Jump to content


ท่านที่สมัครสมาชิกเข้ามาใหม่ กรุณารอให้ Admin ได้ทำการ Validate การเป็นสมาชิก ภายใน 24 ชม.ของวันทำการ ซึ่งระหว่างที่รอ Validation ท่านอาจจะยังไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ได้ หากไม่ได้รับความสะดวก กรุณาอีเมลแจ้ง isothainetwork@hotmail.com

Photo

มีเรื่องมาฝาก


  • This topic is locked This topic is locked
1 reply to this topic

#1 PPTN

PPTN

    New Member

  • Members
  • Pip
  • 2 posts

Posted 15 March 2011 - 12:11 PM


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของน้ำยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากน้ำยาฆ่าเชื้อมีมากมายหลายชนิดซึ่งมีคุณสมบัติต่างกัน ในการเลือกใช้น้ำยาฆ่าเชื้อชนิดใดนอกจากคำนึงถึงคุณสมบัติของสารแล้ว ยัง ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ

ที่มีผลกระทบต่อการออกฤทธิ์ของสารเหล่านี้ด้วย สำหรับปัจจัยที่มีผลทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อเปลี่ยนแปลงมีดังนี้

ส่วนที่เกี่ยวกับน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ความเข้มข้น การใช้ความเข้มข้นสูงมีผลต่อการทำลายเชื้อรวดเร็วขึ้น
- สูตร ยาฆ่าเชื้อที่ใช้มักเตรียมในรูปสารละลาย ถ้าเตรียมร่วมกับ 70% alcohol จะมีฤทธิ์การฆ่าทำลายเชื้อสูงกว่าการใช้น้ำ ส่วน phenol ซึ่งไม่ละลายน้ำมักเตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น หรือเป็น emulsion
ส่วนที่เกี่ยวกับจุลินทรีย์
- ชนิดของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์แต่ละชนิดมีความไวต่อน้ำยาฆ่าเชื้อต่างกัน แบคทีเรียและราจะถูก ทำลายได้ง่ายกว่าพวกที่กำลังเจริญอยู่ในรูปสปอร์, acid fast และไวรัส
- จำนวน ถ้ามีเชื้อมาก เวลาหรือความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้จะต้องเพิ่มขึ้น
- สภาวะ เชื้ออยู่ในสภาวะที่แห้ง เช่น ในหนองแห้ง เลือดแห้ง ฯลฯ จะคงทนในน้ำยาฆ่าเชื้อ มากกว่าเมื่ออยู่ในสภาวะที่เปียก
ส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
- อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิมักทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้ เกิดสภาวะปราศจากเชื้อได้ การที่น้ำยาฆ่าเชื้อใดจะออกฤทธิ์เร็วช้าอย่างไร เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปมากน้อย เท่าไรนั้น ดูได้จากค่า temperature coefficient (t.c.) คือ

t.c. = เวลาที่เชื้อตายที่อุณหภูมิ x๐ ซ
เวลาที่เชื้อตายที่อุณหภูมิ (x+10)๐ ซ

น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีค่านี้มาก ประสิทธิภาพจะขึ้นกับอุณหภูมิคือ จะดีขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

