฐอเมริกา หากมีซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือซัลไฟต์เกิน 10 ppm ต้องระบุในฉลาก เช่น ระบุในส่วนประกอบอาหาร (เช่น Wheat, Corn starch (contains sulphurdioxide as processing aid < 0.005 % ) หรือใต้ฉลากโภชนาการ ( Nutrition Facts Panel )
2.
สหภาพยุโรป มีการกำหนดอาหารก่อภูมิแพ้ 9 กลุ่ม ที่ต้องติดฉลากระบุ ได้แก่ ธัญพืชที่มีกลูเตน ( Gluten ) และผลิตภัณฑ์ เช่น ข้าวสาลี ไรย์ บาร์เล่ย์ โอ๊ต Spelt Kamit รวมทั้งธัญพืชที่เป็นพันธุ์ลูกผสมจากสายพันธุ์เหล่านี้ด้วย สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำมีเปลือกและผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์นม (รวมทั้งแลคโตส) ถั่วและผลิตภัณฑ์ เช่น อัลมอนด์ วอลนัท พีแคนนัท บราซิลนัท พีนัทชีโอนัท มะคาเดเมียนัท ฮาเซลนัท ควีนแลนด์นัท ถั่วเหลือง และถั่วลิสง คื่นช่ายและพืชในตระกูลเดียวกัน ( Umbelliferae family ) และผลิตภัณฑ์ มัสตาร์ดและผลิตภัณฑ์ งาและผลิตภัณฑ์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และซัลไฟต์ ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 10 ppm ลักษณะการติดฉลากให้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ( Trademark ) รูปสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนสินค้า หีบห่อ เอกสาร ป้าย และใช้คำว่า contains ตามด้วยชื่ออาหารก่อภูมิแพ้ เช่น contains peacan nut แต่ในกรณีของเครื่องดื่มที่รายการของส่วนประกอบอาหาร ( List of ingredient ) ระบุชื่อเฉพาะแล้ว ไม่ต้องระบุซ้ำในฉลากอีก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน 2548
3.
ญี่ปุ่น มีกำหนดให้ติดฉลากอาหารก่อภูมิแพ้จำแนกได้ 2 กรณี ได้แก่ อาหารก่อภูมิแพ้ซึ่งบังคับให้ติดฉลาก มี 5 ชนิด (ข้าวสาลี โซบะ ไข่ นม และถั่วลิสง) และอาหารชนิดอื่นที่แนะนำว่าอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้มี 19 ชนิด (หอยอะวาบิ ( A wabi ) หรือหอยทากขนาดใหญ่ ปลาหมึก ไข่ปลาอิคูระ ( Ikura ) กุ้ง ปู ปลาแซลมอน ปลาซาบะ เนื้อวัว วุ้นเจลาติน เนื้อหมู เนื้อไก่ ส้ม กีวี วอลนัท ถั่วเหลือง ลูกพีช มันแกว แอปเปิ้ล เห็ดโคนญี่ปุ่น) โดยเริ่มบังคับใช้เมื่อเดือนเมษายน 2544 โดยกำหนดให้จะต้องมีการตรวจสอบปรับปรุงทุก 2 ปี
หมายเหตุ ห้ามใช้คำว่า อาจจะมีสารก่อภูมิแพ้
4.
ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีการกำหนดอาหารก่อภูมิแพ้ที่ต้องติดฉลาก ได้แก่ ธัญพืชที่มีองค์ประกอบเป็นกลูเตนและผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์นม และผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ ถั่วลิสง ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ อาหารที่เติมซัลไฟต์ที่มีความเข้มข้นตั้งแต่ 10 ppm ถั่วชนิดประเภทยืนต้น งา และผลิตภัณฑ์ โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ 20 ธันวาคม 2545
ขั้นตอนการจัดการการจัดการกับอันตรายของอาหารก่อภูมิแพ้ในอุตสาหกรรมอาหาร1.การทบทวนและวิเคราะห์อันตรายในระบบ HACCP ของวัตถุดิบรับเข้า ซึ่งขั้นตอนนี้เราสามารถที่จะทราบก่อนที่จะผลิตและสามารถประเมินความเสี่ยงและการจัด
การกับวัตถุดิบที่มีสารก่อภูมิแพ้ได้อย่างถูกต้อง
2.การปนเปื้อนข้ามในระหว่างกระบวนการและการทำความสะอาด เราควรที่จะพิจารณากระบวนการผลิตว่าสายการผลิตใดที่มีส่วนประกอบของสารก่อภูมิแพ้ และไม่มีสารก่อภูมิแพ้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการผลิตที่จะไม่มีโอกาสของการปนเปื้อนข้าม
3.การจัดการในระหว่างการเปลี่ยนสูตรผลิต ต้องมีระบบการเปลี่ยนหรือการทำความสะอาดที่จะมั่นใจว่าสารก่อภูมิแพ้ไม่ตกค้างก่อนที
่จะเปลี่ยนสูตรใหม่ และต้องการมีการทวนสอบด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการ เช่น Bioluminescence testing หรือ Enzyme-Linked ImmunoSorbent Assay (ELISA) เพื่อให้มั่นใจมากขึ้น ส่วนเครื่องมือสำหรับการทำความสะอาด ก็ควรชี้บ่งและแยกกันอย่างชัดเจน
4.การจัดการกับสินค้าที่นำมาผลิตใหม่ ( Rework ) ต้องมั่นใจว่าจะไม่นำผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการนำมาผลิตใหม่และมีสารก่อภูมิแพ้มาใช้ในก
ารผลิตสูตรที่ต้องการปลอดสารก่อภูมิแพ้
5.การอนุมัติผู้ขาย ( Supplier approval ) เลือกผู้ขายที่ระบบการจัดการภายในที่ดี ก่อนการอนุมัติอาจจะมีการตรวจสอบโรงงานผู้ขาย เพื่อให้มั่นใจถึงการจัดการกับสารก่อภูมิแพ้ที่มีประสิทธิภาพความตระหนักในเรื่องอาห
ารก่อภูมิแพ้
6.ควรมีการฝึกอบรมให้พนักงานรู้จัก และตระหนักถึงอาหารก่อภูมิแพ้ การจัดการและรู้ถึงอันตรายของอาหารก่อภูมิแพ้ที่จะส่งผลต่อผู้บริโภค
7.ฉลาก ต้องมีการระบุสารก่อภูมิแพ้ที่ใช้ในสูตรการผลิตให้ผู้บริโภคทราบ เพื่อที่จะได้เกิดความระมัดระวังในการเลือกซื้อและบริโภค
สิ่งที่แนบมาด้วย
**
Allergen control program worksheethttp://datcp.state.w...s/worksheet.pdf**
Law and Regulationhttp://www.ifrpd-foo...regulation.html