- pH ของน้ำยาฆ่าเชื้อบางชนิดทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรดหรือด่าง ทั้งนี้ขึ้นกับว่าสภาวะการออกฤทธิ์ของน้ำยาฆ่าเชื้อนั้นจะอยู่ในรูปของ unionized, anion หรือ cation ซึ่งพบว่า น้ำยาฆ่าเชื้อที่เป็นcationic จะออกฤทธิ์ในสภาวะด่าง ในขณะที่พวก anionic ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าในสภาวะกรด ส่วนพวกที่อยู่ในรูป unionized ออกฤทธิ์ได้ดีที่ pH ต่าง ๆ กัน แต่โดยทั่วไป ที่ pH กลาง ๆ น้ำยาฆ่าเชื้อก็สามารถออกฤทธิ์- สารต้านฤทธิ์ยา ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อจะลดลง หากใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีสารต้านฤทธิ์ยา หรือ พวกอินทรียสารอยู่ เพราะสารเหล่านี้อาจทำลายฤทธิ์น้ำยาฆ่าเชื้อหรือรวมตัวกับน้ำยาฆ่าเชื้อทำ ให้ปริมาณยาที่ควรจะออกฤทธิ์ลดลง
ส่วนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
- พื้นผิวที่ไม่ เรียบ มีรูพรุนมาก หรือ มีรอยแตกแยก เชื้อหลบซ่อนอยู่ภายในได้ และ น้ำยาเข้าถึงได้ยากจะทำให้ผลการฆ่าเชื้อเป็นไปไม่ได้เต็มที่ การ ดื้อยาของจุลินทรีย์ เช่น Pseudomonas, Mycobacterium หรือ จุลินทรีย์เมื่ออยู่ในรูปสปอร์ จะดื้อต่อน้ำยาฆ่าเชื้อได้ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดีจุลินทรีย์ที่เคยไวต่อ น้ำยาฆ่าเชื้ออาจพัฒนาเกิดการดื้อยาใน ภายหลังได้ การพัฒนาการดื้อต่อน้ำยาฆ่าเชื้อของจุลินทรีย์ อาจเกิดเนื่องจากการปรับตัวการ (adapation),กลายพันธุ์ (mutation) และการมีพลาสมิด (plasmid bearing)
สารเคมีที่ใช้ในกรณีของการฆ่าเชื้อเรียกว่า (chemical disinfectants) เป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อทำลายเชื้อโรค ตัวอย่างของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่ Alcohol, lodine, Chlorhexidine Cetrimide and etc.
คุณสมบัติของ น้ำยาฆ่าเชื้อที่ดี ต้องมีประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อสูง มีความคงตัว ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน และปลอดภัยต่อผู้ใช้ เมื่อแบ่งตามลักษณะการใช้งานแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ใช้เป็น antiseptics สำหรับฆ่าเชื้อตามร่างกาย บาดแผล บ้วนปาก
2. ใช้เป็น disinfectants สำหรับฆ่าเชื้อบนเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นผนังห้อง
การทดสอบ ประสิทธิภาพของ antiseptics และ disinfectants โดยวิธี Phenol coeffeciency test เป็นการหาค่า Phenol coefficient (P.C.) หรือ ค่าสัมประสิทธิ์ฟีนอล
ค่าที่ได้นี้ หมายถึงความสามารถในการฆ่าเชื้อของน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีต่อเชื้อที่ใช้ทดสอบ โดยเปรียบเทียบกับสารละลาย phenol ภายใต้สภาวะมาตรฐานเดียวกัน
หลักการหาค่า P.C. คือ เตรียมความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อและสารละลาย phenol หลาย ๆความเข้มข้น จากนั้นเพาะเชื้อทดสอบสายพันธุ์มาตรฐานลงไป จับเวลาตามที่กำหนด คือ 5, 10 และ 15 นาที เมื่อครบกำหนดเวลา ให้ทำการ subculture เชื้อในน้ำยาฆ่าเชื้อลงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดน้ำ (broth medium) แล้วนำไปบ่มเพาะเลี้ยงเชื้อเพื่อดูผลการฆ่าเชื้อว่าเกิดจากความเข้มข้นนั้น ๆ ที่เวลาใด นำผลที่ได้ไปคำนวณหาค่า P.C. ใช้สูตรคำนวณคือ

P.C. = ความเข้มข้นต่ำสุดของน้ำยาฆ่าเชื้อซึ่งฆ่าเชื้อที่ 10 นาที แต่ไม่ฆ่าเชื้อที่ 5 นาที
ความเข้มข้นต่ำสุดของ Phenol ซึ่งฆ่าเชื้อที่ 10 นาที แต่ไม่ฆ่าเชื้อที่ 5 นาที
ค่า P.C. ที่ได้เป็นจำนวนเท่า ไม่มีหน่วย โดยถือว่าอำนาจการฆ่าเชื้อของ phenol เท่ากับ 1
ประโยชน์ของการหาค่า P.C.
1เปรียบเทียบอำนาจการฆ่าเชื้อ (germicidal activity) ของ disinfectants หรือ antiseptics กับ phenol
2เปรียบเทียบ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ (relative germicidal efficiency) ของ phenol-like compounds ชนิดต่าง ๆ เพื่อดูว่าสารใดดีและมีประโยชน์ที่สุด
3เพื่อชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อของ disinfectants หรือ antiseptics โดยใช้ค่าตัวเลข
4เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการคำนวณหาความเข้มข้นสำหรับใช้ในทางปฏิบัติ (effective dilution)
ขีดจำกัดของค่า P.C.
ค่า P.C. เป็นการเปรียบเทียบ toxicity ของน้ำยาฆ่าเชื้อต่อจุลินทรีย์ แต่ไม่ได้บ่งหรือแสดงผล (effect) ต่อ living tissue
สภาวะที่มีผลกระทบในการทดสอบหาค่า P.C.
• ระยะเวลาที่ใช้ในการฆ่าเชื้อและอุณหภูมิที่ทดลอง
• ความไวต่อสารอินทรีย์
• จุลินทรีย์ที่ใช้ทดสอบ
• อายุของจุลินทรีย์ที่ใช้ทดสอบ
• ส่วนประกอบของอาหารเลี้ยงเชื้อ
• อัตราส่วนของความเข้มข้นของน้ำยาฆ่าเชื้อต่อปริมาณเชื้อ
• อุณหภูมิและระยะเวลาในการบ่มเชื้อที่subculture หลังจากเชื้อสัมผัสกับน้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว

#2 Kreetha

Kreetha

    Hornor Member

  • Super Power Members
  • PipPipPipPipPip
  • 870 posts
  • Gender:Male

Posted 15 March 2011 - 12:21 PM

nemoflow.png
Oooo




1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users